จังหวัดพังงา

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดพังงา

จังหวัดพังงาเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ทอดเป็นแนวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ239.25 กิโลเมตร มีพื้นที่ป่าไม้ เป็นป่าไม้ประเภทไม้ผลัดใบ มีชนิดป่าที่สำคัญ ได้แก่ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าชายเลน สำหรับบริเวณที่เป็นที่ราบจะลาดลงจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ลงสู่ทะเลอันดามัน ตามชายฝั่งทะเลจะมีป่าชายเลนเกือบตลอด พื้นที่ประกอบด้วยเกาะประมาณ105 เกาะ และมีเกาะอยู่ในทะเลอันดามันจำนวนมาก เช่น เกาะยาว หมู่เกาะสุรินทร์ และหมู่เกาะสิมิลัน

จังหวัดพังงา

pungnga

คำขวัญประจำจังหวัด: แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้ จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยาก

ที่ตั้ง  พังงา เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่4,170.895 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ788 กิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในพังงา

เขาช้าง 

เขาช้าง

        หากเดินทางจากตัวตลาดของจังหวัดไปทางตำบลโคกกลอย ผ่านหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่ามองไปทางขวามือจะเห็นภูเขาขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายช้างหมอบ ชาวเมือง เรียกว่า เขาช้าง ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพังงา

ถ้ำพุงช้าง

ถ้ำพุงช้าง

       อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพังงาหลังศาลากลางจังหวัด ก่อนเข้าตัวตลาดพังงา มีทางราดยางเข้าไป500 เมตร ถึงวัดประพาส ประจิมเขต แล้วเดินเข้าไปยังถ้ำในบริเวณวัดได้ สภาพภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยและธารน้ำไหลตลอดปี
ภายใน ภูเขาช้าง สัญลักษณ์ของเมืองพังงาซึ่งรูปลักษณ์คล้ายช้างหมอบนี้ มี ถ้ำพุงช้าง ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวัดประจิมเขต หลังศาลากลางจังหวัด ถนนเพชรเกษม เป็นถ้ำใหญ่ที่อยู่ใจกลาง เขาช้าง ซึ่งเรียกบริเวณนี้ว่า ” พุงช้าง ” ประกอบด้วยถ้ำเล็กถ้ำใหญ่มากมายและเป็นถ้ำที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เคยเสด็จฯมาเยือน และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยไว้ทางด้านหน้าของถ้ำ ภายในถ้ำมีความงดงามและความมหัศจรรย์ของธรรมชาติของหินงอกหินย้อยที่มีสภาพที่สมบูรณ์ มีสายน้ำไหลผ่านกลางถ้ำแสดงให้เห็นถึงการไหลเวียนและการถ่ายเทของอากาศตลอดเวลา มีทั้งช่วงน้ำลึกและช่วงน้ำตื้น การเที่ยว ถ้ำพุงช้าง ถือได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย เพราะนักท่องเที่ยวจะต้องเดินลุยน้ำ นั่งแพ และนั่งเรือแคนนู เพื่อเข้าไปชมหินงอกหินย้อยที่เป็นฝีมือธรรมชาติ หยดน้ำที่หยดจากติ่งปลายของหินงอกหินย้อย เมื่อกระทบกับแสงไฟฉายของเรา ก็เกิดประกายเหมือนประกายเพชร หินงอกหินย้อยมีลักษณะของรูปคนตกปลา รูปแป๊ะยิ้ม รูปปลา โดยเฉพาะช้างหลากรูปแบบที่แปลกตาไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นหินงอกหินย้อยรูปช้างร้อย ๆ เชือกเดินตามกันเป็นวงรอบ หินงอกรูปช้างนั่งอยู่ใต้ฉัตรภายในถ้ำ บันไดสีทองเกิดจากหินงอกอันวิจิตรยิ่งเมื่อถูกแสงไฟจะเป็นประกายสวยงามมาก การเดินเที่ยว ถ้ำพุงช้าง ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ
1 ชั่วโมง การแต่งกายควรสวมขาสั้น รองเท้าแตะที่เป็นยาง นอกจากนี้แล้ว ถ้ำพุงช้าง เป็นแหล่งที่สองของประเทศไทย ที่มีการค้นพบค้างคาวคุณกิตติ ซึ่งเป็นค้างคาวที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

        มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตท้องที่ของอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ250,000 ไร่   อุทยานฯ แห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งที่สองของประเทศ มีความงดงามของทิวทัศน์ชายฝั่ง และทิวทัศน์เหนือผิวน้ำ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าชายเลน และยังเป็นแหล่ง ขยายพันธุ์สัตว์น้ำมากมาย ซึ่งอุทยานฯแห่งนี้จะอยู่ในเวิ้งอ่าวพังงาที่เต็มไปด้วยเกาะหินปูน ซึ่งสวยงามด้วยรูปลักษณ์ อุทยานฯ แห่งนี้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2524 ช่วงเวลาเหมาะสำหรับท่องเที่ยว คือ เดือน ธันวาคม ถึง เมษายน

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี

       เป็นเกาะเล็กๆ มีที่ราบประมาณ1ไร่ มีบ้านเรือนประมาณ200 หลังคาเรือนประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวประมง ขายของที่ระลึก และขายอาหารให้แก่นักท่องเที่ยว มีโรงเรียนประชาบาลแห่งหนึ่งชื่อ โรงเรียนบ้านเกาะปันหยี ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

เขาตะปูู

เขาตะปูู

        ลักษณะเป็นแท่งหินใหญ่มหึมาโดดเด่นปักอยู่ในทะเลบริเวณปากอ่าวพังงาใกล้ๆ กับเขาพิงกัน ซึ่งเมื่อมองจากระยะไกลแล้ว จะเห็นมีลักษณะคล้ายกับตะปูขนาดยักษ์ถูกตอกลึกลงไปในน้ำ อย่างไรก็ตาม เขาตะปูเป็นภูเขาที่มีอันตรายห้ามเข้าใกล้เนื่องจากส่วนที่จมอยู่ใต้ทะเลได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ เป็นเวลานานนับล้านปี จึงสึกกร่อนและมีขนาดเล็กกว่าส่วนบน มากมายหลายเท่า จนมีความกลัวกันว่าอาจล้มลงมาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ทางราชการและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ห้ามนักท่องเที่ยวล่องเรือเข้าไปดูใกล้ๆ โดยเด็ดขาด เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับอันตรายดังกล่าว

 เขาพิงกัน 

เขาพิงกัน

         มีลักษณะเป็นเกาะเล็กๆ บริเวณปากอ่าวพังงาเช่นเดียวกัน ขนาดย่อมกว่าเกาะปันหยี เขาพิงกันเป็นภูเขาที่มีลักษณะพิเศษแปลกตากแตกต่างจากภูเขาอื่นใดทั้งสิ้น โดยมีลักษณะเป็นภูเขาสองลูกที่แนบยึดติดกัน เป็นแนวเส้นตรงจากยอดเขาสู่ตีนเขา ผู้คนที่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมเขาพิงกันต่างพากันสันนิษฐานว่าในอดีตกาล คาดว่าจะเป็นภูเขาลูกเดียวกัน แต่ได้ถูกฟ้าผ่าหรือ
สายฟ้าฟาดอย่างปราณีตจนแยกภูเขาดังกล่าวออกเป็นสองลูกที่แนบชิดติดกันหรือพิงกัน หรืออาจเกิดจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ภูเขาดังกล่าวเกิดรอยร้าวหรือปริแยกเป็นสองส่วน ที่มีลักษณะคล้ายถูกของมีคมตัดเป็นเส้นตรงจากยอดเขาสู่ตีนเขา แต่ยังไม่ได้ถูกแยกออกจากกัน กลับถูกปล่อยให้ยังคงแนบชิดติดกัน จนถูกเรียกว่า เขาพิงกัน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

