Jetlag อาการเจ็ตแล็ค เคล็ดลับ เทคนิค

วิธีป้องกันการเกิดอาการเจ็ตแล็ก (Jetlag) เพื่อนักเดินทาง

Home / ทิปท่องเที่ยว / วิธีป้องกันการเกิดอาการเจ็ตแล็ก (Jetlag) เพื่อนักเดินทาง

จากผลการสำรวจครั้งใหม่ล่าสุดของ Skyscanner ได้เปิดเผย วิธีป้องกันการเกิดอาการเจ็ตแล็ก (Jetlag) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาผู้โดยสารเครื่องบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไว้อย่างน่าสนใจสำหรับนักเดินทางทั้งหลาย โดยเฉพาะสาวๆ คงดูไม่งามแน่หากลงจากเครื่องบินแล้ว หนุ่มที่ตั้งใจมารอรับ ณ สนามบินเห็นหน้าตาเธอแสนจะโทรมหรืออิดโรย..จริงไหมคะ?!?

วิธีป้องกันการเกิดอาการเจ็ตแล็ก

การสำรวจครั้งนี้ได้สอบถามผู้โดยสารเครื่องบินจำนวน 6,000 คน ซึ่งมีจำนวน 4 ใน 5 ที่เคยเดินทางเที่ยวบินระยะไกลในช่วงปีที่ผ่านมา และโดยเฉลี่ยแล้วพวกเขาใช้เวลา 2.3 วันในการฟื้นจากอาการเจ็ตแล็ก ผลสำรวจยังพบว่าเทคนิคการป้องกันอาการเจ็ตแล็กที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด คือ

การรับประทานอาหาร

ควรต้องเลือกบริโภคอาหารสดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในมื้อเบาๆ โดยมีผู้ถูกสำรวจร้อยละ 66 ได้ทดลองใช้วิธีนี้ และมันก็ได้ผลจริงๆ

ยืดเส้นยืดสาย

ตามมาติดๆ ด้วยร้อยละ 65 ของผู้ถูกสำรวจที่อาศัยการยืดเส้นยืดสายและออกกำลังกายเบาๆ ระหว่างที่อยู่บนเครื่องบิน อีกร้อยละ 58 จะตั้งเวลานาฬิกาให้ตรงกับเวลาของจุดหมายที่พวกเขาจะไป ร้อยละ 51 บอกว่าพวกเขาทำตัวให้ตื่นตลอดเวลาที่อยู่บนเครื่องบิน และอีกร้อยละ 45 จะออกกำลังกายและสูดอากาศบริสุทธิ์ก่อนที่จะขึ้นเครื่อง

รับประทานยา

ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ ร้อยละ 20 ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขาได้ทดลองรับประทานยาไวอะกร้า (Viagra) เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากเจ็ตแล็ก ทั้งนี้ เนื่องจากมีรายงานหลายชิ้นระบุว่าการรับประทานยาไวอะกร้าสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็ตแล็กได้ มีร้อยละ 32 รับประทานยานอนหลับ อีกร้อยละ 31.7 ใช้สมุนไพรในการรักษา ขณะที่อีกร้อยละ 27 รับประทานยาป้องกันเจ็ตแล็ก และอีกร้อยละ 22 รับประทานเมลาโทนิน (Melatonin)

ดื่มแอลกอฮอล์

ถึงแม้ว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่จัดให้การออกกำลังกายเบาๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม แต่มีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ได้ลองทำวิธีนี้ แล้วพบว่าได้ผลในการบรรเทาอาการต่างๆ

จากการเดินทางระยะไกลผลการสำรวจยังได้เปิดเผยข้อมูลที่ชวนฉงนของการดื่มแอลกอฮอล์ที่ความสูง 30,000 ฟุต ซึ่งปรากฏว่าผู้โดยสารกว่าร้อยละ 33 ระบุว่าพวกเขาดื่มแอลกอฮอล์เพื่อที่จะช่วยแก้อาการเจ็ตแล็ก แต่มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น (ร้อยละ 13%) ที่บอกว่าวิธีนี้ได้ผล อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 41 ของผู้ถูกสำรวจบอกว่าพวกเขาหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์บนเครื่องบิน โดยมีเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 19) ยอมรับว่าพวกเขาสามารถจัดการกับอาการเจ็ตแล็กได้

clock

โทนี่ เกราร์แดง (Tony Gherardin) ที่ปรึกษาทางการแพทย์แห่งชาติ ประจำ Travel Doctor – TMC (www.traveldoctor.com.au) ได้แนะนำเทคนิคในการรับมืออาการเจ็ตแล็กที่อยู่หมัดว่า “ในทางทฤษฎีแล้ว การที่จะป้องกันอาการเจ็ตแล็ก เราควรจะเริ่มต้นปฏิบัติตัวให้เหมือนกับที่เราจะปฏิบัติเมื่ออยู่ที่จุดหมายปลายทาง ก่อนที่จะออกเดินทางจากบ้าน นั่นคือรับประทานอาหารและนอนหลับหรือพักผ่อนในเวลาเดียวกันกับที่เราจะทำเมื่อถึงที่หมายปลายทางแล้ว แน่นอนว่าสิ่งที่กล่าวมานั้นเราทำไม่ได้ที่บ้าน หรือแม้แต่ตอนบินอยู่ก็ตาม”

“วิธีรับมือที่จะได้ผลดีอย่างสมเหตุสมผลก็คือรับประทานอาหารแต่น้อย และอย่าให้ขาดน้ำ หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักและแอลกอฮอล์” โทนี่กล่าวเพิ่มเติม

โทนี่ยังแนะนำอีกว่า การรับประทานยานอนหลับหรือเมลาโทนินในระดับที่ปลอดภัยทันทีที่ถึงจุดหมายปลายทางจะช่วยให้ร่างกายของคุณปรับเข้ากับโซนเวลาได้ดี.

jetlag1

วิธีป้องกันการเกิดอาการเจ็ตแล็ก (Jetlag)

timeclocks-thelogbook

รูปภาพโดย risurockets.blogspot.com, docakilah.wordpress.com, sixstepstosleep

ที่มา Skyscanner.co.th