จังหวัดอุตรดิตถ์

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด, ภาคเหนือ / จังหวัดอุตรดิตถ์

จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ เป็นดินแดนล้านนาตะวันออก ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ก่อนยุคสุวรรณโคมคำ เชียงแสน และ ล้านนา

จังหวัดอุตรดิตถ์

picture2009_1910255212192คำขวัญประจำจังหวัด:  เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก

ที่ตั้ง   มีพื้นที่ 7,838.592 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอตรอน อำเภอพิชัย อำเภอลับแล อำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา อำเภอบ้านโคก อำเภอฟากท่า และอำเภอทองแสนขัน

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในอุตรดิตถ์

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

e0b8ade0b899e0b8b8e0b8aae0b8b2e0b8a7e0b8a3e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a2e0b8b2e0b89ee0b8b4e0b88ae0b8b1e0b8a2e0b894e0b8b2         ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติของท่านในความองอาจ กล้าหาญ รักชาติและเสียสละ เมื่อครั้งพระยาพิชัยซึ่งครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี ท่านได้สร้าง เกียรติประวัติไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยได้ยก ทัพไปสกัดทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป การรบในครั้งนั้นดาบคู่มือของพระยาพิชัยได้หักไปหนึ่งเล่ม แต่ก็ยังรบได้ชัยชนะต่อทัพพม่าด้วยวีรกรรมดังกล่าว จึงได้สมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” อนุสาวรีย์แห่งนี้ออกแบบและหล่อโดยกรมศิลปากร ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512

วนอุทยานสักใหญ่

วนอุทยานสักใหญ่ 

          อยู่ที่ หมู่4 บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ จากตัวเมืองเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข1045 ประมาณ60 กม. เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข1146 ประมาณ7 กม. เลี้ยวขวาเข้าสุ่ทางหลวงหมายเลข1047 ประมาณ11 กม. เลี้ยวขวาอีกครั้งไปตามทางลูกรังไปตามภูเขาอีก2 กม. รวมระยะทางทั้งสิ้น81 กม. ลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ มีเนื้อที่1,000 ไร่ ภายในมีต้นสักใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวรอบต้น987 เซนติเมตร สูง47 เมตร วัดเมื่อ15 กุมภาพันธ์2530 มีอายุประมาณ1,500 ปี ปัจจุบันถูกพายุพัดส่วนยอดหัก ลำต้นส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพเดิม

เขื่อนสิริกิต์

เขื่อนสิริกิต์

         ตั้งอยู่ที่บ้านผาซ่อม ตำบลท่าปลา ห่างจากตัวจังหวัด 60 กม. ตามทางหลวงสายอุตรดิตถ์-ท่าปลา ถนนราดยางตลอด เขื่อนสิริกิต์เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นแม่น้ำน่านที่ผาซ่อม สันเขื่อนยาว 800 เมตร กว้าง 12 เมตร สูง 113.6 เมตร นับเป็นเขื่อนดิน (แกนคอนกรีต) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บริเวณเหนือเขื่อนเป็นทะเลสาบใหญ่ที่มีชื่อว่า ทะเลสาบสุริยันจันทรา มีทิวทัศน์สวยงาม โดยเฉพาะในฤดูหนาว พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับที่ถูกจัดแต่งเติมจะพากันออกดอกบานสะพรั่ง เมื่อไปถึงบริเวณเขื่อน นักท่องเที่ยวควรไปติดต่อที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ซึ่งให้บริการด้านข่าวสาร และอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น การอนุญาตให้เข้าชมกิจการของเขื่อน

น้ำตกแม่พูล

น้ำตกแม่พูล

         อยู่ที่หมู่ 4 บ้านต้นเกลือ ตำบลแม่พูล ห่างจากตัวจังหวัด 20 กม. จากอำเภอลับแล ใช้ทางหลวง หมายเลข 1041-1043 เป็นน้ำตกที่เกิดจากการตกแต่งธารน้ำ โดยการเทปูนมีความสูงหลายชั้น มีลักษณะเป็นฝายน้ำล้น เป็นชั้นๆ สภาพโดยรอบร่มรื่น มีธรรมชาติแวดล้อมสวยงาม และมีศาลา สำหรับนั่งพักผ่อนชมทิวทัศน์น้ำตกแม่พูลได้อย่างชัดเจน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้ตัวเมืองและมีถนนเข้าถึงอย่างสะดวกสบายมาก

หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน

หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน

          วัดท่าถนนเดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำน่าน ถนนเกษมราษฎร์ ตำบลท่าอิฐ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน นั่งขัดสมาธิเพชร ตามประวัติกล่าวว่า ในปี พ.ศ.2436 ขณะหลวงพ่อด้วงเจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ เดินทางกลับจากรับนิมนต์ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล เมื่อผ่านวัดสะแกที่เป็นวัดร้าง ได้พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดูพบว่าเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ มีลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าถนน มีคนมากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร จึงเรียกกันว่า หลวงพ่อเพชร