          คำว่า “สิมิลัน” เป็นภาษายาวี หรือ มลายู แปลว่า เก้า หรือ หมู่เกาะเก้า หมู่เกาะสิมีลัน อยู่ในท้องที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี ครอบคลุมพื้นที่80,000 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่1 กันยายน พ.ศ.2525 หมู่เกาะ สิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มีทั้งหมด9 เกาะ เรียงลำดับจากเหนือมาใต้ ได้แก่ เกาะบอน เกาะบายู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะเมี่ยง (มี2 เกาะ ติดกัน) เกาะปาหยัน เกาะปายัง เกาะหูยง ที่ทำการอุทยาน ฯ อยู่ที่เกาะเมี่ยง เพราะเป็นเกาะที่น้ำจืด หมู่เกาะเหล่านี้ได้รับการยกย่องจากนิตยสารสกินไดวิ่งของอเมริกา ว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความงามทั้งบนบกและ ใต้น้ำ เป็น1 ใน10 ของโลก หมู่เกาะสิมิลันอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตก ประมาณ70 กม. ช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน เป็นช่วงที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด (ช่วงเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุด ไม่มีมรสุมและน้ำใส สามารถดำน้ำแล

เขาหลัก

เขาหลัก

         จากตัวอำเภอตะกั่วป่า25 กม. ตามเส้นทางหมายเลข4 (สายท้ายเหมือง-ตะกั่วป่า) แล้วเลี้ยวซ้ายที่บริเวณกม.ที่56-57 ก่อนเข้าเขตอำเภอท้ายเหมืองจะเห็นเขาลูกหนึ่งชื่อ เขาหลัก มีศาลเจ้าพ่อเขาหลัก ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามของเขาหลัก จะเป็นชายทะเล เขาหลัก ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดหินทั้งก้อนเล็ก และใหญ่เรียงรายอยู่มากมาย

แหลมปะการัง 

แหลมปะการัง

         อยู่ระหว่างเส้นทางตะกั่วป่า25 กม. ตามเส้นทางหมายเลข4 (สายท้ายเหมือง-ตะกั่วป่า) แล้วเลี้ยวซ้ายที่บริเวณ กม.ที่56-57 ก่อนเข้าอำเภอท้ายเหมืองจะเห็นเขาลูกหนึ่งชื่อ เขาหลัก มีศายเจ้าพ่อเขาหลักตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามของเขาหลัก จะเป็นชายหาดเขาหลัก มีลักษณะเป็น หาดหินทั้งก้อนเล็ก และใหญ่เรียงรายอยู่มากมาย

น้ำตกลำปี

น้ำตกลำปี

         ตั้งอยู่หมู่ที่6 ตำบลท้ายเหมือง ริมถนนสายเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข4) บริเวณกม.ที่32-33 จะมีทางลูกรังแยกเข้าไปอีก1.5 กม. น้ำตกลำปีเป็นน้ำตกขนาดกลาง มีประมาณ6 ชั้น มีน้ำตลอดปี มีต้นกำเนิดมาจาก น้ำตกลำปี โดยเฉพาะในฤดูฝนประชาชนนิยมเดินทางไปพักผ่อนกันมาก

วนอุทยานสระนางมโนห์รา หรือ ธารน้ำตกสระนางมโนห์รา 

วนอุทยานสระนางมโนห์รา

         อยู่ในเขตตำบลนบปริง อำเภอเมือง การเดินทางไปชมธารน้ำตกสระนางมโนห์รานี้ ใช้เส้นทางพังงา-กระบี่ (ทางหลวง แผ่นดิน หมายเลข4) ไป3 กม. แล้วแยกขวาข้างสถานีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปอีก3 กม. ถึงบริเวณธารน้ำตก วนอุทยานสระนางมโนห์ราแห่งนี้ มีพื้นที่กว้างประมาณ180 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่ร่มรื่น มีพันธุ์ไม้ต่างๆ อยู่มาก ลักษณะเด่นของวนอุทยานแห่งนี้คือ ธารน้ำตกที่เกิดจาก ลำธารไหลจากไหล่เขาตกลงสู่แอ่งน้ำขนาดใหญ่ตลอดปี

