จังหวัดนนทบุรี

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคกลางของประเทศไทย โดยจัดเป็นพื้นที่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีขนาดเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 75 ของประเทศ (รวมกรุงเทพฯ) แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร

จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี

คำขวัญประจำจังหวัด: พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ

ที่ตั้งนนทบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ห่างจากรุงเทพฯ ประมาณ 20กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 622ตารางกิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในนนทบุรี

 

วัดแก้วฟ้า

วัดแก้วฟ้า

    ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ตำบลบางขนุน วัดนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๙๕ สมัยรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ชื่อ“วัดแก้วฟ้า”น่าจะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คือ สมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระแก้วฟ้าพระชนม์ได้ ๑๓ พรรษา ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นครองราชย์แทนได้ ๑ ปี ๒ เดือน ถูกขุนวรวงศาธิราชประหารชีวิตแล้วขึ้นครองราชย์แทน ต่อมาขุนวรวงศาธิราชถูกขุนพิเรนทรเทพจับฆ่าเอาศพเสียบประจาน แล้วสถาปนาพระเฑียรราชาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระไชยราชาขึ้นครองราชย์แทนเป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
โบราณสถานสำคัญภายในวัดแก้วฟ้า ได้แก่ พระประธาน เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปางมารวิชัย เรียกว่า หลวงพ่อใหญ่ มี อุโบสถหลังเก่า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๑๑๔ เป็นอาคารเครื่องก่อแบบผนังรับน้ำหนักขนาด ๕ ห้อง ฐานแอ่นโค้งทรงเรือสำเภาด้านหน้ามีพาไล ฝาผนังหุ้มกลอง ก่ออิฐจรตอกไก่ มีประตูด้านหน้า ๒ บาน ด้านหลังเป็นผนังทึบ มีช่องเล็ก ๆ หลังพระประธาน ๑ ช่อง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๑ องค์ และพระอัครสาวก ๒ องค์ รอบอุโบสถมีใบเสมาหินทรายแดง ลวดลายจำหลักตั้งอยู่บนฐานขาสิงห์ มีซุ้มทรงกูบช้างทวิมุขกำแพงแก้วลักษณะบัวหลังเจียด บริเวณทางเข้ากำแพงเป็นหัวเสาเม็ดทรงมัณฑ์อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ด้านละ ๑ ช่อง มุมกำแพงแก้วด้านละ ๔ มุม มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว ด้านหลังอุโบสถมีเจดีย์ย่อมมุมไม้ยี่สิบ ฐานสิงห์ยอดบัวตั้งอยู่ ๑ องค์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐ ๒๔๔๗ ๕๔๔๖, ๐ ๒๘๗๙ ๙๙๗๑

 วัดพระมหาธาตุ

วัดพระมหาธาตุ

     ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลแพรกศรีราชา เดิมชื่อว่าวัดพระธาตุ หรือวัดหัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่โบราณคู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสและทรงมีลายพระหัตถ์บันทึกไว้ โบราณสถานที่น่าสนใจและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระปรางค์กลีบมะเฟือง (พูมะเฟือง) สร้างด้วยอิฐถือปูน ๓ องค์ องค์พระธาตุมีลักษณะคล้ายกลีบมะเฟือง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม (ฐานเขียง) เป็นศิลปะสมัยลพบุรี กรมศิลปากรได้บูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปซึ่งแบ่งเป็น ๒ แบบ คือ ศิลปะแบบลพบุรีและแบบอยุธยาตอนต้น ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ซึ่งเก็บรักษาสิ่งของโบราณต่าง ๆ