วัดพระยืนพุทธบาทยุคล

วัดพระยืน

           อยู่เลยวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งไปตามทางหลวงหมายเลข102 ประมาณ 500 เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือของถนนใกล้ทางแยก ภายในมีมณฑปเป็นศิลปะแบบเชียงแสน ครอบรอยพระพุทธบาทคู่ที่ประดิษฐานบนฐานดอกบัวสูงประมาณ1.5 เมตร ที่วัดพระยืนพุทธบาทยุคลนี้ ยังมีพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยเรียกกันว่า หลวงพ่อพุทธรังสี เดิมประดิษฐานอยู่ในมณฑปมีปูนพอกหุ้มไว้ทั้งองค์ ต่อมาได้กระเทาะปูนออกและนำไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถที่สร้างใหม่

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง 

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

          อยู่ที่หมู่3 บ้านทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข102 ประมาณ3 กิโลเมตร จะมองเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีตำนานเกี่ยวพันกับอีก2 วัด ที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ประกอบด้วยวิหารแบบล้านนาซึ่งอยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นพระบรมธาตุทุ่งยั้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์เก่าแก่แบบลังกาทรงกลมฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม3 ชั้น ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นบริวารอยู่4 มุม ฐานชั้นที่3 มีซุ้มคูหา4 ด้าน สันนิษฐานว่าได้บูรณะขึ้นภายหลัง

การเดินทาง

รถยนต์
อุตรดิตถ์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ491 กม. การเดินทางโดยทางรถยนต์สามารถไปได้2 ทาง คือ
1.กรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข
1 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข32 ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทาง11 เข้าพิษณุโลก แล้วเดินทางตามเส้นทางหมายเลข11 ถึงอุตรดิตถ์
2.กรุงเทพฯ ไปสิงห์บุรี แล้วใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี-ตากฟ้า
(ทางหลวงหมายเลข11) จนถึงทางหลวงหมายเลข12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) เลี้ยวซ้ายไปอีก8 กม. แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข11 จนถึงอุตรดิตถ์

รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายเหนือ มีรถยนต์โดยสารธรรมดา จากกรุงเทพฯ สู่อุตรดิตถ์ทุกวันวันละหลายเที่ยว รายละเอียดติดต่อ โทร.272-5228 สำหรับรถโดยสารปรับอากาศจากกรุงเทพฯ วันละ2 เที่ยว ติดต่อบริษัท ถาวรฟาร์ม โทร. 282-3341, 271-3011 และวินทัวร์ โทร.271-2984
รถไฟจากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีรถไฟไปอุตรดิตถ์ทุกวันวันละหลายเที่ยว จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ รายละเอียดติดต่อ โทร.
223-7010, 223-7020

เทศกาลและงานประเพณี

งานวันลางสาด

งานวันลางสาด

         ลางสาดเป็นผลไม้ที่มีชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเฉพาะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรชาวอำเภอลับแล มาเป็นเวลานาน กลุ่มเกษตรอำเภอลับแล เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ และสำนักงานเกษตรจังหวัด อุตรดิตถ์ (โทร.055-411769) จึงได้ร่วมกันจัดงานวัดลางสาดขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกร ปรับปรุงพันธุ์ลางสาดของตนให้มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ กำหนดงาน ประมาณวันเสาร์ – อาทิตย์ หรือปลายเดือนกันยายนของทุกปี จัดขึ้น ณ บริเวณสนามกีฬาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัด อุตรดิตถ์ โดยจัดให้มีนิทรรศการทางวิชาการเกี่ยวกับลางสาด การประกวดลางสาด ธิดาลางสาด การประกวดรถผลไม้ การออกร้านสินค้าพื้นเมือง ตลอดจนการแสดงและมหรสพพื้นเมืองของชาวลับแลอีกด้วย

งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด

งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด

          เป็นงานฤดูหนาวประจำปี และงานรำลึกถึงวีรกรรมของพระยาพิชัยดาบหัก กำหนดจัดงานวันที่7-14 มกราคม ของทุกปี
งานเทศกาลวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
, วัดพระแท่นศิลาอาสน์ และวัดพระยืนพุทธบาทยุคล วันขึ้น8-15 ค่ำ เดือน3 (วันมาฆบูชา)

ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า

ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า

          จัดขึ้นที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง วันขึ้น15 ค่ำ เดือน6 (วันวิสาขบูชา) เป็นสัปดาห์ส่งเสริมพุทธศาสนา หลังจากวันวิสาขบูชาอีก7 วัน เรียกว่าวันอัฐมีบูชา จะมีพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า