การเดินทาง

รถยนต์
มีเส้นทางให้เลือกเดินทางได้2 เส้นทาง คือ
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข4 (ถนนเพชรเกษม)  ไปจนถึงจังหวัดชุมพร จากนั้นตรงไปตามทางหลวงหมายเลข41 จนถึง อ.พุนพิน ตรงสี่แยกเข้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข401 ประมาณ 40 กม. จะผ่าน อ.บ้านตาขุน เส้นทางนี้จะเป็นถนน2 เลน เมื่อถึงสายแยกที่บ้านพังกวนเหลือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหลายเลข415 ประมาณ50 กม. จะพบสามแยก เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมาย4 ตรงไปประมาณ10 กม. จะถึง อ.ทับปุด เลี้ยวซ้ายผ่านตลาดเข้าทางหลวงหมายเลข415 อีกครั้ง ตรงไปจากทับปุดถึงพังงา ประมาณ 26 กม.  รวมระยะทางจากกรุงเทพถึง พังงา ประมาณ788 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ11-12 ชม.
หากเดินทางจากภูเก็ต ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข402 ผ่านสะพานสารสิน เข้าเขตบ้านท่านุ่น เข้าสามแยกบ้านต้นแซะไปทางขวาเข้าถนนบายพาสตรงไปพังงา หรือไม่ต้องผ่านสามแยกต้นแซะ แต่เข้าเลนซ้ายตลอด ผ่านตลาดโคกกลอยตรงไปพังงา ประมาณ 89 กม. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ1 ชม.30 นาที
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.เพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์ ไปจนถึงสี่แยกปฐมพร จ.ชุมพร เลี้ยวขวาลัดเลาะไปตามไหล่เขาจนถึง จ.ระนอง   เส้นทางช่วงนี้เป็นทางแคบ2 เลน ทั้งยังเป็นทางขึ้นลงเขาที่ค่อนข้างคดเคี้ยว ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง เมื่อเข้าเขต จ.พังงา ที่ อ.คุระบุรี ก็จะเป็นทางคดเคี้ยวเช่นเดียวกัน จากนั้นเข้าสู่ อ.ตะกั่วป่า  อ.ท้ายเหมือง ตามลำดับ เมื่อถึง ต.โคกกลอยให้เลี้ยวซ้ายไปทาง อ.ตะกั่วทุ่ง เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองพังงา ระยะทางประมาณ 800 กม. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ12-13 ชม.  

รถโดยสารประจำทาง
มีรถปรับอากาศบริการระหว่าง กรุงเทพฯ-พังงาทุกวัน ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) กม. ที่3 รถวี.ไอ.พี และรถปรับอากาศ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.435-1199 รถธรรมดาติดขอรายละเอียดได้ที่ โทร.434-5557-8

เครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ-ภูเก็ต จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางเข้าไปจังหวัดพังงาอีกปรมาณ58 กม. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกประชาสัมพันธ์ บริษัทการบินไทย จำกัด ถนนหลานหลวง โทร.1566, 280-0060, 280-0070, 280-0060


ทางรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถโดยสารประจำทางไปอีกประมาณ2 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.223-7010, 223-7020

เทศกาลและงานประเพณี

 

งานประเพณีปล่อยเต่า

งานประเพณีปล่อยเต่า

        กำหนดวันจัดงานตรงกับเดือนมีนาคม ของทุกปี มีการจัดงาน เฉลิมฉลอง เป็นเวลา 7 วัน กิจกรรมที่สำคัญของงาน คือ การปล่อยลูกเต่าลงสู่ทะเล ที่บริเวณ หาดท้ายเหมือง

โรงแรมที่พักที่น่าสนใจในพังงา

โรงแรมภูงา (Phunga Hotel)

โรงแรมเขาหลัก ลากูน่า รีสอร์ท (Khaolak Laguna Resort)

โรงแรมรัญญาธาวี รีสอร์ท (Ranyatavi Resort)

โรงแรมมุกดารา บีช รีสอร์ท (Mukdara Beach Villa & Spa Resort)

โรงแรมเขาหลัก วณาบุรี รีสอร์ท (Khao Lak Wanaburee Resort)

โรงแรมเกาะยาว ชูกิจ รีสอร์ท (Koh Yao Chukit Dachanan Resort)

โรงแรมคอเขา ไอซ์แลนด์ บีช รีสอร์ท (The Kib Resort & Spa )

โรงแรมอัปสรา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา (Apsaras Beach Resort And Spa)

โรงแรมเขาหลัก พาราไดซ์ รีสอร์ท (Khaolak Paradise Resort)

โรงแรมทาโคล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา (Tacola Resort & Spa)

โรงแรมตาโกลาบุรี คัลเจอรัล แอนด์ สปา รีสอร์ท (Takolaburi Cultural & Spa Resort)