 วัดกระโจมทอง

วัดกระโจมทอง

     อยู่ที่ตำบลวัดชลอ ริมคลองบางกรวย วัดกระโจมทองสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๐ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง) สมัยอยุธยาตอนต้น สิ่งที่น่าสนใจ คือ พระวิหารหลวงพ่ออู่ทอง วัดนี้เป็นวัดที่ร่วมสมัยกับวัดปรางค์หลวงที่อำเภอบางใหญ่ มีตำนานเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเช่นเดียวกันเดิมเคยเป็นที่ตั้งกระโจมที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ลักษณะพระวิหารหลวงพ่ออู่ทอง คล้ายพระอุโบสถขนาดเล็กบรรจุพระสงฆ์ได้ประมาณ ๒๑ รูป ฝาผนังหนาประมาณ ๘๐ เซนติเมตร สภาพชำรุดเหลือผนังด้านข้างกับด้านหลัง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยอู่ทองยุคต้น จำนวน ๓ องค์ พระพุทธรูปองค์กลางมีขนาดใหญ่เรียกว่า หลวงพ่ออู่ทอง คนในชุมชนมีความศรัทธาและมีความผูกพันมาก ได้ร่วมกันสละทรัพย์ที่จะสร้างพระวิหารใหม่ครอบพระวิหารเก่าไว้เป็นมรดกชุมชนสืบไป แต่ยังมีปัญหากับทางวัดที่มีความคิดเห็นในเรื่องการก่อสร้างไม่ตรงกัน และคนในชุมชนต่างมีความคิดเห็นว่าเศียรของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ได้ถูกขโมยตัดเศียรไปแล้ว โดยวิธีสับเปลี่ยนนำเศียรใหม่มาต่อไว้แทน (ทำมาจากวัสดุปูนปั้นปลาสเตอร์) เนื่องจากมีพุทธลักษณะเปลี่ยนไปไม่เหมือนกับของเดิมตามที่มีการบันทึกรูปภาพไว้

วัดกู้

วัดกู้

      ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางพูด ในซอยปากเกร็ด ๓ บริเวณริมน้ำหน้าวัดเป็นจุดที่เรือพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระมเหสีในรัชกาลที่ ๕ ประสบอุบัติเหตุเรือล่มสิ้นพระชนม์ วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นศิลปะแบบมอญ ภายในโบสถ์หลังเก่ามีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบมอญ เป็นภาพเขียนสีน้ำมันเรื่องราวพุทธประวัติ วิหารประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่ ด้านข้างวิหารเป็นที่เก็บเรือพระที่นั่งของพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่อับปางซึ่งชาวบ้านได้กู้ขึ้นมา และมีพระตำหนักที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์และเมื่อคราวเรือล่มได้อัญเชิญพระศพมาไว้ที่วัดนี้ชั่วคราว มีศาลพระนางเรือล่ม (พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์) ซึ่งจำลองแบบจากศาลาจตุรมุขของพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ที่พระราชวังบางปะอิน

 วัดโชติการามี

วัดโชติการามี

      ตั้งอยู่ที่ตำบลบางไผ่ ไปทางที่ว่าการ อบต.บางไผ่ เดิมชื่อวัดสามจีน สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๐ ซุ้มประตูหน้าต่างที่พระอุโบสถเป็นลวดลายปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยลายครามและเบญจรงค์ บานประตูวิหารเป็นไม้จำหลักรูปเซี่ยวกางสวยงามมาก โบราณสถานในวัดได้แก่ วิหารทรงโรงก่ออิฐถือปูน ๓ ห้อง ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี มีจิตรกรรมฝาผนังภายใน ตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติตอนต่างๆ เช่น ตอนมารผจญ ตอนสัตตมหาสถาน ตอนเสด็จโปรดพุทธมารดาเสด็จจากดาวดึงส์ การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปวัดสังฆทาน จะมีป้ายชี้บอกตลอดทาง

 เกาะเกร็ด

kohgred

    เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ. ๒๒๖๕ เรียกว่า“คลองลัดเกร็ดน้อย” (คลองลัดเกร็ดใหญ่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก) ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ชื่อเดิมเรียกว่า เกาะศาลากุน
     เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากวัดวาอารามต่างๆบนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยา หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญที่เข้ารีตมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ ๒ ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้วเกาะศาลากุน จึงมีฐานะเป็นตำบลและเรียกว่าตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงมีชื่อว่า เกาะเกร็ด

 ตลาดน้ำไทรน้อย

ตลาดน้ำไทรน้อย

       ตั้งอยู่ริมคลองพระพิมลราชาเป็นศูนย์รวมของอาหารคาวหวาน ผัก ผลไม้ หลายชนิดที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายริมฝั่งคลอง มีรสชาติอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัยและราคาเป็นกันเอง สามารถเลือกซื้อเลือกหาตามต้องการ นอกจากนี้ชมทัศนียภาพและวิถีชีวิตของชาวนนทบุรี ที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งคลอง ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติและความเป็นไทยอยู่ เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. บริเวณตลาดน้ำมีเรือล่องคลองพระพิมลราชาออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๐๐ น. นำเที่ยวชมวัดไทรใหญ่และสวนมะพร้าว โดยมีเยาวชนเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นนำชม

