จังหวัดสุโขทัย

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดสุโขทัย

จังหวัดสุโขทัย เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนบน มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ)

 จังหวัดสุโขทัย

king_ram

คำขวัญประจำจังหวัด: มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

ที่ตั้งจังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครตามระยะทางหลวงแผ่นดินประมาณ 440 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 6,596.092  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,122,557  ไร่

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตใน จังหวัดสุโขทัย

 พิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย

พิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย

      ตั้งอยู่บริเวณเมืองเอกพลาซ่า ถนนบายพาส ห่างจากเมืองเก่าประมาณ12 กิโลเมตร ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องสังคโลกที่มีคุณค่ากว่า2,000 ชิ้น ที่ได้รวบรวมมาจากในประเทศ และต่างประเทศ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา08.00-17.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่50 บาท เด็ก20 บาท นักเรียนในเครื่องแบบ20 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่100 บาท เด็ก20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 5561 4333 การเดินทาง สามารถนั่งรถโดยสารประจำทาง หรือรถสามล้อจากตลาดในตัวเมืองไปพิพิธภัณฑ์ได้ทุกวัน

 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง  

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง

      ตั้งอยู่ทางด้านขวาของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นที่รวบรวม และจัดแสดงศิลปโบราณที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัย และที่ประชาชนมอบให้ บริเวณพิพิธภัณฑ์แบ่งส่วนการแสดงโบราณวัตถุไว้เป็น3 ส่วนคือ
1. อาคารลายสือไท 700 ปี  เป็นอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่  เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยสุโขทัย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องใช้ ถ้วยชาม เครื่องสังคโลก ศิลาจารึก ฯลฯ
2. อาคารพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น2 ชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะแหล่งโบราณคดีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และ ชั้นบน จัดแสดงศิลาจารึกสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสำริด เทวรูป โอ่งสังคโลก เครื่อง ศาสตราวุธ เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำแสดงระบบชลประทานสมัยสุโขทัย ฯลฯ
3. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุโบราณต่าง ๆ อาทิ พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก รูปทรงอาคารไทยแบบต่าง ๆ เตาทุเรียงจำลอง เสมาธรรมจักศิลา
พิพิธภัณฑ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา08.30-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย10 บาท ชาวต่างประเทศ30 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย30 บาท ชาวต่างประเทศ150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา30 วัน ในกรณีที่ประสงค์จะเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ รามคำแหง ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมือง จังหวัดสุโขทัย64210 โทร.0 5569 7367

 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

      ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า บริเวณที่เรียกว่า “แก่งหลวง” ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัยลงมาทางอำเภอสวรรคโลก11 กิโลเมตร หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ550 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตของตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย ส่วนตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ45.14 ตารางกิโลเมตร เดิมชื่อว่า ” เมืองเชลียง” แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ศรีสัชนาลัย” ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุทั้งหมด215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว204 แห่ง อุทยานฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย10 บาท ชาวต่างประเทศ40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย30 บาท ชาวต่างประเทศ150 บาท ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าภายในเขตอุทยานฯ เสียค่าธรรมเนียม ราคา10-50 บาท และทางอุทยานฯ มีบริการรถรางนำชมโบราณสถานทั่วบริเวณ ชาวไทย10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หากนักท่องเที่ยวที่ต้องการขอวิทยากรนำชม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย64130 โทร.0 5567 9211

 ศาลพระแม่ย่า

ศาลพระแม่ย่า

       ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถนนนิกรเกษม ริมแม่น้ำยม เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสุโขทัย ศาลนี้เป็นที่ประดิษฐานดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเทวรูปพระแม่ย่า ที่ทำด้วยศิลาสลักแบบเทวรูป พระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม พระเกตุมาลายาวประดับเครื่องทรงแบบนางพญา มีความสูง1 เมตร ศาลพระแม่ย่าสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพื่ออุทิศให้กับพระมารดา คือนาง เสือง เหตุที่เรียกว่า “พระแม่ย่า” นี้เพราะว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเรียกมารดาว่า “พระแม่” และชาวเมืองสุโขทัยเคารพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสมอด้วยบิดา จึงเรียกพระมารดาของพระองค์ว่า “พระแม่ย่า” แต่เดิมศาลพระแม่ย่าประดิษฐานอยู่บนเขาพระแม่ย่า มีเพิงหินเป็นผาป้องกันแดด และฝน ต่อมาชาวจังหวัดสุโขทัยได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองใหม่ โดยสร้างศาลขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดดังเช่นปัจจุบัน และประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีมีการจัดงานเฉลิมฉลองที่ศาลพระแม่ย่า เรียกว่า ” งานพระแม่ย่า” การเดินทาง จากตัวเมืองในเขตเทศบาลมีรถโดยสารประจำทางผ่านไปศาลพระแม่ย่าทุกวัน

 พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

c704bc

       สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด2 เท่าพระองค์จริง สูง3 เมตร ประทับนั่งบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคำภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าสั่งสอนประชาชน ลักษณะพระพักตร์อย่างพระพุทธรูปสุโขทัยตอนต้น ซึ่งแสดงถึงความมีน้ำพระทัย เมตตากรุณา มีความยุติธรรม และมีความเด็ดขาดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ด้านข้างแท่นมีภาพจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ ตามหลักฐานที่อ้างถึงในศิลาจารึกที่ค้นพบในเมืองสุโขทัย

 อุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง จังหวัดสุโขทัย)  

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง จังหวัดสุโขทัย)

       ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอ เมืองสุโขทัย อำเภอบ้านด่าน ลานหอย และอำเภอคีรีมาศ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ213,215 ไร่ ได้รับการประกาศแต่งตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติรามคำแหง เมื่อวันที่27 ตุลาคม2523 เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์แห่งแรกของเมืองไทยที่น่าสนใจ และน่าศึกษา เพราะเป็นการอนุรักษ์ป่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัยไว้ พร้อมกับพื้นที่ทางธรรมชาติ ในสมัยก่อนเรียกป่านี้ว่า “ป่าเขาหลวง” แต่เมื่อทางการเข้ามาดำเนินการสงวนพื้นที่แห่งนี้ไว้เพื่อประกาศให้เป็น อุทยานแห่งชาตินั้นได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า ” รามคำแหง” ซึ่งเป็นมงคลนาม เพราะมาจากพระนามของกษัตริย์อัจฉริยะของชาติไทย คือ ” พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ผู้ครองกรุงสุโขทัย เพราะชื่อเดิมนั้น (เขาหลวง) ซ้ำกับ ” ป่าเขาหลวง” ซึ่งเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติเขาหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีขุนเขาที่สูงเด่นเป็นสง่า คือ ยอดเขาหลวง ภายในอุทยานฯ สามารถที่จะเห็นสัตว์ป่าได้ เช่น วัวแดง เก้ง หมี หมู่ป่า นกกระเต็น นกนางแอ่ง พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก ตะเคียน เต็ง รัง พืชสมุนไพร ว่าน น้ำตกที่สวยงาม และถ้ำต่าง ๆ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ เป็นภูเขาที่สลับซับซ้อน ทอดตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นราบคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่โดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางทุ่ง นา สภาพอากาศบนยอดเขาจะหนาวเย็นตลอดปี มีเมฆหมอกปกคลุมมากในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ12- 14 องศาเซลเซียส ช่วงที่อากาศเย็นสบายอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปอุทยานฯ เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์

 วัดศรีชุม

      ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอจนะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง11.30 เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่อง ชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงาม ของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบเพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับ ซ่อนอยู่อย่างนี้เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าพระมหา กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญ และด้านอื่น ๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็ก ๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้ และพูดออกมาดัง ๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม

การเดินทาง

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางได้2 เส้นทางคือ
1.จากทางหลวงหมาย เลข1ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข101 ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศเข้าสู่จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง440 กิโลเมตร
2. จากทางหลวงหมายเลข1 ไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่50 บริเวณแยกอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข32 ผ่านพระนครศรีอยุธยามุ่งสู่นครสวรรค์ แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข117 ตรงเข้าพิษณุโลก ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข12 เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง427 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
บริษัทขนส่งจำกัด มีรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร2 ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ7 ชั่วโมง  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 – 2537 – 8055-6, 0 – 2936 – 2852-66

