จังหวัดอุทัยธานี

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด, ภาคเหนือ / จังหวัดอุทัยธานี

จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ ๖,๗๓๐ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสูง สภาพป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานีอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาและนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทย ทุกคน

จังหวัด อุทัยธานี

จังหวัดอุทัยานี

คำขวัญประจำจังหวัด: อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในอุทัยธานี

 เขาสะแกกรัง

งานตักบาตรเทโว วัดสังกัสรัตนคีรี

           จากบริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรีมีบันไดขึ้นไปสู่ยอดเขาสะแกกรัง   เป็นที่ตั้งของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งย้ายมาจากวัดจันทาราม สร้างเมื่อ พ.ศ.2448 ด้านหน้ามีระฆังใบใหญ่ที่พระปลัดใจและชาวอุทัยธานีร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ.2443 ถือกันว่าเป็นระฆังศักดิ์สิทธิ์   ใครที่ไปเที่ยวอุทัยธานีแล้ว ไม่ได้ขึ้นไปตีระฆังใบนี้ก็เท่ากับไม่ได้ไปเที่ยวอุทัยธานี ใกล้กับมณฑปบนยอดเขาสะแกกรัง มีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่งรัชกาลที่1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่านายทองดี รับราชการตำแหน่งพระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย และต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ครั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้สถาปนาพระอัฐิพระบิดาเป็นสมเด็จพระชนกาธิบดี เมื่อปี พ.ศ.2338 พระบรมรูปของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ เป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าขององค์จริงประทับนั่งบนแท่นพระหัตถ์ซ้ายถือดาบประจำตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี ทั้งฝักวางบนพระเพลาซ้าย และทรงวางพระหัตถ์ขวาบนพระเพลาขวา ด้านขวามือมีพานวางพระมาลาเส้าสูง ไม่มียี่ก่า (ขนนก) สวมพระบาทด้วยรองเท้าแตะไม่หุ้มส้นพระบาท มีพิธีถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ในวันที่6 เมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงที่ดอกสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคำ ดอกไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานีบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบนเขาสะแกกรัง เลยพระราชานุสาวรีย์ไปทางป่าหลังเขา ประมาณ200 เมตร จะพบ หมุดแผนที่โลก ซึ่งใช้ในการสำรวจแผนที่ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2475

วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม

วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม

            ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรสถิตย์หลังสวนสุขภาพ สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองเรียกกันว่าวัดทุ่งแก้ว ในวัดนี้มีพระปรางค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่ง ฐานกว้าง8 เมตรสูง16 เมตร ลักษณะเป็นปรางค์ห้ายอด สร้างเมื่อ พ.ศ.2452 ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อแย้มผู้สร้างวัดนี้ บริเวณวัดมีสระน้ำก่ออิฐเป็นสระน้ำมนต์ขนาดใหญ่ กลางสระมีแผ่นศิลาอักขระยันต์ของหลวงพ่อแย้มฝังเอาไว้

เกาะเทโพ

เกาะเทโพ
เดิมเป็นแหลมยื่นออกมาคั่นระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรัง แม่น้ำทั้งสองสายจะมาบรรจบกันทางทิศใต้ของแหลม และมีการขุดคลองเชื่อมทางเหนือในภายหลัง เพื่อให้แม่น้ำเจ้าพระยามาหนุนแม่น้ำสะแกกรังในยามน้ำแล้ง แหลมนี้จึงกลายเป็นเกาะเทโพ หลังจากข้ามสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างตลาดสดเทศบาลและวัดอุโบสถาราม ซึ่งไม่ยาวนัก บรรยากาศสองข้างจะเป็นป่าไผ่ ไร่ข้าวโพด และทุ่งนาให้บรรยากาศที่สงบร่มรื่น ชาวบ้านที่นี่ทำสวนส้มโอ มีทั้งพันธุ์มโนรมย์ และขาวแตงกวา และยังปลูกมะไฟด้วย

วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)

วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้านเข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังเป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัดคือ ธรรมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ที่วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามและมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่2 – 3 แห่ง ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย

เขาปฐวี

เขาปฐวี
อยู่ในตำบลตลุกดู่ เป็นเทือกเขาขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินที่เรียงซ้อนกันเป็นยอด ค่อนข้างสูงชัน มีถ้ำอยู่เรียงรายโดยรอบประมาณ30 ถ้ำ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เช่น ถ้ำประทุน ถ้ำบันได ถ้ำอ่าง ถ้ำช่องลม ถ้ำพุทธประวัติ ถ้ำปลา และถ้ำค้างคาว เป็นต้น สามารถปีนไต่ตัวยอดเขาได้ บริเวณลานกว้างหน้าเขามีร่มไม้และฝูงลิงจำนวนมาก

น้ำตกไซเบอร์ หรือน้ำตกหินลาด

น้ำตกไซเบอร์ หรือน้ำตกหินลาด
อยู่ตำบลคอกควาย อำเภอห้วยคต น้ำตกนี้เกิดจากลำห้วยล่อยจ้อยที่ไหลมาจากภูเขาสูงของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทำให้เกิดน้ำตกขึ้นเป็นระยะๆ หลายชั้น น้ำตกส่วนที่อยู่ตอนบนเรียกว่าน้ำตกล่อยจ้อย บางแห่งตกจากที่สูงปะทะกับก้อนหินใหญ่ เรียกว่า น้ำตกหินลาด ข้างล่างเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่รับน้ำตกที่ตกลงมาไม่ขาดสาย บางแห่งไหลซอกซอนไปตามเกาะ

