จังหวัดพิจิตร

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด, ภาคเหนือ / จังหวัดพิจิตร

พิจิตร เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน มีความหมายว่า “เมืองงาม” ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านและแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า “เมืองสระหลวง” ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองโอฆบุรี” ซึ่งแปลว่า “เมืองในท้องน้ำ” ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ นอกจากนี้ เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์ หนึ่งคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)

จังหวัดพิจิตร

จังหวัดพิจิตร

คำขวัญประจำจังหวัด:  ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

ที่ตั้ง  จังหวัดพิจิตรอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 5,020 ตารางกิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในจังหวัดพิจิตร

 วัดท่าหลวง

วัดท่าหลวง

           เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ใกล้ศาลากลางจังหวัด วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง1.40 เมตร สูง1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่จังหวัดพิจิตร

รูปปั้นพญาชาละวัน

รูปปั้นพญาชาละวัน

           รูปปั้นพญาชาละวัน เป็นรูปปั้นจระเข้ที่มีความยาวถึง38 เมตร กว้าง6 เมตร ปากยาว4.5 เมตร ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของบึงสีไฟ มีลักษณะ เด่นและงดงามมาก ภายในตัวจระเข้นี้ยังมีห้องประชุมขนาด25-30 ที่นั่งอีกด้วย สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ สร้างขึ้นในบริเวณด้านใน ของบึงสีไฟ ลักษณะอาคารเป็นรูป ดาวเก้าแฉกยื่นลงในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธ์ปลาแปลก ๆ มากกว่า20 ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นบริเวณส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องสำหรับชมปลา ใน บึงสีไฟซึ่งมีปลาชนิดต่าง ๆ อยู่เป็น จำนวนมากคอยกินอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้กินอย่างเพลิดเพลิน ในวันธรรมดาจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเวลา10.00 น.-18.00 น. วันหยุดราชการ เวลา10.00 น.-19.00 น. ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจังหวัดพิจิตร ตั้งอยู่บริเวณบึงสีไฟ ศูนย์นี้ได้จัดจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่าง ๆที่ชาวบ้านในจังหวัดพิจิตรผลิตขึ้นเอง เช่น เครื่องจักสานจากผักตบชวา ผ้าทอบ้านป่าแดง มะขามแก้วสี่รส ฯลฯ ศูนย์นี้จะเปิดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยจะ เปิดตั้งแต่เวลา10.00 น.-17.00 น.

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พิจิตร

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พิจิตร 

           สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ80 พรรษา สร้างโดยจังหวัดพิจิตรร่วมกับกรมการศึกษานอกโรงเรียนเมื่อ พ.ศ.2526 มีเนื้อที่170 ไร่ เป็นพื้นดิน120 ไร่พื้นน้ำ50 ไร่ ริมบึงสีไฟมีสะพานทอดลงน้ำสู่ศาลาใหญ่จัดไว้เป็นที่ พักผ่อนหย่อนใจ ริมบึงจัดแต่งเป็นสวน มีทั้งไม้ใหญ่และไม้ดอก รวมทั้งทางเดินรอบๆบึงด้วย นอกจากนี้ยังมีเวทีเนินดินสำหรับใช้จัดรายการบันเทิงในวันหยุดสุดสัปดาห์

 อุทยานเมืองเก่าพิจิตร

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร 

           อุทยานเมืองเก่าพิจิตร อยู่บนเส้นทางพิจิตร-วังจิก ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๗ กิโลเมตร มีลักษณะ เป็นเมืองโบราณ มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่เศษ ประกอบด้วย กำแพงเมือง คูเมือง ฯลฯ เชื่อว่า เป็นเมืองพิจิตรเก่า ภายในอุทยาน จัดเป็นสวนรุกชาติ ที่ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวเมือง มีถ้ำชาละวัน ศาลเจ้าแม่ศรีมาลา และรูปปั้น ตัวละครสำคัญๆ ในวรรณคดี เรื่องไกรทอง มีซากพระปรางค์ วัดมหาธาตุ อันเป็นสถานที่ ขุดพบศิลปะ เครื่องปั้นดินเผา และพระพุทธรูปสมัยต่างๆ 

 

วัดหัวดง

วัดหัวดง

           ตั้งอยู่หมู่ 7 ต.หัวดง ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร-ตะพานหิน ระยะทางประมาณ 10 กม. สร้างเมื่อ พ.ศ.2413 ผูกพัทธสีมาครั้งแรก พ.ศ.2468 มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 ได้พบพระรูปเหมือนหลวงพ่อเงินขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว เนื้อนวโลหะ(ทองเหลือง)แทรกขึ้นมาที่ต้นอินทนินทร์ซึ่งมีอายุประมาณ 20 ปีเศษ ชาวจังหวัดพิจิตรถือกันว่าหลวงพ่อเงินเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักและเคารพบูชา

  พระพุทธเกตุมงคล หรือ หลวงพ่อโตตะพานหิน วัดเทวปราสาท 

พระพุทธเกตุมงคล

            พระพุทธเกตุมงคล หรือหลวงพ่อโตตะพานหิน เป็นพระพุทธรูป หลวงพ่อโต ขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ณ วัดเทวประสาท ตำบลห้อยเกตุ อำเภอ ตะพานหิน สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มีขนาดใหญ่ที่สุด ในจังหวัดพิจิตร หน้าตักกว้าง ๒๐ เมตร สูง ๒๔ เมตร ได้รับพระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวว่า “พระพุทธเกตุมงคล” 

