ดอยอ่างขาง สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โครงการหลวง

รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส โครงการหลวงแห่งแรก “ดอยอ่างขาง”

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด, ภาคเหนือ / รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส โครงการหลวงแห่งแรก “ดอยอ่างขาง”

ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ขึ้นครองราชย์ ท่านทรงงานโดยมิได้ว่างเว้น เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนทั่วทุกภาคในประเทศ แม้จะเป็นที่ห่างไกลหรือทุรกันดารเพียงใด ท่านก็ไม่ทรงย่อท้อ พัฒนาพื้นที่จากที่ดินแห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ช่วยเหลือประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก เสมอมา

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ที่จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้ เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ที่ท่านได้สอนให้ชาวดอย ปลูกผัก พืชเมืองหนาว ผลไม้ และดอกไม้ แทนการปลูกฝิ่น และในปัจจุบัน ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาข้อมูลที่นิยมมากๆ แห่งหนึ่งของคนไทย

รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส โครงการหลวงแห่งแรก "ดอยอ่างขาง"

รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส
โครงการหลวงแห่งแรก “ดอยอ่างขาง”

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริในพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ว่า “ให้ช่วยเขา ช่วยตัวเอง” มีพระราชประสงค์ให้ชาวไทยภูเขาที่พักอาศัยอยู่ตามดอยต่างๆ ทางภาคเหนือเลิกปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอย อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้ และต้นน้ำลำธารของประเทศถูกทำลาย

พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ทรงเสด็จฯ โดย เฮลิคอปเตอร์

รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส โครงการหลวงแห่งแรก "ดอยอ่างขาง"

“ผมขึ้นมาครั้งแรกเดือนเมษายนปี 2517 พื้นที่แถบนี้เป็นภูเขาหัวโล้นทั้งหมด ชาวบ้านแผ้วถางป่า ทำไร่ แล้วก็เผา”จำรัส อินทร เจ้าหน้าที่รุ่นแรกของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เท้าความหลังถึงสถานีเกษตรหลวงแห่งแรกในความทรงจำ “พวกเขาเผาทำไร่ฝิ่นครับ” ซึ่งในยุคนั้น ฝิ่นและข้าวไร่ถือเป็นพืชพื้นฐานสองชนิดที่ชาวเขานิยมปลูกบนพื้นที่สูงของไทย ข้าวไร่นั้นปลูกสำหรับบริโภคในครัวเรือน ส่วนฝิ่นนอกจากใช้แทนยาบรรเทาความเจ็บป่วยสารพัดแล้ว ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญอีกด้วย

รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส โครงการหลวงแห่งแรก "ดอยอ่างขาง"

พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จึงทรงมีพระราชดำริว่า พื้นที่นี้มีภูมิอากาศหนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง

และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่จากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่งทำหารทดลองปลูก

04_b

จากเดิมที่เป็นดอยหัวโล้นแปรสภาพเป็นขุนเขาแห่งความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ไม้ผล กว่า 12 ชนิด ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด และดอกไม้เมืองหนาวกว่า 20 ชนิด เป็นถิ่นที่อยู่ของ ชาวไทยภูเขาเผ่าจีนยูนาน ไทใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง

พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รับสั่งว่า “ไม่ใช่ทองคำหรอก แต่เป็นสามเหลี่ยมยากจน คนปลูกฝิ่นไม่ได้เงินเท่าไหร่  คนเอาฝิ่นไปขายต่างหากถึงรวยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าถึงที่มาของโครงการหลวง

รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส โครงการหลวงแห่งแรก "ดอยอ่างขาง"

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีพระราชดำริให้จัดตั้ง โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” เป็นโครงการส่วนพระองค์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ทดแทนฝิ่น เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำอย่างเป็นระบบ

ภายหลังโครงการนี้ได้พัฒนาต่อมาจนกลายเป็น โครงการหลวงซึ่งเป็นรู้จักอย่างกว้างขวางในทุกวันนี้ และทรงได้พระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส โครงการหลวงแห่งแรก "ดอยอ่างขาง"

หลายชั่วอายุคนมาแล้ว ชาวเขาเดินเท้าเปล่าหรือไม่ ก็ลากรองเท้าแตะขึ้นดอยจนกลายเป็นความเคยชิน รองเท้า บูตยางจึงเป็น ของแปลกใหม่ที่พวกเขาต้องใช้เวลาทำความรู้จักและรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ฉันใดก็ฉันนั้น การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมที่สืบทอดกันมายาวนานอย่างการปลูกฝิ่นจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทั้งเวลา ความเข้าใจ และความอดทน

รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาส โครงการหลวงแห่งแรก "ดอยอ่างขาง"

นับแต่วันแรกที่มีการทดลองปลูกพืชทดแทนฝิ่น องค์ความรู้ที่สั่งสมจากการลองผิดลองถูกและการแก้ปัญหาสารพัดบนพื้นที่สูงตลอดกว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่เพียงเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศ หากยังข้ามน้ำข้ามทะเลไปถึงต่างประเทศด้วย เดิมอัฟกานิสถานเป็นแหล่งปลูกผลไม้ส่งยุโรป แอปริคอต เขาอร่อยมาก” ทุกวันนี้มูลนิธิโครงการหลวงมีสถานีเกษตรและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงนับสิบแห่งกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ

————————————————————————

สถานีเกษตร ดอยอ่างขาง ปัจจุบัน

โครงการหลวงแห่งแรก “ดอยอ่างขาง”

อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร มีพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรในงานวิจัยประมาณ 1,989 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ รวม 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านขอบด้ง บ้านผาแดง บ้านสินชัย และบ้านถ้ำง๊อบ ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร จำนวน 4 เผ่า อันได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และ จีนยูนนาน

