เดินห่างไกลอย่างไร? ไม่ให้อาการเมารถ-เมาเรือ

Home / ทิปท่องเที่ยว / เดินห่างไกลอย่างไร? ไม่ให้อาการเมารถ-เมาเรือ

หลายครั้งที่เรามักต้องเดินทางไปต่างจังหวัด หรือการไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดด้วยการนั่งรถหรือนั่งเรือนานๆ แน่นอนว่าอาการที่หลายๆ คนมักต้องเจอก็คือ อาการเมารถ-เมาเรือ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากเกิดขึ้นกับใครแล้วคงไม่ใช่ เรื่องสนุกอย่างแน่นอน วันนี้เรามีวิธีป้องกันและแก้ไขอาการเมารถ-เมาเรือมาฝากคนที่กำลังวางแผนไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดไกลๆ หรือต้องเดินทางด้วยการนั่งรถหรือเรือนานๆ อยากรู้ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย

เดินห่างไกลอย่างไร? ไม่ให้อาการเมารถ-เมาเรือ

travel sick2

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เปิดเผยเทคนิคการป้องกันและแก้ไขการเมารถ เมาเรือว่า อาการเมารถ เมาเรือ เกิดจากขณะเคลื่อนไหว สมองเกิดความสับสนแบบประสาทหลอน เนื่องจากข้อมูลที่รายงานเข้ามาจากหูและตา ไม่สอดคล้องกับข้อมูลจากอวัยวะคุมการทรงตัวของร่างกาย ที่อยู่ในหูชั้นใน ถ้าหยุดการเคลื่อนไหว อาการเมาก็จะค่อย ๆ หายไป คนที่เดินทางบ่อย ๆ มักจะปรับตัวเองให้คุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และเมาน้อยลง หรือไม่เมาเลย

 

เทคนิคอื่นๆที่จะช่วยบรรเทาการเมารถ ได้แก่

1. นั่งแถวหน้าๆ เพราะการนั่งหน้าและมองไปข้างหน้า จะทำให้ทั้งตาและหูของเรารับรู้การเคลื่อนไหวของพาหนะนั้นไปพร้อม ๆ กับอวัยวะควบคุมการทรงตัวที่อยู่ในหูชั้นใน จึงมีโอกาสเมาน้อยกว่าการนั่งในตำแหน่งอื่นๆ

2. จินตนาการว่าตัวเองเป็นคนขับเสียเอง เพราะคนขับจะไม่เมา เวลาจะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาก็คาดการณ์ล่วงหน้า และรู้ตัวขณะที่ร่างกายต้องหมุนเลี้ยวตามพาหนะนั้นๆ สมองก็จะเกาะติดสถานการณ์ได้ชัดเจนขึ้นไม่สับสน

3. มองไปไกลๆ อย่ามองใกล้ๆ เพื่อให้สมองมั่นใจว่า อะไรอยุ่ที่ไหน ขณะที่พาหนะเคลื่อนไหวไปมาต้องหามองอะไรที่ไกล ๆ และนิ่ง ๆ และรู้ตัวว่าตัวเรากำลังเคลื่อนไหวไปขณะที่จุดนั้น เพื่อให้สมองทราบสถานะและตำแหน่งของตัวเองได้ถูกต้อง

4. อย่าอ่านหนังสือหรือตั้งใจมองอะไรที่เป็นของเล็ก ๆ หรือเขย่า ๆ หรือเคลื่อนไหวบนพาหนะ เพราะการเคลื่อนไหวของตัวเรากับวัสดุในพาหนะจะไม่ไปด้วยกัน ทำให้สมองสับสนถึงตำแหน่งที่แท้จริงของตัวเอง

