จังหวัดยโสธร

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด, ภาคอีสาน / จังหวัดยโสธร

จังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 9 อำเภอ 78 ตำบล และ 835 หมู่บ้าน แต่เดิมจังหวัดยโสธรเป็นอำเภอยโสธร อำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะเป็นจังหวัดยโสธรตามประกาศคณะปฏิวัติ นับเป็นจังหวัดที่ 71 ของประเทศไทย

จังหวัดยโสธร

20091019030905

คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 578.20 ตารางกิโลเมตร หรือ 361,378.5 ไร่  ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทาง 531 กิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในยโสธร

พระธาตุยโสธร

พระธาตุยโสธร

หรือพระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ สร้างราว พ.ศ.2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ.2313-2319  ลักษณะพระธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อย

 พระธาตุก่องข้าวน้อย

พระธาตุก่องข้าวน้อย
เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบ บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ

 วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ

              ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือ พระพุทธบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธร ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธรคนแรก

 สวนสาธารณะพญาแถน

สวนสาธารณะพญาแถน
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ภายในสวนพญาแถนมีลำน้ำเล็กๆ คดเคี้ยวล้อมรอบบริเวณโดยรอบประกอบด้วยสวนไม้ดอก ไม้ประดับ สังคีตศาลา สนามเด็กเล่น และสวนสุขภาพ เทศบาลกำหนดให้สวนพญาแถนเป็นสถานที่จัดงานบั้งไฟประจำปี

 หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์

หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์

ตั้งอยู่ที่วัดสระไตรนุรักษ์ เป็นหอไตรเก่าแก่อยู่กลางสระน้ำ สร้างมาประมาณร้อยกว่าปี เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าหรือไทยใหญ่ เป็นอาคารไม้ หลังคามุมสังกะสี มีชายคายื่นทั้ง 4 ทิศ หลังคามี4 ชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไปมีประตูด้านหน้า1 ช่อง บานประตูแกะสลักลวดลายสวยงาม ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกแต่มาโบราณ

 

ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย

ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย
อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านสงเปือย ภายในบริเวณดงเมืองเตยมีซากวัด สระน้ำ กำแพงเมือง ซึ่งปัจจุบันได้ชำรุดลงไปมากแล้ว แต่ยังมีเค้าโครงเดิมพอจะสันนิษฐานได้ว่าเดิม เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัยเจนละ ทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่12 สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวะ

 

พระพุทธบาทยโสธร

พระพุทธบาทยโสธร
ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทยโสธร   ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นเนินทรายขาวสูงงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มน้ำชีนับเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าของจังหวัด บริเวณเดียวกันนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปปางนาคปรก (ศิลาแลง)1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง1 ศอก และหลักศิลาจารึกทำด้วยศิลาแลง1 หลัก สูง 1 เมตร กว้าง50 เซ็นติเมตร มีตัวหนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า โบราณวัตถุทั้ง3 อย่างนี้ พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริก ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1378

 

การเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้2 เส้นทางด้วยกัน คือ- จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา อำเภอพิมาย จนถึงอำเภอบ้านไผ่ แล้วแยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข23 ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเสลภูมิ จนถึงจังหวัดยโสธร
– จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข2 (มิตรภาพ) จนถึงจังหวัดนครราชสีมา เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข207 ที่บ้านวัด ไปจนถึงอำเภอประทาย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข202 ผ่านอำเภอพุทไธสง อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ ไปจนถึงจังหวัดยโสธร

รถประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ยโสธร ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต2) ถนนกำแพงเพชร2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ8 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th

เทศกาลและงานประเพณี

งานประเพณีบุญบั้งไฟ

งานประเพณีบุญบั้งไฟ

                มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่2 ของเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ณ สวนสาธารณะพญาแถน โดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะ และมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดลบันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง เล่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่น ๆ แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟนั้นจะนำมาตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณ
บั้งไฟที่จัดทำมีหลายชนิดคือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง น้ำหนักของดินประสิว
1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นก็ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสนก็ใช้ดินประสิว120 กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวณผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องมีไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน
ในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา

 งานประเพณีแห่มาลัยตำบลฟ้าหยาด

งานประเพณีแห่มาลัยตำบลฟ้าหยาด 

             จัดบริเวณเทศบาลตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย  ในเทศกาลวันมาฆะบูชา ของทุกปี  โดยในงานดังกล่าวชุมชนต่างๆ จะนำข้าวตอกขาวที่คัดจากข้าวเปลือกที่ดีที่สุด มาร้อยเป็นมาลัยและประดับตกแต่งอย่างงดงามสื่อความหมายแทนดอกมณทารพที่จะถวายเป็นพุทธบูชา ในช่วงกลางคืนมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อสมโภชมาลัยจากนั้นก็จะจัดขบวนแห่มาลัยข้าวตอก แห่แหนไปทอดถวายเป็นพุทธบูชา ณ วัดหอก่อง