18 แลนด์มาร์คไทย ในเกมเศรษฐี LINE Let’s Get Rich

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / 18 แลนด์มาร์คไทย ในเกมเศรษฐี LINE Let’s Get Rich

หลังจากที่เกมเศรษฐียอดฮิต LINE Let’s Get Rich ได้เพิ่มแผนที่ประเทศไทยมาให้ได้เล่นกัน หลายๆ คนเลยสนุกมากขึ้น เพราะมันเป็นชื่อเมืองชื่อจังหวัดที่เรารู้จักกันดี วันนี้เราเลยไปค้นหาข้อมูลของแลนด์มาร์ค (Landmark) หรือสถานที่น่าสนใจของทั้ง 18 จังหวัด มาให้ได้รู้จักกัน…

18 แลนด์มาร์คไทย ในเกมเศรษฐี LINE Let’s Get Rich


พระปรางค์สามยอด
 จังหวัดลพบุรี

ลพบุรี

พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นปราสาทเขมรในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 – 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 – ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรกัมพูชา แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร


พุทธมณฑล
 จังหวัดนครปฐม 

นครปฐม

พุทธมณฑล เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา อยู่ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อฉลองวาระกึ่งพุทธกาล เมื่อ พ.ศ. 2500มีพระพุทธรูปปางลีลาประจำพุทธมณฑล เรียกว่า พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีพระพุทธรูปนี้มีความโดดเด่นทางผ้าจีวรที่พลิ้วเหมือนจริง (พระพุทธรูปนี้สร้างเสร็จและฉลอง เมื่อ พ.ศ. 2525 คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี)

พุทธมณฑลในปัจจุบัน นอกจากจะเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และจัดประเพณีกิจกรรมต่างๆ แล้ว ยังเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปพักผ่อนได้อีกด้วย


อุทยานสวรรค์
 จังหวัดนครสวรรค์

นครสวรรค์

อุทยานสวรรค์ เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ อยู่กลางเมืองนครสวรรค์ ตำนานทหารกล้าเมืองพระบาง กันมาก มีเนื้อที่ 314 ไร่ ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าหนองสมบุญ ในอดีตเรียกหนองสาหร่าย มีตำนานน่าสนใจ ถึงหนองสมบุญที่บันทึกไว้ในสมุดข่อยของวัดเขื่อนแดงว่าด้วยที่มาของชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา และหนองสมบุญ มีผู้นิยมไปพักผ่อนหย่อนใจ หรืออุทยานสวรรค์


สนามบินสุวรรณภูมิ
 จังหวัดสมุทรปราการ

สมุทรปราการ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออกแบบโดย เฮลมุต ยาห์น มีหอควบคุมที่สูงเป็นอับดับสองของโลก และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก


วัดใหญ่ชัยมงคล
 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อยุธยา

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ “วัดป่าแก้ว” หรือ “วัดเจ้าไท” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย


โอ่งลายมังกร
 จังหวัดราชบุรี

ราชบุรี

ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า ดินแดนอันเป็นที่มาของโอ่งเคลือบลายมังกรและผ้าทอบ้านไร่หรือผ้าขาวม้าอันลือชื่อ

สำหรับแลนด์มาร์คอันนี้เหมือนมีการสร้างขึ้นมาใหม่ อยู่ที่บริเวณจุดหยุดรถไฟสะพานจุฬาลงกรณ์ หรือสะพานดำ ซึ่งมีการประวัติศาสตร์ว่าสมัยมงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้นำหัวรถจักรไอน้ำมาทดลองวิ่งข้ามสะพาน จากฝั่งตลาดไปยังฝั่งทหาร วิ่งไปได้ค่อนสะพานเท่านั้น สะพานก็หักหัวรถจักรจึงตกลงไปในแม่น้ำแม่กลอง และจมอยู่ใต้น้ำตราบจนทุกวันนี้


ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
จังหวัดสุพรรณบุรี

สุพรรณบุรี

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งแต่เดิมเรียกกันว่า ศาลเทพารักษ์หลักเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดสุพรรณบุรีและประชาชนทั่วๆ ไปมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว  ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในเขตเมืองโบราณสุพรรณบุรี ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดั้งเดิมเป็นเรือนทรงไทย ภายในประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์สององค์คู่กัน สลักจากหินสีเขียว สวมหมวกทรงกระบอก เป็นศิลปกรรมในสมัยลพบุรี


อนุสาวรีย์สุนทรภู่ 
จังหวัดระยอง

ระยอง

รูปปั้นของพระอภัมณีนั้นอยู่ในบริเวณอนุสาวรีย์สุนทรภู่ เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่มหากวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า สุนทรภู่ ตั้งอยู่บนเส้นทาง แกลง-แหลมแม่พิมพ์ ที่ ต.บ้านกร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งเชื่อว่าเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และท่านเคยมาเยือนที่นี้เมื่อครั้งวัยหนุ่ม พร้อมกับได้ประพันธ์ นิราศเมืองแกลง เอาไว้ด้วย พื้นที่อนุสาวรีย์มีรูปปั้นของสุนทรภู่ตั้งอยู่ตรงกลางเป็นประธานบนเนินสูง ด้านล่างเป็นบ่อน้ำ มีประติมากรรมรูปปั้นหล่อของตัวละครในวรรณกรรมเอกของสุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณี ประดับอยู่ 3 ตัว ได้แก่ พระอภัยมณี นางผีเสื้อสมุทร และนางเงือก ออกแบบโดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี


หอนาฬิกา 
จังหวัดลำปาง 

ลำปาง

หอนาฬิกาเมืองลำปาง ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกซึ่งเกิดจากถนนห้าสายมาบรรจบกันได้แก่ ถนนบุญวาทย์ ถนนรอบเวียง ถนนบ้านเชียงราย ถนนท่าคราวน้อย และถนนฉัตรไชย จึงเรียกว่าหน้าแยกหอนาฬิกา สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ.2497 จากการที่รัฐบาลมีนโยบายให้ทุกจังหวัดสร้างหอนาฬิกาประจำเมืองไว้เพื่อให้พี่น้องประชาชนผูกติดกับเวลาเป็นเครื่องเตือนใจในการทำงาน


อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล
(โบสถ์คริสต์เมืองจันทร์) จังหวัดจันทบุรี

จันทบุรี

เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาธอลิก มีลักษณะตามศิลปะแบบโกธิก ดิมมีหลังคาเป็นยอดแหลมแต่ได้มี การรื้อส่วนแหลมออกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อไม่ให้เป็นเป้าหมายในการโจมตีทางอากาศ มีการตกแต่ง โบสถ์ไม้ฉลุลายประดับกระจกสี เป็นรูปนักบุญในศาสนาคริสต์รูปปั้นพระแม่มารีสีหน้าสงบ เปี่ยมประกายเมตตา ยืนอยู่หน้าวิหารทรงโกธิกซึ่งดูยิ่งใหญ่ หากภายในกลับมีแต่ความสงบเย็น และงดงามด้วยศิลปะตกแต่ง แบบยุโรป อาคารอันงดงามนี้ยืนหยัดผ่านกาลเวลามากว่าศตวรรษ โบสถ์แม่พระปฏิสนธิ จึงมิเพียงเป็นโบสถ์ซึ่ง สวยงามที่สุด เท่านั้น หากยัง เป็นศูนย์รวมศรัทธาของผองชาวคริสต์ทั้งปวง มิเพียงเฉพาะเมืองจันทบูร แต่ครอบคลุมไปทั่วฝั่ง ทะเลตะวันออกทีเดียว


พระพุทธชินราชวัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร
 จังหวัดพิษณุโลก

พิษณุโลก

พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย และได้รับการขนานนามว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในโลกองค์หนึ่ง ถึงขั้นที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสินพระทัยหล่อ พระพุทธชินราช (จำลอง) ขึ้นมาแทน


ปราสาทหินพนมรุ้ง
 จังหวัดบุรีรัมย์

บุรีรัมย์

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่


พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูเวียง
 จังหวัดขอนแก่น

ขอนแก่น

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาที่จัดแสดงเรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์ สังกัดกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์โคกสนามบินเนื้อที่ 100 ไร่ ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ก่อสร้างด้วยเงินงบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และอยู่ในความกำกับดูแลของกรมทรัพยากรธรณี

ในปี พ.ศ. 2519 มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์เศษกระดูกไดโนเสาร์บริเวณพื้นลำห้วยประตูตีหมา และต่อมาวินิจฉัยได้ว่าเป็นเศษส่วนปลายของกระดูกขาหลังท่อนบนด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอริสเชียในกลุ่มซอโรพอด (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มี 4 ขา คอยาว หางยาว) โดยถือได้ว่าเป็นการค้นพบหลักฐานไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทยที่นำไปสู่การสำรวจและวิจัยอย่างจริงจังจนถึงปัจจุบัน


อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
 จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา

เมื่อพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไป คุณหญิงโม และนางสาวบุญเหลือรวบรวมครอบครัวชาย หญิงชาวนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2369 ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อความทราบไปถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโม ขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 เมื่อคุณหญิงโมมีอายุได้ 57 ปี


มัสยิดกลาง
 จังหวัดปัตตานี

ปัตตานี

สร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ


ภูเก็ตแฟนตาซี 
จังหวัดภูเก็ต

ภูเก็ต

มิติใหม่แห่งความมหัศจรรย์บันเทิงยามราตรีที่ยิ่งใหญ่ บนเนื้อที่ 350 ไร่ อยู่ไม่ไกลจากหาดกมลา ห่างจากป่าตองไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงด้านการบันเทิง ที่ทันสมัย มิติใหม่แห่งความมหัศจรรย์บันเทิงยามราตรีที่ยิ่งใหญ่ บนเนื้อที่ 350 ไร่ อยู่ไม่ไกลจากหาดกมลา ห่างจากป่าตองไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงด้านการบันเทิง ที่ทันสมัย แสง สี เสียง


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
 จังหวัดเชียงใหม่

เชียงใหม่

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ “เชียงแสนสิงห์หนึ่ง”

พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า “วัดลีเชียงพระ” สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย


ศาลหลักเมือง
 กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพ

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


ข้อมูลและภาพจาก : droidsans.com / maahalai.com / wiki /