จังหวัดบุรีรัมย์

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด, ภาคอีสาน / จังหวัดบุรีรัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย ในสมัยก่อนบุรีรัมย์เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูร และอาณาจักรทวารวดี

จังหวัดบุรีรัมย์

9999-300x213

คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

ที่ตั้ง จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย  อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร  โดยรถยนต์ประมาณ  410  กิโลเมตร  ทางรถไฟประมาณ  376  กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ10,321,885 ตารางกิโลเมตรหรือ6,451,178 ไร่ คิดเป็นร้อยละ6.11 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือร้อยละ2.01 ของประเทศใหญ่เป็นอันดับ6  ของประเทศ

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในบุรีรัมย์

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

            เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างและใช้เป็นเทวสถาน ต่อเนื่องกันมา หลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่17 จนถึงพุทธ ศตวรรษที่18 พระเจ้าชัยวรมันที่7 แห่งอาณาจักรขอมหันมานับถือศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้ จึงคงจะได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายานในช่วงนั้น

ตัวโบราณสถาน

ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ ที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ200 เมตร จากพื้นราบ คำว่า “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ภูเขาใหญ่” ปราสาทพนมรุ้งหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบ ด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ตั้งเรียง รายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธาน บนยอดอัน เปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพังสามชั้น ผ่านขึ้นมาสู่ พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานาง เรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้าง เป็นระยะๆ ถนนทางเดิน นี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุด เชื่อมต่อระหว่างดินแดน แห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้าน ข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้าง ด้วยศิลาแลง1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพาน นาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็น ชานพักเป็นระยะๆ รวม5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลา โล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้า ประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้า สู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมี สะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน

ปรางค์ประธาน
หรือส่วนที่สำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรง ศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่างๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤาษี เทพประจำทิศ ศิวะ นาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและ รายละเอียดอื่นๆ ช่วยให้ กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและ สะพานนาคราช สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่
17

ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ

ประวัติ
ปราสาทเมืองต่ำสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะปาปวนตอนต้น และลดความสำคัญลงไปในราวพุทธศตวรรษที่18 และถูกทิ้งร้างในที่สุด จนเมื่อราวปี พ.ศ.2490 จึงเริ่มมีการอพยพเข้ามาของชาวบ้าน มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง
ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคำว่า เมืองต่ำ นี้ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ในที่ต่ำกว่าปราสาทพนมรุ้ง โดยมวลสารวัตถุจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในที่นี้ รัชกาลที่9 ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา
ปราสาทเมืองต่ำมีปรางค์ประธานห้าองค์บนฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิโดยแต่ละองค์มีรายละเอียดดังนี้

ปรางค์ประธาน
ปรางค์ประธานปัจจุบันได้ถล่มลงมาแล้ว พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่าตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย

ปราสาทประกอบ
ปราสาทประกอบอีก 4 หลังเป็นปราสาทอิฐ ปัจจุบันได้รับการบูรณะในสภาพสมบูรณ์ และมีหน้าบันด้านหน้าอยู่ครบ โดยปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ มีหน้าบันเป็นภาพพระวรุณเทพประทับเหนือหงษ์ ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือเป็นภาพพระกฤษณะ (ร่างอวตารของพระวิษณุ) ยกภูเขาโควรรธนะ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้เป็นภาพพระอินทร์ ปางมหาราชลีลาสนะ (นั่งชันเข่า) ประทับเหนือหน้ากาล ส่วนปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ เป็นภาพพระศิวะคู่พระอุมา ประทับบนโคนนทิในปาง อุมามเหศวร

แหล่งหินตัด

แหล่งหินตัด

             ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว การเดินทางใช้เส้นทาง สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข219 ต่อด้วยทางสายประโคนชัย-บ้านกรวด ทางหลวง หมายเลข2075 เดินทางตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว การเดินทางใช้ เส้นทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข219 ต่อด้วยทางสายประโคนชัย-บ้านกรวด ทาง หลวงหมายเลข2075 เดินทางเลยบ้านกรวดไปทางละหานทราย6 กม. มีแยกซ้ายเข้าแหล่งหินตัดอีก2 กม. ทางลาดยางตลอดสาย
แหล่งหินตัดนี้ เป็นแหล่งหินทรายที่คนสมัยขอม ตัดเอาไปสร้าง ปราสาทต่างๆ ในเขตอีสานใต้ ทั่วบริเวณ มีหินทรายก้อนใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ทั่วไป บางก้อนยังมีร่องรอย สกัดหินปรากฏอยู่ นอกจากนั้น บริเวณนี้ยัง เป็นสถานปฏิบัติธรรมของวัดสวนธรรมศิลา ได้รับการดูแลและ ปรับปรุงสถานที่ให้สะอาดสวยงาม และมี ทางเดินจากแหล่งหินตัดไปยังจุดชมวิวบนยอดเขา

