อุทยานราชพฤกษ์ เชียงใหม่ ในฤดูร้อน น่าเที่ยวมากๆ

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด, ภาคเหนือ, สมาชิกพาเที่ยว / อุทยานราชพฤกษ์ เชียงใหม่ ในฤดูร้อน น่าเที่ยวมากๆ

ร้อนนี้ใครว่าเราจะหนีขึ้นดอยไม่ได้ ..ใช่ว่าแค่ช่วงหน้าหนาวเท่านั้น ที่เราไปแอ่วเหนือชมดอกไม้ แม้ฤดูกาลร้อนๆ แบบนี้ดอกไม้ของเราก็ยังบานสะพรั่งให้ตื่นตาตื่นใจอยู่ดี เพียงแค่ใครที่ไปเชียงใหม่แล้วใจร่มๆ แค่แวะไป อุทยานราชพฤกษ์ เชียงใหม่ แต่งตัวสวยๆ ไปถ่ายภาพเก๋ๆ กับดอกไม้นา นาพันธุ์ แล้วเช็คอิน ลงเฟสบุค instargam แค่เนี๊ยะเพื่อนๆ ก็แทบจะมากด ไลค์ กันไม่หวั่นไม่ไหว

อุทยานหลวงราชพฤกษ์  เชียงใหม่ ในฤดูร้อน

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

ส่วนใครที่ยังไม่เคยไป อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ในงานมหกรรมพืชสวนโลก ก็ไม่ต้องเสียใจผิดหวังงานนี้ ททท. เค้าจัดเต็มด้วย โครงการ “แอ่วเหนือ ม่วนกั๋น วันธรรมดา” ให้เราได้กิน เที่ยว ช้อบ กันอย่างเต็มที่ งานนี้ได้รับการสนับสนุนจาก เว็บหมูหินดอทคอม เค้าเป็นแม่งาน เชื้อเชิญ Travel.mthai.com ไปร่วมแจมด้วย

อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่

มารู้จักประวัติอุทยานหลวงราชพฤกษ์ กันก่อนดีกว่า

เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 รวม 92 วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่

จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่ สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

 อุทยานหลวงราชพฤกษ์

อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่ใช้จัดงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 และ มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554  2555 และ 2556

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

  อุทยานหลวงราชพฤกษ์

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

ภายในอุทยานประกอบด้วย

  • หอคำหลวง
  • หอคอยชมวิว
  • โลกแมลง
  • ร้านจำหน่ายของที่ระลึก
  • สวนองค์กรเฉลิมพระเกรียติ
  • สวนนานาชาติ
  • สวนความหลากหลายทางชีวภาพ
  • หอประชุมนิทรรศการ

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

สวนไทย

สวนไทยเป็นพื้นที่จัดแสดงพืชสวนเขตร้อนชื้น ที่มีหลากหลายของพันธุ์พืช เทคโนโลยีการผลิต และการแปรรูป ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1,900 ชนิด สวนไทยประกอบด้วย นอกจากนี้ ยังจัดแสดงพันธุ์พืชต่าง ๆ ภายในกลุ่มอาคารเรือนกระจก ได้แก่ อาคารพืชทะเลทราย อาคารไบโอเทคโนโลยี อาคารพืชเขตร้อน อาคารพืชเขตหนาว และอาคารพืชไร้ดิน รวมทั้งยังมีหมู่บ้านสี่ภาค สวนไทยได้แก่

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

  • อาคารพืชทะเลทราย
  • อาคารพืชเขตร้อนชื้น
  • เรือนร่มไม้
  • อาคารพืชไร้ดิน
  • อาคารกล้วยไม้
  • สวนสมุนไพร
  • สวนบอนไซ
  • เรือนไทยภาคเหนือ
  • เรือนไทยภาคอีสาน
  • เรือนไทยภาคใต้
  • เรือนไทยภาคกลาง
  • นิทรรศการไม้ประจำจังหวัด

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

บรรยากาศอาคารพืชเขตร้อน

สับปะรดสี

สังเกตได้ว่าสับปะรดสี มีหลากหลายสีสัน งดงามน่าชมมาก ไม่รู้จะกินได้หรือเปล่า  ^^

สับปะรดสี

สับปะรดสี พืชเขตร้อนชื้น

สับปะรดสี

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

อุโมงค์ผัก ฟักใหญ่ จุดนี้ตื่นตาตื่นใจใครเห็นเป็นต้องตะลึง

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

และแน่นอนต้องถ่ายภาพแชร์กันในเฟสแทบทุกราย ณ จุดนี้

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

สวนกล้วยไม้
ที่มีแต่กล้วยไม้ ราชินีแห่งดอกไม้นานาพันธุ์ เหมาะสำหรับสาวๆ เข้าไปชมพร้อมถ่ายรูป น่ารักๆ อวดเพื่อนๆ

ดอกกล้วยไม้ สวยๆ ที่ อุทยานราชพฤกษ์ เชียงใหม่

กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 880 สกุล และประมาณ 22,000 ชนิดที่มีการยอมรับ(อาจมากกว่า 25,000 ชนิด) คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า

  อุทยานราชพฤกษ์ เชียงใหม่

กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่

  • กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น
  • กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
  • กล้วยไม้หิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นตามโขดหิน

  อุทยานหลวงราชพฤกษ์

เที่ยวอุทยานราชพฤกษ์ เชียงใหม่

royalgarden20

royalgarden22

รถกอล์ฟ
รถกอล์ฟ ชมสวน ชัวโมงละ 600 บาท แต่ถ้านั่งรถพ่วง ผู้ใหญ่ 20 เด็ก 10 บาท

 

หอคำหลวง

“หอคำหลวง” เป็น ส่วนแสดงสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในงาน เป็นพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นและสง่างามที่สุด เพื่อจัดแสดงพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักการเกษตรเอกของโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่ทรง อัจฉริยภาพและ ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก ภายใต้แนวคิดว่า “พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว คือ ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย” นั่นคือที่มาของอภิมหาสถาปัตยกรรมล้านนา “หอคำหลวง” โดย หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานคณะอนุกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ“หอคำหลวง”

หอคำหลวง
หอคำหลวง ภูมิสถาปัตย์ใน อุทยานเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์

หอคำหลวง จุดนิยมถ่ายรูปสวยงาม ก่อนกลับ

หอคำหลวง สถาปัตยกรรมล้านนาที่สง่างาม เป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก 2 ชั้น สีน้ำตาลแดง ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าบนเนินดิน พื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร ท่ามกลางเนื้อที่กว่า 470 ไร่ ของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สองข้างทางเดินสู่หอคำหลวงเต็มไปด้วยสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์ ส่งให้หอคำหลวง เป็นพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นและสง่างามที่สุดอีกทั้งตระการตากับ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ประดับตกแต่งในบริเวณเสาซุ้ม ซึ่งออกแบบได้สวยงามตามอย่างสถาปัตยกรรมล้านนาแท้ ๆ จำนวนมากถึง 30 ซุ้ม

หอคำหลวง ที่งดงามตระการตานี้ ผ่านกระบวนการคิด การออกแบบ จากช่างสิบหมู่พื้นบ้านล้านนานับสิบคน ถ่ายทอดผลงานอภิมหาสถาปัตยกรรมล้านนา ให้งามสง่าท่ามกลางงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 และหนึ่งในทีมงานสร้างครั้งนี้มี คุณรุ่ง จันตาบุญ หรือ ช่างรุ่ง สล่าล้านนา ผู้ชำนาญการด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นล้านนา

แผนที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์
แผนที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์