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถด่วนและรถเร็วออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปลงที่สถานีสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลกทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีขบวนรถด่วน และรถเร็วออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปลงที่พิษณุโลก แล้วให้เดินทางต่อโดยรถประจำทางไปสุโขทัยอีกประมาณ59 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร.1690, 0 – 2223 – 7010, 0 – 2223 – 7020

เครื่องบิน
บริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน) มีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลกทุกวัน จากนั้นให้เดินทางต่อโดยรถประจำทางไปสุโขทัยอีกประมาณ 118 กิโลเมตร สอบถามเที่ยวบินเพิ่มเติมได้ที่ โทร.1566, 0 – 2280 – 0060, 0 – 2628 – 2000 สาขาพิษณุโลก โทร.0 – 5524 – 2971-2 และ บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีเที่ยวบินที่บินตรงไปสุโขทัยทุกวัน ๆ ละ1 เที่ยว เวลา9.20 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 – 2229 – 3456-63 สาขาสุโขทัย โทร.0 – 5564 – 7225-6

เทศกาลและงานประเพณี

 

งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

        ในวันที่17 มกราคมของทุกปี ทางจังหวัดได้จัดให้มีงานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ บริเวณอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่านเพื่อเป็นการรำลึกและเผยแพร่พระเกียรติคุณให้ขจรขจายไปทั่วในงานดังกล่าว จะมีการทำบุญตักบาตรและพิธีทางศาสนา ขบวนสักการะพ่อขุน การบวงสรวงการเล่นพลุ ตลอดจนนาฏศิลป์และมโหรสพต่างๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน

งานประเพณีงานบวชพระที่อำเภอศรีสัชนาลัย

งานประเพณีงานบวชพระที่อำเภอศรีสัชนาลัย

        หรือชาวบ้านเรียกว่า “บวชช้าง” เป็นงานประเพณีอุปสมบทของชาวบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย กำหนดการจัดงานวันที่7-8 เมษายน ของทุกปี ลักษณะเป็นการอุปสมบทหมู่ แห่ด้วยช้างเป็นขบวน ประมาณ20-30 เชือก มีการตกแต่งนาคและช้างอย่างสวยสดงดงาม มีการประกวดกันระหว่างเจ้าภาพที่นัดหมายกันมาเป็นประจำทุกปี

 งานประเพณเผาเทียนเล่นไฟ

งานประเพณเผาเทียนเล่นไฟ

        งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟเป็นงานประเพณีที่จังหวัดจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ ลักษณะของงานประกอบด้วยการลอยกระทงจุดประทีปโคมไฟ จุดตะไลไฟพะเนียง การละเล่นพื้นบ้าน ขบวนแห่ต่างๆ และระบำโบราณคดีชุดสุโขทัย แสดงออกถึงวิถีชีวิตของชาวสุโขทัยตามศิลาจารึก ในบรรยากาศและ สิ่งแวดล้อมของโบราณสถานในบริเวณ เมืองเก่าสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีการแสดงแสงเสียง เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองของอาณาจักร สุโขทัย

 งานประเพณีสรงน้ำโอยทาน

งานประเพณีสรงน้ำโอยทาน

          จัดขึ้นในวันสงกรานต์ของทุกปี ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นการสืบทอดงานประเพณี เก่าแก่ของสุโขทัย ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ว่า “คนสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน” งานประกอบไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจ อาทิ กิจกรรมทางศาสนา การประกวดผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน การแสดงนาฏศิลป์ และละครประกอบแสงเสียง การเล่นไฟ ขบวนแห่สงกรานต์ ฯลฯ

 งานวันพิชิตยอดเขาหลวง

งานวันพิชิตยอดเขาหลวง

       เป็นงานประจำปีที่จังหวัดสุโขทัยจัดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ได้เดินทางขึ้นสู่ยอดเขาหลวง ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง อ. คีรีมาศ โดยจัดประมาณ เสาร์-อาทิตย์ที่สองของเดือนธันวาคม ผู้สนใจสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย โทร.(055) 612286

 

โรงแรมที่พักที่น่าสนใจในสุโขทัย

โรงแรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท (Sukhothai Heritage Resort)

โรงแรมเลอ ชาร์ม สุโขทัย (Le Charme Sukhothai)

โรงแรมเลเจนด้า สุโขทัย (Legendha Sukhothai)

โรงแรมสุโขทัย เทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา (Sukhothai Treasure Resort & Spa)