จังหวัดอ่างทอง

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดอ่างทอง

จังหวัด อ่างทอง เป็นพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง พิกัดภูมิศาสตร์เส้นรุ้งที่ 14 องศา 35 ลิปดา 12 พิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 100 องศา 27 ลิปดา ห่างจากกรุงเทพมหานครมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (บางปะอิน-พยุหะคีรี) ระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร และเส้นทางเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยาถึงตลาดท่าเตียน ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร มีรูปร่างลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีส่วนกว้างตามแนวทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก และส่วนยาวตามแนวทิศเหนือถึงทิศใต้ใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 968.372 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 605,232.5 ไร่

จังหวัดอ่างทอง

จังหวัดอ่างทอง

  คำขวัญประจำจังหวัด: พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในอ่างทอง

 อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้ว

art_41968023
ประดิษฐานอยู่ที่หน้าโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม   เป็นอนุสรณ์สถานที่ชาววิเศษชัยชาญและชาวอ่างทองร่วมกันสร้าง เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี ของวีรบุรุษแห่งบ้านโพธิ์ทะเล ชาววิเศษชัยชาญ ปู่ดอกและปู่ทองแก้ว ทั้งสองท่านยอมสละชีวิตอย่างกล้าหาญเพื่อปกป้อง แผ่นดินไทยในการสู้รบกับพม่าที่ค่ายบางระจันก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตกในปี พ.ศ. 2309

 

ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ

ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ
เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่ด้านหลังวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ โครงการตุ๊กตาชาววังที่บ้านบางเสด็จเป็นโครงการที่สมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ราษฎร

 

หมู่บ้านทำกลอง

หมู่บ้านทำกลอง
ตั้งอยู่ที่ ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดสองข้างทางจะเห็นร้านขายกลองเป็นระยะๆ ชาวบ้านแพเริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยจะเริ่มหลังฤดูเก็บเกี่ยว วัตถุดิบที่ ใช้ทำกลองได้แก่ ไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายกับหนังวัว เราสามารถชมกรรมวิธีการทำกลองตั้งแต่เริ่มกลึง ท่อนไม้เรื่อยๆไปจนถึงขั้นตอนการขึ้นกลอง การฝังหมุด กลองที่ทำมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงกลองขนาดใหญ่

 

พระตำหนักคำหยาด

พระตำหนักคำหยาด
อยู่ในท้องที่ตำบลคำหยาด สภาพปัจจุบันมีเพียงฝนัง4 ด้าน ตัวอาคาร ตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา ก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดกว้าง10 เมตร ยาว20 เมตร ยังคงเห็นเค้าความสวยงาม ทางด้านศิลปกรรมเช่น ลวดลายประดับซุ้มจรนำหน้าต่าง มีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง ภายในทาดินแดง ปูพื้นกระดาน

 

ค้างคาวแม่ไก่วัดจันทาราม

ค้างคาวแม่ไก่วัดจันทาราม
วัดจันทรารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านช้าง ตำบลโคกพุทรา ในบริเวณวัดแห่งนี้มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นจึงเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ค้างคาวแม่ไก่และ นกนานาชนิดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ค้างคาวแม่ไก่เหล่านี้จะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะห้อยหัวอยู่ตามกิ่งไม้ เป็นสีดำพรืดมองเห็นแต่ไกลซึ่งผู้สนใจสามารถไปชมได้ในทุกฤดูกาล

 

วังปลาวัดข่อย

วังปลาวัดข่อย
อยู่บริเวณแม่น้ำน้อยหน้าวัดข่อย   ตำบลโพธิ์รังนก   ปลาที่วัดข่อยนี้มีจำนวนมากมาตั้งแต่สมัยพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อเข็ม) เป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเวลากว่า50 ปีแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ.2528 พระครูสรกิจจาทรเป็นเจ้าอาวาสได้ปรับปรุงสถานที่และร่วมกับสำนักงานประมง อำเภอโพธิ์ทองประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ภายในวัดข่อยยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ ศาลาการเปรียญไม้สัก ทรงไทยโบราณเสา8 เหลี่ยม ใต้ถุนศาลาการเปรียญเป็นที่เก็บของเก่าประเภทต่างๆ เช่น จากจีน มีเรือประเภทต่างๆ เช่น เรือบด เรือแจว เรือสัมปั้นและเรือประทุน มีเครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งอุปกรณ์ในการทำนาได้แก่ เกวียน ล้อ คันไถ อุปกรณ์เครื่องมือการจับสัตว์น้ำ ไซดักปลา มีมณฑป วิหาร เจดีย์ พระอุโบสถ กุฏิ หอสวดมนต์ ซากโบราณ สถานของห้องเรียนโบราณ และยังมีของเก่าที่เก็บรักษาไว้เช่น ตะเกียงโบราณจากกรุงวอชิงตัน นาฬิกาโบราณจากปารีส และตู้พระไตรปิฎกไม้สักสมัยรัชกาลที่5 จากจีนหรือเปลกล่อมลูกแบบโบราณ ชาวบ้านยังมีการจัดตั้งศูนย์ผลิตข้าวซ้อมมือ ขึ้นเป็นสหกรณ์เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จัดแสดง เรือโบราณประเภทต่างๆ เช่น เรือบด เรือแจว และยังมีอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพของชาวนา เช่น ครก โม่ข้าว กระด้ง อันแสดงถึงวิถีชีวิตชาวไทยภาคกลาง