สถานีเกษตร ดอยอ่างขาง เชียงใหม่
ขอบคุณรุปภาพ https://23sureerat5654.wordpress.com

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

  • สวนกลางแจ้ง บริเวณสโมสรอ่างขางมีสวนกลางแจ้งหลายสวนที่ตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้แตกต่างกันตามความเหมาะสมของฤดูกาล ได้แก่ สวนแปดสิบ สวนดอยคำ สวนหอม สวนสมเด็จ และสวนกุหลาบอังกฤษ
  • โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาว จัดแสดงพันธุ์ผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง
  • โรงเรือนไม้ดอก เป็นการจัดแสดงไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวชนิดต่างๆ มากมาย เช่น บีโกเนีย รองเท้านารี พืชกินแมลง มุมน้ำตกในสวนสวย ซึ่งดอกดอกไม้ในสวนเหล่านี้จะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตลอดทั้งปี
  • สวนบอนไซ ภายในสวนจัดแสดงต้นไม้ประเภทสาลี่ เมเปิ้ล สน ที่ปลูกแบบบอนไซ นอกจากนี้ยังมีโดมทรงหกเหลี่ยมจัดแสดงพันธุ์พืชภูเขาเขตร้อนและดอกกล้วยไม้จิ๋วที่สุด ซึ่งจะออกดอกเดือนมกราคมของทุกปี
  • พระตำหนักเรือนที่ประทับแรมและศาลาทรงงานเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จยังสถานีฯ
สถานีเกษตร ดอยอ่างขาง เชียงใหม่
ขอบคุณรูปภาพ ROD EYE VIEW

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

  • วิถีชีวิตของชาวเขาหมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง นับถือศาสนาพุทธ หากใครที่ชื่นชอบการถ่ายภาพชาวเขาจะไม่ผิดหวังแน่นอน
  • วิถีชีวิตของชาวเขาหมู่บ้านขอบด้ง เป็นชาวเขามูเซอดำและมูเซอแดง นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ
  • วิถีชีวิตของชาวเขาหมู่บ้านหลวง เป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ดอยอ่างขาง

การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมกุหลาบพันปี (Rhododendron) ในช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ จะออกดอกผลิบานตลอดทางเดิน
  • จุดชมวิวกิ่งลม สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากท้องฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
  • จุดชมวิวหมู่บ้านนอแล นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ความสวยงามของธรรมชาติบริเวณชายแดนไทย-พม่า โดยสัมผัสกับแสงแรกแห่งอรุณ และตะวันลับขอบฟ้าที่สวยงามได้
  • กิจกรรมชมหิ่งห้อย ในยามค่ำคืนนักท่องเที่ยวจะเห็นแสงระยิบระยับของหิ่งห้อยเป็นจำนวนมาก
  • ขี่จักรยานชมธรรมชาติที่สวยงามของแปลงเกษตรภายในสถานีฯ ในช่วงฤดูหนาว ช่วยเพิ่มความสนุกสนานน่าตื่นเต้นในการเที่ยวชม
  • ขี่ล่อชมธรรมชาติ สถานีฯ มีการจัดกลุ่มชาวบ้านนำล่อมาให้บริหารแก่นักท่องเที่ยวได้ขี่ชมสถานที่บริเวณแปลงต่างๆ ล่อเป็นสัตว์ลูกผสมระหว่างม้าและลา ผู้สนใจสามารถติดต่อเช่าขี่ล่อได้ที่สถานีฯ
  • ดูนก ดอยอ่างขางเป็นสถานที่ดูนกที่มีนกหลากหลายสายพันธุ์โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวที่จะมีนกอพยพที่หาดูยาก
การเดินทางดอยอ่างขาง
แผนที่การเดินทาง มายัง ดอยอ่างขาง

การเดินทาง

  • สามารถเดินทางได้ด้วยรถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงหมายเลข 107) เดินทางเรื่อยมาจนถึงอำเภอเชียงดาวบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 79 จะพบทางแยก(เส้นทางหมายเลข 1ในแผนที่) ถ้าเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกจะผ่าน ต.เมืองงาย บ้านอรุโณทัย บ้านหลวง เส้นทางจะค่อนข้างแคบแต่จะไม่ค่อยลาดชันเท่าใดนัก และเนื่องจากถนนเกือบตลอดทั้งสายจะไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ดังนั้นช่วงเวลาที่จะสัญจรโดยถนนสายนี้ควรจะเป็นช่วงเช้าหรือกลางวันน่าจะดีกว่าช่วงบ่ายไปแล้ว เพราะถ้าเกิดรถเสียหรือมีปัญหาขึ้นมาจะติดต่อขอความช่วยเหลือค่อนข้างลำบาก
  • หากยังไม่เลี้ยวซ้ายที่ทางแยกหมายเลข 1 ก็ขับรถตามถนนเรื่อยมาจนถึงหลักกิโลเมตรที่ 137 จะถึงเส้นทางหมายเลข 2 ตามที่แสดงในแผนที่ ซึ่งเส้นทางนี้จะเป็นสายหลักที่ใช้กันเป็นประจำ เมื่อมาถึงปากทางขึ้นดอยอ่างขางจะมีป้ายบอกด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายแล้วขับรถตามถนนขึ้นมาเลย ทางเส้นนี้จะค่อนข้างลาดชันมาก จึงมีบริการเช่าเหมารถคิวสองแถวหน้าปากทางให้ขึ้นมาส่งได้ แต่หากตัดสินใจจะนำรถขึ้นมาเองก็ควรขับด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

การเดินทางสามารถใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ราคาเหมาประมาณ 1,000-1,500 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 053-884848 / 086-1947484

ขอบคุณที่มา และ ภาพประกอบ : นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก , อัลบั้มรูปสุดรักของคุณเตือนใจ ดีเทศน์, สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง