จังหวัดนครราชสีมา

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดนครราชสีมา

จังหวัดนครราชสีมาหรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว

จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา

คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน

ที่ตั้ง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจาก

กรุงเทพมหานคร255 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ20,493.964 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ

12,808,728 ไร่

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในนครราชสีมา

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา-5

      ท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯได้เป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี อนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย หรือย่าโม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2476 อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง1.85 เมตร   แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก

ประตูชุมพล

ประตูชุมพล

      สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อ พ.ศ.2199 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา และสร้างกำแพงประตูเมืองอย่างแข็งแรง โดยมีช่างชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมิตรประเทศกับกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบผังเมือง เมืองนครราชสีมาในขณะนั้นมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิมมีประตูเมืองทั้งหมด 4 ประตู ได้แก่ ประตูพลแสนด้านทิศเหนือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูไชยณรงค์ด้านทิศใต้ และประตูชุมพลด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเหลือเพียงประตูชุมพลเท่านั้นที่เป็นประตูเมืองเก่า ส่วนอีกสามประตูได้สร้างขึ้นใหม่ ลักษณะประตูชุมพลเป็นประตูเชิงเทิน ก่อด้วยหินก้อนใหญ่และอิฐ ฉาบด้วยปูน ส่วนบนเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่นหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้า กระจังและนาคสะดุ้ง กำแพงต่อจากประตูทั้งสองข้างก่อด้วยอิฐ ส่วนบนสุดทำเป็นรูปใบเสมา ตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ครอบคลุมพื้นที่4 จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนบุรี ป่าเขาใหญ่สมัยก่อนได้รับสมญานามว่า ดงพญาไฟ เป็นอุทยานมรดกของอาเซียน สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น บางส่วนของพื้นที่เป็นทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่ามากมายทั้งไม้เศรษฐกิจ ไม้หอม และสมุนไพรต่าง ๆ ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพธรรมชาติบนเขาใหญ่ชุ่มช่ำ ป่าไม้และทุ่งหญ้าเขียวขจีสดใส

เขื่อนลำตะคอง

เขื่อนลำตะคอง
ตั้งอยู่ตำบลลาดบัวขาว เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นและช่องเขาถ่านเสียดในปีพ.ศ. 2517 เพื่อนำน้ำเหนือเขื่อนมาใช้ประโยชน์ในด้านชลประทาน

แหล่งหินตัดสีคิ้ว

แหล่งหินตัดสีคิ้ว
       ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ   ปรากฎร่องรอยของการสกัดหินเป็นร่องลึกรูปสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆอยู่หลายแนวและยังทิ้งร่องรอยของคมสิ่วที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสกัด สันนิษฐานว่าเดิมคงจะนำหินทรายบริเวณนี้ไปสร้างปราสาทหิน ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองเก่า

หมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

หมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
สมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอย และได้ทำสืบต่อกันมานับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม มีรูปแบบที่แปลกและหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้น และใช้ดินดำสัมฤทธิ์ที่มีเอกลักษณ์ของสีแบบดินเผาด่านเกวียนโดยเฉพาะ

ปราสาทพะโค

ปราสาทพะโค
ตั้งอยู่ที่ตำบลกระโทก เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ก่อสร้างด้วยหินทรายสีขาว ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน3 หลัง แต่ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียง2 หลัง มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปเกือกม้า ทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ได้พบชิ้นส่วนหน้าบันที่แสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรแบบบาปวนในราวพุทธศตวรรษที่16

หาดชมตะวัน

หาดชมตะวัน
อยู่ในความรับผิดชอบของที่ทำการเขตจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 4 ซึ่งดูแลรักษาพื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติทับลานด้านอำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี และอำเภอวังน้ำเขียว พื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำได้รับการพัฒนาให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน และเป็นที่ประกอบอาชีพของชาวบ้านลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า สามารถเดินป่าชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น วังผีเสื้อ (มีเฉพาะในฤดูหนาว) ถ้ำพระ ถ้ำคอมมิวนิสต์ ต้นตะเคียนทองยักษ์อายุประมาณพันปี

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม
ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า ตำบลกลางดง เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธสกลสีมามงคล เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกว่า หลวงพ่อขาว หรือหลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบทนั่งปางประทานพรสีขาวขนาดใหญ่  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดดเด่นอยู่บนยอดเขาสูง

