จังหวัดพะเยา

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด, ภาคเหนือ / จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนานไม่น้อยไปกว่าเมืองอื่นๆ ในอาณาจักรล้านนา บริเวณที่ตั้งของจังหวัดพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรษที่ 16 โดยมีผู้ปกครองคือ พ่อขุนงำเมือง ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพะเยาอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียงรายในฐานะ อำเภอพะเยา และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย

จังหวัดพะเยา

20130809111646_65588

คำขวัญประจำจังหวัด: กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในพะเยา

 กว๊านพะเยา

s1

       กว๊านพะเยา กว๊าน หมายถึง หนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่ คำนี้มีใช้ในท้องถิ่นล้านนาเฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น กว๊านพะเยา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ รูปพระจันทร์เสี้ยวเกือบครึ่งวงกลม แหว่งทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ ๗๐ ล้านปีมาแล้ว โอบล้อมดอยแม่ใจซึ่งเป็นภูเขาสูงยาว เป็นแอ่งน้ำที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ ๑๘ สาย ต่อมาในปี ๒๔๗๘ กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้นบริเวณต้นแม่น้ำอิง และสร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา เป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๘๓๑ ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลาไน รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีความร่มรื่น สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและจัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะที่จะไปนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊านเป็นภาพที่สวยงามมาก

 อุทยานแห่งชาติภูซาง

อุทยานแห่งชาติภูซาง 

       เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น อยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแนวเขตยาวประมาณ30 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด178,049 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่มีค่า ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน จำปีป่า ยมหอม ประดู่ สัก และรัง เป็นต้น พื้นที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มียอดเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำลาว น้ำเปื่อย น้ำบง และน้ำญวณ เพื่อใช้หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย นอกจากธรรมชาติที่สมบูรณ์ บริเวณอุทยานฯ ยังมีเต่าปูลู ซึ่งเป็นเต่าพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธ์ มีขนาดเล็ก ตัวเตี้ย หางยาว และด้วยเป็นเต่าพันธุ์หัวโต ขาทั้ง4 ข้างและหางไม่สามารถหดเข้ากระดองได้ เวลามีศัตรูหรือภัยมา โดยเฉพาะเวลาเกิดไฟไหม้ป่าจะพบเต่าปูลูถูกไฟไหม้ตายเป็นประจำ เต่าปูลูจึงถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันไฟป่าของเมืองไทย เต่าปูลูเป็นเต่าที่ชอบอยู่ในป่าอุดมสมบูรณ์บนภูเขาสูงใกล้น้ำตก หรือลำห้วยที่มีน้ำใสไหลผ่านตลอดเวลา สามารถชมเต่าพันธุ์นี้ได้ในเวลากลางคืนขณะ กำลังออกหากิน

 

อุทยานมีสถานที่น่าสนใจ ได้แก่

น้ำตกภูซาง
เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำตลอดปี สูง25 เมตร เป็นน้ำตกที่เป็นน้ำอุ่น ๓๓ องศาเซลเซียส น้ำใส ไม่มีกลิ่นของกำมะถัน น้ำตกนี้ตั้งอยู่ริมถนนอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน300 เมตร ฝั่งตรงข้ามน้ำตกมีร้านสวัสดิการสามารถนั่งพักผ่อนและรับประทานอาหารได้

บ่อน้ำซับอุ่น
เป็นบ่อซับอุ่นตามธรรมชาติอุณหภูมิประมาณ35 องศาเซลเซียส เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกภูซาง ด้านบนของน้ำตกภูซางสภาพป่าโดยรอบเป็นป่าดิบชื้นและป่าพรุที่สมบูรณ์

ถ้ำผาแดง
เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ลึก450 เมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม อยู่ห่างจากอุทยานฯ48 กิโลเมตร การเดินเที่ยวชมถ้ำต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง และควรแจ้งล่วงหน้า

ถ้ำน้ำลอด
เป็นถ้ำหินขนาดเล็กอยู่เชิงดอยผาแดง ห่างจากถ้ำผาแดงประมาณ10เมตร ถ้ำลึก250เมตร มีธารน้ำไหลผ่านตลอดทั้งถ้ำ ระดับน้ำลึก50–100เซนติเมตร การเที่ยวชมภายในถ้ำต้องเดินลุยน้ำตลอด และต้องมีคนนำทาง

ดอยผาดำ
เป็นภูเขาที่มีหน้าผาขนาดใหญ่เป็นปฎิมากรรมของธรรมชาติ ที่มีความสวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ1,096เมตร ดอยผาดำตั้งตระหง่านอยู่เหนือหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูซางที่1 (ผาแดง) อยู่ในพื้นที่ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากอุทยานฯ47กิโลเมตร การเดินเที่ยวชมต้องใช้เวลา3-4ชั่วโมง และควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง

ถ้ำหลวง
เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ลักษณะถ้ำกว้างแต่ไม่ลึก ประมาณ200 เมตร เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่2 (ห้วยสา) ห่างจากหน่วยพิทักษ์ฯ500 เมตร และห่างจากที่ทำการอุทยาน32 กิโลเมตร การเดินเข้าชมถ้ำต้องปีนเขาบ้างเล็กน้อย และควรมีเจ้าหน้าที่นำทางถ้ำน้ำดัง เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีน้ำตก ภายในมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก เคยเป็นที่ซ่อนของ ผกค.