 วัดเขารูปช้าง

วัดเขารูปช้าง

             ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร-ตะพานหิน ระยะทางประมาณ15 กม. ในตำบลดงป่าคำ โบราณสถานของวัดเขารูปช้างที่มองเห็นเด่นเป็นสง่าคือ เจดีย์แบบลังกาซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกันมองดูคล้ายช้าง แต่เดิมเป็นเจดีย์เก่ามาก่อน และทางวัดได้ทำการปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อประมาณ20 ปีมานี้ โดยได้ประดับกระเบื้องเคลือบสีทองทั้งองค์ มีรั้วรอบองค์เจดีย์ สำหรับลานกว้างบนยอดเขา ทางวัดได้สร้างวิหารใหญ่ขึ้นหลังหนึ่งและมีเจดีย์เก่าอยู่องค์หนึ่งเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา มีตัวระฆังเป็นกลีบมะเฟืองแต่ยอดเจดีย์หักแล้ว นอกจากนั้นยังมีมณฑปแบบจตุรมุขหลังเก่าอยู่ใกล้กับโบสถ์หลังใหม่ ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทสำริด ที่ฝาผนังมีภาพเขียนเรื่องไตรภูมิพระร่วงด้วย

บึงสีไฟ

บึงสีไฟ

           เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศซึ่งเคยมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลถึง12,000 ไร่ ลักษณะของบึงกว้างกลม คล้ายกะทะ แต่รีไปทางทิศตะวันตกเล็กน้อย ในปี2521 กรมประมงได้จัด ตั้งสถานีประมงน้ำจืดเพื่อเพาะพันธุ์ปลา และจังหวัดพิจิตรได้สร้างศาลาบึงสีไฟให้ประชาชนได้พัก ผ่อนหย่อนใจ บึงสีไฟนี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร 

การเดินทาง

รถยนต์
1.จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข32 ที่อยุธยา ถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์ – ชุมแสง – บางมูลนาก – ตะพานหิน – พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข1118) เข้าสู่จังหวัดพิจิตรรวมระยะทางประมาณ345 กม.
2.จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข
1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางตากฟ้า – เขาทราย – สากเหล็ก (ทางหลวงหมายเลข11) และเข้าสู่จังหวัดพิจิตรที่กิ่งอำเภอสากเหล็ก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข111) รวมระยะทางประมาณ344 กม.
3.จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข
1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางสายตากฟ้า – เขาทราย (ทางหลวงหมายเลข11) แยกเข้าเส้นทาง เขาทราย – ตะพานหิน (ทางหลวงหมายเลข 113) แยกเข้าเส้นทางตะพานหิน – พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข113) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร ระยะทางประมาณ338 กม.
4.จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข
1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข32 ที่อยุธยา ถีงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์ – พิษณุโลก (ทางหลวงหมายเลข 117) ถึงอำเภอสามง่าม แยกเข้าเส้นทางสามง่าม – พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข115) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทาง360 กม.

รถโดยสารประจำทาง
รถประจำทาง (บ.ข.ส.) มีรถประจำทาง(บขส. สีส้ม) ไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ – พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถ.กำแพงเพชร ค่าโดยสารรถบขส.สีส้มราคา83 บาท ค่าโดยสารรถปรับอากาศชั้น2 ราคา116 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร.537-8055
รถประจำทางปรับอากาศ มีรถปรับอากาศชั้น
1 ของบริษัทเชิดชัยทัวร์ออกทุกวันๆละ4 เที่ยว ตั้งแต่เวลา9.00-22.10น ค่าโดยสารราคา 149 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร.936-0199

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไป-กลับ ระหว่าง กรุงเทพฯ – พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ5-6 ชั่วโมง สามารถขึ้นได้จากสถานีสามเสน บางซื่อ ดอนเมือง สนใจติดต่อหน่วยประชาสัมพันธ์การรถไฟ โทร.223-7010, 223-7020

เทศกาลและงานประเพณีจังหวัดพิจิตร

 งานแข่งเรือประเพณี

งานแข่งเรือประเพณี

            จังหวัดพิจิตรมีการแข่งเรือประเพณีมาเป็นเวลานานแล้วเพราะมีธรรมเนียมว่า วัดใดถ้าจัดงาน ปิดทองไหว้พระแล้วก็จะต้องจัดงานแข่งเรือควบคู่กันไปด้วย มักจัดกันในฤดูน้ำหลาก ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือนกันยายนของทุกปี ในงานจะมีการแข่งเรือประเพณีและการประกวดขบวนแห่เรือต่างๆ ในแม่น้ำน่าน หน้าวัด ท่าหลวง มีการประกวดสาวงามและการประดับประดาริ้วขบวนต่างๆ สวยงามน่าชมมาก

 งานประเพณีกำฟ้า

งานประเพณีกำฟ้า

            เป็นประเพณีสำคัญของชาวบ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม ซึ่งเป็นชาวไทยพวน ซึ่งถือปฏิบัติต่อกันมา เป็นเวลาช้านาน จัดตรงกับวันขึ้น2 ค่ำและ3 ค่ำ เดือน3 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์) เพื่อแสดง ความเคารพบูชาเทวดาและพระมหากษัตริย์ เมื่อถึงวันกำฟ้าชาวไทยพรวนจะกลับมายังบ้านของตน เพื่อร่วมทำบุญกับญาติพี่น้อง พบปะสังสรรค์และเล่นกีฬาพื้นบ้าน