 

สวนปลา

อยู่บริเวณใกล้สี่แยกไฟแดงหน้าเรือนจำจังหวัดอ่างทอง มีปลาช่อนอะเมซอนขนาดใหญ่จำนวนมาก และปลาพื้นเมืองอื่นๆ เช่น ปลาแรด ปลาสวาย ปลาเทโพ ฯลฯ

 

สวนน้ำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ตั้งอยู่ที่ ถนนลำท่าแดง   เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่8 เมษายน พ.ศ.2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน และประชาชน ออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ เพื่อสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

 

การเดินทาง

 

รถยนต์ส่วนตัว

เส้นทางที่1
ใช้เส้นทางสายพหลโยธิน จากกรุงเทพฯ แยกเข้าเส้นทางสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน- บางปะหัน-อยุธยา-อ่างทอง รวมระยะทาง105 กิโลเมตร เป็นระยะทางที่ใกล้ที่สุด

เส้นทางที่2
ใช้เส้นทางตัดใหม่ ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า – ตลิ่งชัน เข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข340 ผ่านจังหวัดนนทบุรี-ปทุมธานี-อยุธยา-สุพรรณบุรี-อ่างทอง รวมระยะทางประมาณ150 กิโลเมตร

เส้นทางที่3
ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-ปทุมธานี ผ่านปากเกร็ด เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข3111 ผ่านอำเภอบางไทร-อำเภอเสนา-อยุธยา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข309 เข้าอำเภอป่าโมก-อ่างทอง รวมระยะทาง140 กิโลเมตร

 

การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถธรรมดาและรถปรับอากาศระหว่างกรุงเทพฯ-อ่างทอง ทุกวันวันละหลายเที่ยว โดยรถจะออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร2 ตั้งแต่ 05.30-18.00 น. ทุก20 นาที สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2936-3660, 0-2936-3666

 

รถตู้โดยสารปรับอากาศ

สายกรุงเทพฯ – อ่าทอง นั่งได้คันละ 10-12 คน จุดรอรับผู้โดยสารจากกรุงเทพฯ อยู่บริเวณใต้ทางด่วนใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และจอดส่งผู้โดยสารบริเวณข้าง  คลีนิกแพทย์องอาจ อ.เมืองอ่างทอง

 

เทศกาลและงานประเพณี

 

งานของดีเมืองอ่างทองและงานกาชาดประจำปี 

งานของดีเมืองอ่างทองและงานกาชาดประจำปี

           เป็นงานประจำปีของชาวอ่างทองที่จัดขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว  ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี   มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ การแสดงทางวัฒนธรรม  การจัดนิทรรศการ  การแสดงจำหน่ายและสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้าน   การจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรและการแข่งขันกีฬาชาวนา   งานนี้จัดบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง

 

งานประเพณีแข่งเรือยาววัดป่าโมก 

งานประเพณีแข่งเรือยาววัดป่าโมก

            จัดขึ้นบริเวณวัดป่าโมกวรวิหาร  อำเภอป่าโมก  โดยแบ่งออกเป็น ๒ ช่วงคือช่วงเดือนมีนาคม เป็นงานนมัสการและสมโภชพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธบาท ๔ รอย และช่วงเดือนตุลาคมจะเป็นงานแข่งเรือยาวประเพณีและการประชันเรือยาวที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ

 

งานไหว้ครูกลอง

          ที่หมู่บ้านทำกลอง อำเภอป่าโมก จัดเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ ที่ประสิทธิประสาทวิชาให้