 วนอุทยานภูลังกา

วนอุทยานภูลังกา

       สัมผัสทะเลหมอก ดอกไม้ป่า พิชิตภูลังกา ภูนม ชมอาทิตย์ขึ้นลง เข้าดงก่อโบราณ กังวาลเสียงนก น้ำตกสวยใส ประทับใจดอกโคลงเคลงดอยภูลังกา ภาษาชาวเขาเผ่าเมี่ยน เรียกว่า “ฟินจาเบาะ” หมายความว่า “ภูเทวดา” เป็นยอดดอยที่สวยงามมีความสูง1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สูงที่สุดในเทือกเขาสันปันน้ำ ไทย-ลาว ด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ7,800 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลผ่าช้าง อ.ปง จ.พะเยา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบเขา เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากชมทะเลหมอกดวงอาทิตย์ขึ้นลง และดอกไม้ป่าสวยงาม โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีถ้ำหลบภัยของ ผกค.ในอดีต มีน้ำตกสวยงาม
นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้หายากเช่น ต้นชมพูภูพาน เนียมแดง เอื้องสีตาล เทียนธารา สัตฤาษี เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่ามีจำนวนมากกว่า
100 ชนิด เช่น เสือโคร่ง หมี กวาง เก้ง หมูป่า งูจงอาง ผีเสื้อ เป็นต้น สำหรับนกป่าประจำถิ่นและนกอพยพ ซึ่งสวยงามมีมากกว่า200 ชนิด เช่น นกพญาไฟ นกเป้า เป็นต้น จึงเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ลักษณะภูมิอากาศในช่วงฤดูหนาวอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด7 องศา สูงสุดเฉลี่ย 35 องศามีฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน

ข้อจำกัดของวนอุทยานภูลังกา
1. เส้นทางรถยนต์ในเขตวนอุทยานเป็นทางดินแดงขึ้นเขาสูงแคบชั้นโค้งคดเคี้ยว ขึ้นได้เฉพาะกับรถยนต์ขับเคลื่อน4 ล้อเท่านั้น
2. รถยนต์ธรรมดาสามารถขึ้นได้ถึงห้องเรียนธรรมชาติของวนอุทยานภูลังกาและสามารถเดินป่า ตามเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
3.ในเขตวนอุทยานไม่มีไฟฟ้าควรจัดเตรียมอุปกรณ์ส่องสว่างให้พร้อม
4. ในเขตวนอุทยานห้ามทิ้งขยะนักท่องเที่ยวต้องนำขยะกลับออกไปทิ้งที่บ้าน
5. อาหารและอุปกรณ์พักแรมควรเตรียมไปให้พร้อม
6.วนอุทยานภูลังกาเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ถึง18.00 น.

 อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง

อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง 

      อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่9 ระหว่างปี พ.ศ.1801 – 1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า90) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด จึงได้พระนามว่างำเมือง

 วัดพระเจ้านั่งดิน

วัดพระเจ้านั่งดิน

        อยู่ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวง1148 ห่างจากตัวอำเภอ4 กิโลเมตร เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน

 วัดแสนเมืองมา

วัดแสนเมืองมา

        สร้างในสมัยรัชกาลที่1 ราว พ.ศ.2351 สร้างโดยชาวเมืองมาง มณฑลยูนานที่ถูกเจ้าเมืองน่านกวาดต้อนมาจนกระทั่งมาตั่งถิ่นฐานที่อำเภอเชียงคำนี้ จุดเด่นของวัดอยู่ที่หลังคาวิหารที่ซ้อนลดกันหลายชั้น ไม่นิยมทำหลังคาสูง ตรงหลังคาประดับด้วยช่อฟ้า ซึ่งทำเป็นรูปหงษ์แกะสลัก หรือตัวนาคคาบแก้ว นอกนั้นมีการประดับประดาด้วยไม้แกะสลัก ตกแต่งด้วยสีต่างๆดูงดงามตา ส่วนบานประตูทำด้วยไม่แกะสลักทุกบาน ประตูเข้าสู่พระวิหารจะทำเป็นสามมุข มุขแต่ละทิศทำเป็นสัตว์สามอย่างที่เชื่อว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองศาสนา ได้แก่ พญานาค เสือ และ สิงห์ และภายในฝาผนังมีจิตรกรรมฝาผนังที่วาดเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวไทลื้อ และพระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน

การเดินทาง

รถยนต์
สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา
รวมระยะทางประมาณ782 กม. ตอนกลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่-ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง966 กม.
ใช้เวลาเดินทางประมาณ9 ชั่วโมง

รถโดยสารประจำทาง

ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือถนนกำแพงเพชร2มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศ วันละหลายเที่ยว
สอบถามได้ที่ โทร. 537-8055, 936-2852 บริษัทขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. (054) 431363
สยามเฟิร์สทัวร์ โทร.954-3601, (054) 431865 สมบัติทัวร์ โทร.936-2495-9 , (054) 246503

จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับพะเยาทุกวันตั้งแต่06.00-17.30 น. รถออกทุกๆครึ่งชั่วโมง
สอบถามได้ที่บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด โทร.(053) 246503

รถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปลงที่ลำปาง หรือเชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปพะเยา สอบถามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.223-7010, 223-7020

เทศกาลและงานประเพณี

งานพ่อขุนเม็งราย

งานพ่อขุนเม็งราย

        จัดขั้นวันที่26 มกราคม -1 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นงานประจำปีของจังหวัด มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชนและงานรื่นเริงอื่น ๆ

 

งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองพะเยา

งานลิ้นจี่

       จัดขึ้น ณ กว๊านพะเยา กิจกรรมมีขบวนแห่ลิ้นจี่ ประกวดผลิตผลการเกษตร โทร . ๐ ๕๔๔๑ ๑๒๑๘