 อุทยานกาญจนาภิเษก

อุทยานกาญจนาภิเษก

ตั้งอยู่ซอยเฉลิมพระเกียรติ ๑๓ ถัดจากวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ กรมธนารักษ์เป็นผู้จัดสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ ๙๐๐ ล้านบาท เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี และเพื่อเป็นที่พักผ่อนของประชาชน และเป็นศูนย์รวมพันธุ์ไม้น้ำ ไม้ชายน้ำ พืชสวน และสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา ๐๕.๓๐-๑๘.๓๐ น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
       อาคารที่เป็นจุดเด่น คือ วิมานสราญนวมินทร์ เป็นพลับพลาโถงเครื่องยอดแหลม ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาลดชั้นยอดแหลมทรงมณฑป ประดับฉัตรสามชั้นสัญลักษณ์แสดงเครื่องยศของประเภทอาคารชั้นสูง

พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์

พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์

ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ ๒๗/๘ ม.๖ ถนนประชาราษฏร์ ตำบลตลาดขวัญ เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมเขาสัตว์และวัตถุโบราณไว้จำนวนมาก ดำเนินงานโดยคุณประเสริฐ ศรียรรยงค์ ภายในจัดแสดงเขาสัตว์และวัตถุโบราณนับแสนชิ้นมีอายุตั้งแต่ ๑๐๐ ปี ถึง ๑๖ ล้านปี โดยเฉพาะเขาสัตว์และส่วนหัวกระโหลกมีครบทุกชนิดทั้งสัตว์กินพืชและกินเนื้อ เน้นสัตว์ที่มีอยู่ในประเทศไทย ชิ้นที่เด่นคือ งาช้างแมมมอธยาว ๒ เมตร พบในภาคอีสาน เขาเนื้อสมันซึ่งเป็นสัตว์ที่สูญพันธ์ไปแล้ว เขาวัวกูปรีและเขาสัตว์อื่น ๆ ทุกชนิดที่มีในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งยังมีวัตถุโบราณของไทยมากกว่า ๓๐,๐๐๐ ชิ้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมวันเสาร์-อาทิตย์ ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท สนใจเข้าชมติดต่อ โทร. ๐ ๒๕๒๖ ๒๖๘๑, ๐ ๒๙๖๘ ๕๙๕๖ โทรสาร ๐ ๒๕๒๖ ๕๗๔๑

การเดินทาง

การเดินทางโดย รถยนต์

นนทบุรีเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ ด้วยถนนหลายสาย เช่น ถนนงามวงศ์วาน ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนตลิ่งชัน-บางบัวทอง ถนนรัตนาธิเบศร์ ฯลฯ และมีถนนสายสำคัญภายใน

จังหวัด11 สาย คือ

ถนนพิบูลสงคราม ระหว่างเชิงสะพานพระรามหกสี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์

ถนนประชาราษฎร์ สาย1 ระหว่างศาลากลางจังหวัด-สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์

ถนนติวานนท์ ระหว่างสามแยกวัดลานนาบุญ-ท่าน้ำปทุมธานี

ถนนงามวงศ์วาน ระหว่างสี่แยกแคราย-สี่แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ถนนนนทบุรี1 ระหว่างศาลากลางจังหวัด-ถนนติวานนท์

ถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างสี่แยกปากเกร็ด-สี่แยกหลักสี่

ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ระหว่างสะพานพระรามหก-อำเภอไทรน้อย

ถนนตลิ่งชัน-บางบัวทอง ระหว่างแยกตลิ่งชัน-บางบัวทอง

ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ระหว่างแยกบางบัวทอง-สุพรรณบุรี

ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ระหว่างสามแยกเตาปูน-สามแยกวัดลานนาบุญ

ถนนรัตนาธิเบศร์ ระหว่างสี่แยกแคราย-สะพานพระราม 5-ถนนตลิ่งชัน-บางบัวทอง

 

การเดินทางโดย รถประจำทาง

จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมบริการ มายังจังหวัดนนทบุรีหลายสาย มีรถบริการตั้งแต่เวลาประมาณ04.00-23.00 น. และบางสายให้บริการตลอด24 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามเส้นทางการเดินรถได้ที่หมายเลขโทรศัพท์184 หรือทางเว็บไซต์www.bmta.co.th

 

การเดินทางโดย รถตู้ปรับอากาศ

มีรถตู้ร่วมบริการวิ่งจากตัวเมืองกรุงเทพฯ ไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดนนทบุรีหลายแห่ง เช่น ท่าน้ำนนทบุรี ปากเกร็ด และบางบัวทอง โดยรถจะจอดอยู่ตามคิวรถต่างๆ เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สนามหลวง สวนจตุจักร หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ตลาดมีนบุรี สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฯลฯ โดยหยุดรับส่งผู้โดยสารตามป้ายรถประจำทาง

 

การเดินทางโดย เรือ
มีเรือด่วนเจ้าพระยาบริการระหว่างเส้นทางจากท่าน้ำวัดราชสิงขรและท่าน้ำราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ ถึงท่าน้ำนนทบุรี อำเภอเมืองนนทบุรี และจากท่าน้ำสาทร กรุงเทพฯ ถึงท่าน้ำนนทบุรีและท่าน้ำปากเกร็ด ทุกวัน ตั้งแต่เวลา05.50-19.00 น.