วนอุทยานเขากระโดง

วนอุทยานเขากระโดง

             เขากระโดงเป็นภูเขาไฟเก่าแก่ที่มองเห็นลักษณะปากปล่องได้ชัดเจน อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 6 กม.บนเส้นทางสาย บุรีรัมย์-ประโคนชัย (ทางหลวงหมายเลข 219) วนอุทยานเหล่านี้มีพันธุ์ไม้พื้นเมือง น่าศึกษา หลายชนิด สามารถขึ้นได้2 ทาง คือ ทางรถยนต์ ซึ่งตลอดเส้นทางจะพบพระพุทธรูปปางต่างๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ ส่วนทางขึ้นอีกทางหนึ่งเป็นบันได มีความสูงประมาณ265 เมตร ก่อนถึงยอดเขา จะเห็นสระน้ำมณีวรรณ อยู่ทางด้านขวามือ สระน้ำนี้เชื่อว่าเดิมเป็นปากปล่องภูเขาไฟ บนยอดเขาเป็นลานกว้าง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ ชื่อว่า “พระสุภัทรบพิตร” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองบุรีรัมย์ และมีปรางค์กู่โบราณ ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอยู่ด้วย

ปราสาทหนองหงส์

ปราสาทหนองหงส์

             ตั้งอยู่ที่บ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง การเดินทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้ทาง หลวงสาย219 ถึงอำเภอประโคนชัย จากสี่แยกตรงไปตามทางหลวงสาย2075 จนถึงนิคมบ้านกรวด เลี้ยวขวาเข้าทางสาย 2121จนถึงอำเภอละหานทรายเลี้ยวซ้ายเข้าทางสาย3068ผ่านสี่แยกปะคำ ตรงต่อไปถึงบ้านโนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าเขื่อนลำนางรอง ตัวปราสาทอยู่ทางด้านซ้ายของแนวสันเขื่อน และห่างจากเขื่อนประมาณ300 เมตร

             ตัวปราสาทเป็นปรางค์3 องค์ ก่อด้วยอิฐ ตั้งบนฐานก่อด้วยศิลาแลงต่อเนื่องเป็นฐานเดียวกัน หันหน้าไป ทางทิศตะวันออกมีประตูเข้า-ออกทางด้านหน้าอีก3 ด้าน เป็นประตูหลอก ปรางค์ทั้งสามมีผังเป็นรูปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง องค์กลางขนาดใหญ่กว่าสององค์ที่ขนาบข้าง แต่เดิมเคยมีทับหลังประดับ จำหลักลายอย่างสวยงาม คือ องค์ทิศเหนือสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหนือหน้ากาล ซึ่งมือยึด ท่อนพวงมาลัยแวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา อีก2 องค์ที่เหลือ คือ องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้ก็มี ลักษณะคล้ายกันต่างกันที่ภาพตรงกลาง คือ ทับหลังปรางค์องค์กลางสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ องค์ทิศใต้เป็นรูปพระอิศวรทรงโค ด้านหน้าของปรางค์ องค์กลาง มีทางเดินยื่นยาวออกไป มีบันไดทาง ด้านหน้าและด้านข้างทั้งสอง

            นอกจากนี้ยังมีวิหารหรือบรรณาลัยอีก1 หลัง ก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าเข้าหา ปรางค์องค์ทิศใต้ อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีซุ้มประตูด้านหน้าและด้านหลัง มีคูน้ำรูป ตัวยู (U) ล้อมรอบอีกทีหนึ่ง การกำหนดอายุ สมัยของปราสาทนั้น จากลักษณะการก่อสร้าง และศิลปกรรม ที่พบซึ่งตรงกับ ศิลปะเขมรแบบ บาปวน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่16

วัดเขาอังคาร

วัดเขาอังคาร

            เขาอังคารเป็นภูเขาไฟดับสนิทแล้ว ห่างจากพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยลงมาจากพนมรุ้งถึงบ้านตาเป็กแล้ว เลี้ยวซ้ายมาตามทางที่จะไปละหานทราย ประมาณ13 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางลูกรังอีกประมาณ7 กิโลเมตร พบใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีหลายชิ้น ปัจจุบันมีวัดเขาอังคารอยู่บนยอดเขา เป็นวัดสวย งามสร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบ และภายในโบสถ์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง ราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย

ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์

ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านนาโพธิ์

            ตั้งอยู่ในเขตตัวอำเภอนาโพธิ์ การเดินทางใช้เส้นทางสายบุรีรัมย์ -พุทไธสง ทางหลวงหมายเลข2074 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข202 บริเวณกม.ที่21 มีทางแยกเข้าตัวอำเภอนาโพธิ์ เป็นระยะทาง10 กม. ในบริเวณศูนย์หัตถกรรมแห่งนี้ มีโรงทอผ้าไหม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในด้านการพัฒนาฝีมือให้ได้มาตรฐานทั้งรูปแบบ วิธีผลิต และลวดลาย รวมทั้งการให้สี ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สีจาก ธรรมชาติ นอกจากนี้ ด้านหน้าศูนย์ยังมีร้านจำหน่ายผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ คุณภาพดีอีกด้วย

พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์

พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์

            พระเจ้าใหญ่เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิขนาดหน้าตัก1.6 เมตร สูง2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มี ลักษณะของศิลปะพื้นเมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดหงษ์ หรือวัดศีรษะแรด เป็นที่เคารพ สักการะของประชาชน จำนวนมาก นอกจากนี้ ยังพบพระพิมพ์รูปใบขนุน “รวมปาง” สำริด และพระพุทธรูปแกะสลักจากนอแรดที่ ใต้ฐาน พระเจ้าใหญ่ด้วย ในวันขึ้น14 ค่ำ หรือวันแรม1 ค่ำ เดือน3 ของทุกปี จะจัดงานเฉลิมฉลองขึ้น โดยมีชาวอำเภอพุทไธสง และจังหวัดต่างๆ ไปนมัสการ กราบไหว้เป็นจำนวนมาก การเดินทางไปวัด จาก ตลาดพุทไธสง ถึงทางแยกเลี้ยวขวา ใช้เส้นทางที่จะไปพยัคฆภูมิพิสัย ระยะทางประมาณ1 กม. และ มีทางแยกเข้าวัดอีก2 กม.

การเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอ หนองกี่ อำเภอนางรองแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข218 รวมระยะทาง410 กม. หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแถลง-ลำปลาย มาศ รวมระยะทาง384 กม.

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด เดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ ทุกวัน มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ รายละเอียดติดต่อได้ที่ โทร.936-1880, 936-0657,936-0667,936-2852

รถไฟ
มีรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-สุรินทร์ และนครราชสีมา-อุบลราชธานี ทั้งที่เป็น ขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และรถดีเซลราง ผ่านสถานีบุรีรัมย์ทุกขบวน รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ ที่223-7010, 223-7020

เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินไปจังหวัดบุรีรัมย์โดยตรงโดยมีเที่ยวบินไปลงที่สนามบินอำเภอสตึก จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางไปอำเภอเมืองบุรีรัมย์ได้ ระยะทางจาก อำเภอสตึกถึง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ประมาณ40 กม. ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร.280-0060, 628-2000
นอกจากนั้น ยังมีรถโดยสารจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปยังจังหวัดใกล้เคียง และไปอำเภอต่างๆ ทุกอำเภอ สำหรับ การเดินทางภายในตัวเมืองนั้น มีรถสามล้อรับจ้างอยู่ทั่วไป

เทศกาลและงานประเพณี

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง

ขึ้นเขาพนมรุ้ง

           เป็นงานประจำปีของประชาชนในเขตอำเภอนางรองและอำเภอประโคนชัย จัดขึ้นใน เทศกาลสงกรานต์ กำหนดเป็นวันขึ้นเขาพนมรุ้ง จัดในวันเพ็ญ ขึ้น15 ค่ำ เดือน5 ของทุกปี

งานมหกรรมว่าวอีสาน และงานขึ้นปล่องภูเขาไฟกระโดง

งานมหกรรมว่าวอีสาน

          หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวประมาณช่วงต้นเดือนธันวาคม ประมาณวันที่1-2 ธันวาคมของทุกปี จะมีการจัด งานมหกรรมว่าวอีสาน ในงานจะมีการประกวดขบวนแห่12 นักษัตร และการประกวดธิดาฟ้าอีสานจาก สาวงามทั่วภาคอีสาน

งานนมัสการพระเจ้าใหญ่ที่วัดหงษ์

งานนมัสการพระเจ้าใหญ่ที่วัดหงษ์

            บ้านศีรษะแรด ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จัดงานในวันเพ็ญเดือน3 เป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะพระ เจ้าใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบุรีรัมย์และชาวอีสานทั่วไปเลื่อมใสศรัทธามาก

โรงแรมที่พักที่น่าสนใจในบุรีรัมย์

Phanom Rung Puri Hotel