น้ำพุร้อนบ้านสมอทอง

น้ำพุร้อนบ้านสมอทอง
ตั้งอยู่ที่บ้านสมอทอง ตำบลคอกควาย อยู่ในโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว เดิมเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติขนาดเล็กที่ผุดขึ้นมาผิวดิน เป็นน้ำใสและมีกลิ่นกำมะถันฉุนมีความร้อนขนาดต้มไข่สุกภายใน5 นาที ไหลผ่านช่องเขาไปรวมกับน้ำในลำห้วยคอกควาย ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงให้เป็นบ่อน้ำพุร้อน และเป็นจุดชมทิวทัศน์ และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้สวยงาม

การเดินทาง

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปอุทัยธานีได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1  .จากถนนพหลโยธินผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลงแพขนานยนต์ ที่อำเภอมโนรมย์ ผ่านวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) ศาลากลางจังหวัด เข้าตลาดอุทัยธานี รวมระยะทางประมาณ ๓๐๕ กิโลเมตร
2  .จากทางหลวงหมายเลข ๓๒ (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท แล้วเลี้ยวซ้ายตรงทางแยกท่าน้ำอ้อยบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๒๐๖ เข้าทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ ข้ามสะพานแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทางประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ผ่านหน้าโรงพยาบาลเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดอุทัยธานี รวมระยะทางประมาณ ๒๒๒ กิโลเมตร
3 .จากทางหลวงหมายเลข ๓๒ (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา ประมาณกิโลเมตรที่ ๓๐ เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๓๔ และจากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ ไปตามเส้นทาง ข้ามสะพานจังหวัดอ่างทอง แล้วมาตามถนนหมายเลข ๓๑๑ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ผ่านจังหวัดชัยนาทที่อำเภอสรรพยา จากนั้นเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๑๘๓ เข้าจังหวัดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ ๒๘๓ กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-อุทัยธานีทุกวัน จากสถานีขนส่งหมอชิต ๒ ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๔ ชั่วโมง ทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศตั้งแต่เวลา ๐๔.๓๐-๑๗.๕๐ น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ หรือwww.transport.co.th สถานีเดินรถอุทัยธานี โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๐๕๘, ๐ ๕๖๕๑ ๑๙๑๔, ๐ ๕๖๕๑ ๒๘๕๙

เทศกาลและงานประเพณี

งานตักบาตรเทโว วัดสังกัสรัตนคีรี

เขาสะแกกรัง

             ถือเป็นประเพณีสำคัญในวันออกพรรษาของจังหวัดอุทัยธานี จัดขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (ตุลาคม) ของทุกปี พระสงฆ์ทุกรูปที่จำพรรษาในอำเภอเมืองอุทัยธานีประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ รูป จะเดินลงบันไดเป็นแถวจากยอดเขาสะแกกรังนำด้วยพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ลงมารับบิณฑบาตข้าวสารจากพุทธศาสนิกชนที่ลานวัด โดยสมมติมณฑปบนยอดเขาสะแกกรังเป็น“สิริมหามายากูฎคาร” ที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์โปรดมารดา แล้วเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ลงบันได ๓๓๙ ขั้น ซึ่งถือเป็นบันไดแก้วสู่กัสนคร คือ บริเวณวัดสังกัสรัตนคีรี ในวันนั้นประชาชนจะแต่งกายสวยงามและมาร่วมทำบุญกันอย่างพร้อมเพรียง นับเป็นงานประเพณีที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทุกปี

งานไหว้พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ วัดสังกัสรัตนคีรี

งานไหว้พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์            เป็นงานท้องถิ่น จัดขึ้นในวันขึ้น ๓-๘ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี เป็นงานประเพณีไหว้พระคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี ซึ่งเดิมนั้นเป็นงานนมัสการปิดทองพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขาสะแกกรัง ในระยะหลังจึงจัดงานในคราวเดียวกันที่วัดนี้ในวันขึ้น ๕ ค่ำ เนื่องจากเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่มาไหว้พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์และขึ้นยอดเขาเพื่อปิดทองพระพุทธบาทจำลองมากที่สุด และได้จัดให้มีการละเล่นสนุกสนานควบคู่กันไปทุกปี

งานแห่เจ้าของชาวจีนในอุทัยธานี

งานแห่เจ้าของชาวจีนในอุทัยธานี 

             เป็นประเพณีของชาวจีนในอุทัยธานีที่จะจัดพิธีแห่เจ้าพ่อและเจ้าแม่ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามศาลต่าง ๆ โดยกำหนดมีงานตามการครบปีของเจ้าแต่ละองค์ ซึ่งบางองค์ ๕ ปีแห่ครั้งหนึ่ง บางองค์ ๑๒ ปีแห่ครั้งหนึ่ง บางองค์ ๑๔ ปีแห่ครั้งหนึ่ง ไม่เหมือนกัน การแห่เจ้าพ่อปุงเถ่ากง เจ้าพ่อหลัก

เมืองอุทัยธานี มีขบวนสาวงามถือธงร่วมขบวนเป็นแถวยาวผ่านตลอดไปตามถนนรอบเมือง และจะมีสิงโตคณะต่าง ๆ ของชาวจีนในอุทัยธานีร่วมให้พรตามร้านค้าคนจีนในตลาด ซึ่งทุกร้านจะตั้งโต๊ะบูชาประดับด้วยงาช้างขนาดใหญ่สวยงาม ถ้าเป็นงานของเจ้าแม่ทับทิม“จุ้ยบ้วยเนี้ยว” จะมีพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงเจ้าแม่เมื่อครบ ๑๒ ปี และเข้าทรงทำการลุยไฟด้วย