5. ตั้งศีรษะให้ตรง ให้ศีรษะอยู่นิ่ง ๆ เวลาเลี้ยวก็ตั้งใจรู้ตัวว่ากำลังหันไปตามการเลี้ยว อย่าให้ศีรษะไปพิงกับส่วนของพาหนะที่เขย่า ๆ ไปตามแรงกระแทก ถ้าจะพิงพนักก็ให้ใช้หลังพิงโดยให้ศีรษะตั้งตรงขึ้น อย่าฟุบหน้าลงหรือเอนศีรษะไปพิงอะไรข้าง ๆ จะทำให้ตัวเองอยู่ในสภาพถูกจับแกว่งไกว ขณะที่เลี้ยวไปมา

6. อย่าสูบบุหรี่ หรือนั่งใกล้ๆคนสูบบุหรี่เด็ดขาด

7. เวลาเดินทางอย่ารับประทานมากจนเกินไป อย่ารับประทานอาหารให้อิ่มจนเต็มท้อง เพราะถ้ามีของเต็มกระเพาะ ก็มีแนวโน้มที่จะอาเจียนออกมาได้ง่ายกว่าปกติ แต่ก็ไม่ควรอดอาหารเช่นกัน

8. ไม่ควรรับประทานของที่มัน หรือเลี่ยน เพราะว่าจะย่อยยาก ค้างอยู่ในกระเพาะนาน จะทำให้อาเจียนได้ง่าย

9. ไม่รับประทานอาหารที่มีรสจัดหรือมีกลิ่นแรง ซึ่งจะกระตุ้นให้ตัวเองหรือคนข้าง ๆ คลื่นไส้อาเจียน

10. งดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะลำพังแอลกอฮอล์ไม่ต้องขึ้นรถก็เมาอยู่แล้ว

11. ใช้ปลาสเตอร์ยาหรือปลาสเตอร์ปิดแผล 2 อัน ปิดเป็นรูปกากบาทที่บริเวณสะดือจะช่วยให้เมาลดลง

12. ถ้านั่งเรือให้นั่งกลางเรือเพราะจะเป็นจุดที่มีการส่ายไปมาน้อยที่สุด

13. อย่าวิตกกังวล เพราะยิ่งวิตกกังวลก็จะยิ่งเครียด ยิ่งเครียดก็จะทำให้เมาง่ายยิ่งขึ้น

14. และสุดท้ายวิธีที่ดีที่สุดคือ รับประทานยาแก้เมารถหรือเมาเรือก่อนออกเดินทาง ประมาณ ครึ่งชั่วโมง จะช่วยได้มาก แต่ยาจะมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน

travel sick
แต่ถ้าหากเกิดอาการเมารถเมาเรือขึ้นมาก็มีวิธีแก้ดังนี้

1. ถ้าท้องไส้ปั่นป่วนมากสำหรับบางคน การได้ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณพอเหมาะจะช่วยได้

2. เมื่อเริ่มวิงเวียน การสูดหายใจลึก ๆ รับลมเย็นๆ จากหน้าต่างรถ หรือใช้ผ้าเย็นเช็ดหน้าผากและหน้าช่วยลดอาการได้

3. ถ้าเริ่มมีอาการวิงเวียน ใช้ยาดม ยาหอม และกลิ่นพืชสมุนไพรตามที่แต่ละคนชอบ จะช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนได้รวมไปถึงการดมกลิ่นเปลือกส้มเขียวหวาน(บีบให้มันพ่นกลิ่นออกมา)และกลิ่นเปลือกพริกขี้หนู

4. หากไม่ไหวจริงๆ ให้นอนลงแล้วหลับตาเพื่อปิดการส่งสัญญาณภาพเข้าสมอง เพื่อเป็นการลดความสับสนที่สมองได้รับ ให้สมองรับสัมผัสการทรงตัว ที่อยู่ที่หูชั้นในเพียงอย่างเดียว อาการจะดีขึ้น แต่ถ้าหลับไปจริงๆได้ยิ่งดี เพราะขณะนอนหลับสมองส่วนคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย จะปิดรับสัญญาณใดๆ อาการเมารถเมาเรือจะหายไปเอง

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก บางเบิดรีสอร์ท