จังหวัดอุบลราชธานี

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาว นานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

จังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดอุบล

คำขวัญประจำจังหวัด:  อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่นำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม  งามลำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในอุบลราชธานี

 แม่น้ำสองสี

แม่น้ำสองสี

       หรือดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำโขงสีปูน แม่น้ำมูลสีคราม อยู่ห่างจากจังหวัด อุบลราชธานี 84 กม. จุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่ง แม่น้ำมูล แม่น้ำโขงหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่ เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชม ทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำ หรือซื้อของที่ระลึก ที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวอีกด้วย

 วัดถ้ำคูหาสวรรค์

ถ้ำคูหาสวรรค์

       ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข2222 ก่อนถึงอำเภอโขงเจียมประมาณ6 กม.  วัดนี้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2521 โดย “หลวงปู่คำคนิง จุลมณี” ซึ่งใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมจำพรรษา ปัจจุบัน หลวงปู่ท่านได้ มรณภาพแล้ว แต่ร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์ได้เก็บร่างของท่านไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา บริเวณวัดมีจุดชมวิวสามารถมองเห็นทัศนียภาพของลำน้ำโขงและฝั่งลาวได้อย่างชัดเจน

ถ้ำเหวสินธุ์ชัย

ถ้ำเหวสินธุ์ชัย

        ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข2222 ก่อนถึงโขงเจียมประมาณ7 กม. เลี้ยวเข้า ไปประมาณ2 กม. ทางเดียวกับแก่งตะนะ บริเวณถ้ำเป็นสำนักสงฆ์ มีพระพุทธไสยาสน์ลักษณะงดงาม และมีชื่อในการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด โดยรอบวัดมีลักษณะเป็นไหล่เขา มีก้อนหินขนาดใหญ่เรียงรายอยู่มากมาย มีต้นไม้และดอกไม้สวยงาม นอกจากนี้ยังมีน้ำตกจากหน้าผาลงมาบริเวณ ด้านหน้าพระนอน เป็นที่ร่มเย็นสวยงาม จะมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน

 อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

       มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนิน เขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลักษณะแคระแกรน บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่13 กรกฎาคม 2524 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล บริเวณแก่งตะนะ การเดินทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ หมายเลข217 สายอุบลราชธานี-พิบูล มังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ75 กิโลเมตร แล้วแยกซ้าย ไปตามเส้นทาง2173 อีก13 กิโลเมตร ส่วน อีกเส้นทางหนึ่งคือเส้นทาง หมายเลข2222 ซึ่งสามารถชมแก่งตะนะได้อย่างสวยงาม โดยหินจะโผล่ ด้านนี้มากกว่า มองเห็นแก่งตะนะได้ชัดเจน ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวดังนี้

 

น้ำตกตาดโตน

น้ำตกตาดโตน 

       เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยตาดโตน ตกจากชั้นหินแนวโค้งลงสู่ที่ลุ่ม เกิดเป็นแอ่งน้ำ ด้านบนเป็นพลาญหินกว้าง มีน้ำไหลผ่าน เหมาะแก่การลงเล่นน้ำและนั่งพักผ่อน เพราะบริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้ร่มรื่น และมีพรรณไม้หลายชนิดให้ศึกษา โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝน

 

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

       มีพื้นที่ประมาณ140 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร ได้ รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่31 ธันวาคม2534 สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และเนิน เขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะ แปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน

จังหวัดอุบลราชธานี

 

saochalieng

       อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 3 กม. เป็นหินตั้งซ้อนกันโดยธรรมชาติ มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในแผ่นดินขนาดใหญ่ ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อน

 

แก่งสะพือ

แก่งสะพือ 

       เป็นแก่งที่สวยงามในแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมือง อุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 217 ประมาณ 45 กม. คำว่า “สะพือ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ซำฟืด” หรือ “ซำปึ้ด” ซึ่งเป็นภาษาส่วยแปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม แก่งสะพือเป็นแก่งที่มีหินน้อยใหญ่ สลับซับซ้อน เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน แล้วเกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะ สำหรับเที่ยวชมแก่งสะพือคือช่วงหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะน้ำจะลดเห็นแก่งหินชัดเจน สวยงาม ส่วนหน้าฝนน้ำจะท่วมมองไม่เห็นแก่ง (ตามรูป ถ่ายช่วงหน้าฝนปี 2543 ครับ ก็ไม่เห็นแก่งเลย) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมแก่งนี้ด้วย 2 ครั้ง ริมฝั่งแม่น้ำมีศาลาพักร้อน และร้าน ขายสินค้าพื้นเมือง ในวันหยุดมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อน กันเป็นจำนวนมาก

 

นอกจากนี้แล้วในเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร ได้จัดงาน ประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประเพณีอันดีงามด้วย

 

ตลาดยามเช้าโขงเจียม

ตลาดยามเช้าโขงเจียม 

       ตลาดยามเช้าที่อำเภอโขงเจียม มีพืชผลทางเกษตรที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามฤดูกาล แต่ปลาชนิดต่างๆ ดูเหมือนจะเป็นสัญญาลักษณ์ของตลาดแห่งนี้ เนื่องจากมีสองสายน้ำ ลำน้ำมูล และลำน้ำโขงไหลมาบรรจบกันที่อำเภอโขงเจียม ใกล้ตัวอำเภอ ถ.แคล้วประดิษฐ์ ริมทางหลวง2134 บ้านด่านเก่า ต.โขงเจียม ก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำมูล จะเห็นตลาดอยู่ซ้ายมือ
ตลาดเริ่มคึกคื้น เวลา
04.00-09.00 น.ทุกวัน ผลผลิตที่นำมาขายได้แก่ ปลาต่างๆ เช่น ปลาบึก ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลาช่อน ปลาแขยง ปลาเทโพ ปลากดคัง ปลาม้า ปลาเนื้ออ่อน ตลอดจน กบ เขียด กิ้งก่า แย้ หนู ไข่มดแดง มาวางขายละลานตา

วัดหนองป่าพง

วัดหนองป่าพง 

       เป็นวัดที่มีบรรยากาศร ่มรื่นเงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนา กัมมัฏฐาน สภาพทั่วไปเป็นหนองน้ำมีต้นพงขึ้นอยู่ทั่วไป อยู่ในอำเภอวารินชำราบ บนทางหลวง หมายเลข2178 ห่างจากตัวอำเภอไปประมาณ6 กม. ตัวโบสถ์เป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สีขาวทั้งหลัง นอกจากนี้ยังมีหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์หลวงปู่ชา พระชื่อดังสายวิปัสสนา ผู้เริ่มก่อสร้างวัดนี้ ขึ้นมา และเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป

การเดินทาง

รถยนต์

ใช้ทางหลวงหมายเลข1 (พหลโยธิน) ไปสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข2 (มิตรภาพ) ต่อด้วย ทางหลวงหมายเลข24 (สายโชคชัย-เดชอุดม) ไปจนถึงอุบลราชธานี หรือใช้ เส้นทางกรุงเทพฯ- นครราชสีมา แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข226 ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเข้าสู่จังหวัด อุบลราชธานี

 

รถโดยสารประจำทาง

มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียง เหนือ (ถนนกำแพงเพชรหมอชิต2) ทุกวันสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.936-1880,936-0657, 936- 0667,936-2852 ที่อุบลราชธานี โทร. (045) 241831

 

รถไฟ

มีรถด่วน และรถเร็ว กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ทุกวัน และยังมีรถธรรมดาจากนครราชสีมา- อุบลราชธานี และสุรินทร์-อุบลราชธานี อีกด้วย รายละเอียดสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร.223- 7010, 223-7020

 

เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเครื่องบินรับส่งผู้โดยสารระหว่างกรุงเทพฯ- อุบลราชธานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.(02) 280-0060, 628-2000 หรือที่ จังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045)313340-3

เทศกาลและงานประเพณี

งานแห่เทียนพรรษา

งานแห่เทียนพรรษา

       เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี จัดให้มีขึ้นทุกปีในวัน อาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา สถานที่จัดคือบริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน2 ประเภท คือประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำ ต้นเทียนจะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามไปตามถนนมาสิ้นสุด ขบวนที่ทุ่งศรีเมือง ในตอนกลางคืนจะมีมหรสพและ การแสดงสมโภชต้นเทียนและเห็นแสงไฟ ต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน

 

งานประเพณีมหาสงกรานต์แก่งสะพือ

งานประเพณีมหาสงกรานต์แก่งสะพือ

       ในเดือนเมษายนของทุกปี ทางเทศบาลพิบูลมังสาหาร ก็ได้ กำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์ แก่งสะพือขึ้นเป็นประจำ ซึ่งในงานนอกจากจะมีการประกวดธิดา สงกรานต์แล้ว ยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าของภาคเอกชน มีการละเล่นกีฬาพื้นเมือง และการประกวด การเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสานอีกด้วย

โรงแรมที่พักที่น่าสนใจในอุบลราชธานี

โรงแรม ปทุมรัตน์ (Pathumrat Hotel)

โรงแรม อุบลบุรี โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท (Ubonburi Hotel & Resort)

โรงแรม ลายทอง (Laithong Hotel)

The Ratchathani Hotel