สวนสัตว์นครราชสีมา

สวนสัตว์นครราชสีมา
เป็นสวนสัตว์แบบซาฟารีกึ่งเปิด และปิดที่ทันสมัยได้มาตรฐานที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย คอกสัตว์กว้างขวาง จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับนิสัยสัตว์แต่ละชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ได้แก่ นกเพนกวิน แมวน้ำ ช้างแอฟริกา แรด เสือชีต้าห์ สิงโต ม้าลาย ยีราฟ ยังมีอาคารจัดแสดงสัตว์เลื้อยคลาน และสวนนกเงือก

การเดินทาง

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ เดินทางไปนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่นิยมที่สุดคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข2 (มิตรภาพ) ที่สระบุรี ไปจนถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ259 กิโลเมตร

อีกเส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี ปักธงชัย ถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ273 กิโลเมตร

หรืออาจเลือกใช้เส้นทางรังสิต-นครนายก ต่อทางหลวงหมายเลข33 ไปกบินทร์บุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข304 ผ่านวังน้ำเขียว ปักธงชัย เข้านครราชสีมา

 

ทางรถไฟ
มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 http://www.railway.co.th/

 

ทางรถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจาก สถานีขนส่งหมอชิต2 ไปนครราชสีมาทุกวันและตลอดทั้งวัน รายละเอียดสอบถาม โทร.0 2936 1880, 0 2936 0657 , 0 2936 2852-66 บริษัทเอกชนที่เปิดบริการเดินรถคือ บริษัท ราชสีมาทัวร์ โทร.0 44 24 5443 กรุงเทพฯ โทร.0 2936 1615 และ บริษัทแอร์โคราช โทร.0 44 25 2999 กรุงเทพฯ โทร.0 2936 2252
สถานีขนส่งที่นครราชสีมามีสองแห่งคือ สถานีขนส่งแห่งที่
1 ถนนบุรินทร์ โทร.0 44 24 2899, 0 4426 8899 และสถานีขนส่งแห่งที่2 ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น โทร.0 44 25 6006-9 ต่อ175, 176 (รถปรับอากาศ), 178 (รถธรรมดา)http://www.transport.co.th/

เทศกาลและงานประเพณี

งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี

งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี

      เป็นงานประจำปีของจังหวัด กำหนดจัดระหว่างวันที่23 มีนาคม -3 เมษายน ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันที่คุณหญิงโมได้รับชัยชนะจากข้าศึก ในงานมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมการออกร้านจัดนิทรรศการต่างๆ ของหน่วยราชการและภาคเอกชน

งานประเพณีแข่งเรือพิมาย

งานประเพณีแข่งเรือพิมาย

      เป็นงานประเพณีที่ชาวอำเภอพิมายร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีมากว่าร้อยปีแล้ว โดยจะจัดช่วงใกล้เทศกาลออกพรรษา ในปัจจุบันถือเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน เป็นวันจัดงานทุกปี งานนี้นอกจากจะมีการแข่งเรือของชาวบ้านจากหมู่บ้านต่างๆ ในอำเภอพิมายและอำเภอใกล้เคียงแล้ว ยังมีการตกแต่งเรือตามแบบเรือพระราชพิธี พร้อมประกวดการแห่เรือด้วย ซึ่งนับว่าเป็นงานที่น่าชมมาก

งานเทศกาลเที่ยวพิมาย

งานเทศกาลเที่ยวพิมาย

      จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดนครราชสีมา คือ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดียวกับงานประเพณีแข่งเรือพิมาย ภายในงานมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การแข่งเรือยาวประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่พุทธราชาและพุทธประวัติ ขบวนแห่พุทธประทีปและการแสดงประกอบแสงเสียง “วิมายนาฏการ” จ.นครราชสีมา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2532

โรงแรมที่พักที่น่าสนใจในนครราชสีมา

โรงแรมโคราช (Korat Hotel)

โรงแรมปากช่อง แลนด์มาร์ค (Pakchong Landmark Hotel)

โรงแรมโคราช รีสอร์ท (Korat Resort Hotel)

โรงแรมธาราคีรี เพลส (Tharakiree Place)

โรงแรมชญาดา รีสอร์ท (Chayada Resort)

โรงแรมสีมา ธานี (Sima Thani Korat)

โรงแรมเดอ บัว วัลเล่ย์ (De Bua Valley)

โรงแรมปางรุจี รีสอร์ท (Pang Rujee Resort)

Sabai Hotel Korat