เทศกาลและงานประเพณี

 งานสงกรานต์ของชาวมอญ

งานสงกรานต์ของชาวมอญ
จัดขึ้นที่เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด โดยจัดหลังจากวันที่13 เมษายน ไป1 สัปดาห์ จะมีขบวนแห่และการละเล่นต่าง ๆ ของชาวมอญ

งานเทศกาลผลไม้และของดีเมืองนนท์

งานเทศกาลผลไม้และของดีเมืองนนท์
       กำหนดจัดงานช่วงกลางเดือนเมษายน-ต้นมิถุนายน ที่บริเวณริมเขื่อนหน้า ศาลากลางเก่า มีการประกวดธิดาชาวสวน ประกวดผลไม้ เช่น ทุเรียน พร้อมทั้งจำหน่ายผลไม้ที่ขึ้นชื่อของนนทบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง ไม้ ดอกไม้ประดับนานาชนิด และนิทรรศการเกี่ยวกับพืชผลทางเกษตร

ประเพณีตักบาตรพระร้อยแปด

ประเพณีตักบาตรพระร้อยแปด
เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของชาวบ้านตำบลบางกร่าง บางกรวย และหมู่บ้านอื่น ๆ ริมคลองบางกอกน้อย วัดหลายแห่งได้จัดงาน นี้ขึ้นพร้อมกัน เช่น วัดไทยเจริญ วัดบางไกรนอก วัดอุทยาน และวัดบาง ไกรใน โดยกำหนดจัดงานในวันแรม8 ค่ำ เดือน12 คำว่า “ร้อยแปด” หมายถึงคณาจารย์ร้อยแปดองค์ที่ได้ร่วมปลุกเสกหลวงพ่อพุทธอาคม ซึ่ง เจ้าอาวาสวัดไทยเจริญร่วมกับชาวบ้านทำการหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ.2466 ลักษณะการจัดงานคือ ในเวลาเช้าชาวบ้านและพระจากวัดตำบลต่างๆ ในเขตนนทบุรีจะพายเรือมาร่วมกันตักบาตรพระร้อยแปดที่ริมคลอง บางกอกน้อย เริ่มตั้งแต่วัดไทยเจริญเป็นแถวยาวเหยียดไปตามสองฝั่งคลอง

ประเพณีรำมอญ

ประเพณีรำมอญ
เป็นนาฎศิลป์เก่าแก่อย่างหนึ่งของมอญ และยังคงเหลืออยู่สืบต่อกันมาจน กระทั่งทุกวันนี้ ลูกหลานมอญรุ่นหลัง ๆ นี้ยังคงได้รับการถ่ายทอดศิลปะนี้ ไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวมอญที่ปากเกร็ด ชาวมอญที่พระประแดง และ ที่ปทุมธานี ยังมีผู้ที่รำมอญได้จำนวนมาก ซึ่งรวมทั้งวงปี่พาทย์มอญที่ บรรเลงประกอบการรำก็ยังคงมีอยู่หลายวง

โรงแรมที่พักที่น่าสนใจในนนทบุรี

โรงแรมนนทบุรี พาเลซ (Nonthaburi Palace)

โรงแรมทเวนตี้ โฟร์ แอท โฮม (24@Home)

โรงแรม เดอะ ริช (The Rich Hotel)

โรงแรม13 เหรียญ บางใหญ่ (13 Coins Hotel Bang Yai)

โรงแรม13 เหรียญ ติวานนท์ (อิมแพคอารีน่า) (13 Coins Hotel Tiwanon (Impact Arena))

โรงแรมพัก พิง อิง ทาง (Pak Ping Ing Tang)

โรงแรม ลัคซอว์ (Luxor Hotel)

โรงแรมไทย เฮาส์ (The Thai House)

โรงแรมบัดดี้ ริเวอร์ไซด์ โฮเทล ปากเกร็ด (Buddy Riverside Pakkred)