หมู่บ้านเชลยไทย สมัยอยุธยา

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / หมู่บ้านเชลยไทย สมัยอยุธยา

 หมู่บ้านเชลยไทย สมัยอยุธยา

บุก พิสูจน์หลักฐานใหม่ ฝีมือเชลยศึกช่างไทยวาดจิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดมหาเตงดอจี เมืองสะกาย และสถูปที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอุทุมพรที่เมืองอมรปุระ จริงหรือไม่…

 

1691-attachment

 

คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร รื้อฟื้นโครงการโบราณคดีสัญจร ค้นหาหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี เพื่อพิสูจน์หลักฐานที่ค้นหามาช้านานนับร้อยปี และยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนจนบัดนี้ แต่ความหวังไม่สิ้น เกือบ 250 ปีก่อน ในปี 2310 พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตก และกวาดต้อนเชลยไทยไปยังเมืองพม่าจำนวนมาก

 แต่ผู้คนในอดีตนั้น ไปอยู่ที่ไหน ไม่เป็นที่ปรากฏ และสูญหายไปในประวัติศาสตร์ตามระยะเวลาอันยาว

 บัดนี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร กำลังค้นคว้าหลักฐานเพิ่มเติมในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท เพื่อพิสูจน์ว่า 

 1. จิตรกรรมฝาผนังที่วัดมหาเตงดอจี เมืองสะกาย ว่าเป็นฝีมือช่างไทยหรือไม่

 2. สถูปที่เมืองอมรปุระ ว่าอาจเป็นที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอุทุมพร จริงหรือไม่

 การ เดินทางไปค้นหา “หมู่บ้านเชลยไทย” นั้น ตามหลักฐานกล่าวว่า น่าจะอยู่ที่ “หมู่บ้านสะกาย” ซึ่งแปลว่า “เชลย” นั่นเอง แต่จะมีหลักฐานอะไรที่ทำให้เชื่อเช่นนั้นได้ ต้องเดินทางไปยังกรุงอังวะ เมืองหลวงเก่าของพม่า ที่ได้นำทัพเข้ามาโจมตีเมืองอยุธยา พม่าเรียกว่า “โยเดีย” และยังใช้คำนี้เรียกคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้

 ที่กรุงอังวะ ยังคงมีหมู่บ้านเล็กๆ และมีหลักฐานที่ตั้งของพระราชวังให้เห็นอยู่ เมืองอังวะ คนพม่าเรียกว่า อินวะ ฝรั่ง เรียกว่า เอวะ ยังมีบ้านโบราณอยู่ริมแม่น้ำอิระวดีอันกว้างใหญ่ ที่นี่ยังคงเหลือเจดีย์วัดมหาอ่องเหม่ บอนซาน สร้างโดยพระนางเมนุ ราชินีองค์สำคัญในพระเจ้าบาจีด่อ มองจากเจดีย์ไปสุดสายตา

จะเห็น “หมู่บ้านสะกาย” ตั้งอยู่ในฝั่งตรงข้ามพายเรือข้ามไปก็ถึงบ้านของเชลยไทย แต่ปัจจุบันค้นหาผู้สืบเชื้อสายไทยไม่ได้แล้ว

 ยัง มีหอคอยเมืองอังวะที่สูง 27 เมตร ทิ้งไว้เป็นหลักฐานของเมืองหลวงผู้ยิ่งใหญ่ในดินแดนนี้ จากหอคอยนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพโดยรอบของเมืองอังวะ รวมถึงมองเห็นเทือกเขาสะกายอีกฟากฝั่งแม่น้ำอิระวดีอีกด้วย


 เมื่อข้ามฟากแม่น้ำอิระวดีสู่เมืองสะกาย ต้องเดินทางค้นหาสถานที่อยู่นาน เพราะชาวพม่าก็ไม่รู้จัก ต้องนำหลักฐาน

มาก มายจึงค้นพบ “วัดมหาเตงดอจี” วัดที่ค้นพบหลักฐานใหม่เกี่ยวกับภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารอิฐของวัดมหาเตงด อจี ซึ่งมีลวดลายแบบไทย จึงอาจเป็นฝีมือของช่างเขียนไทย

 จากคำบอกเล่า บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่ของเชลยศึกชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนมาในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

 สักการะ เจดีย์ที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว โดยลักษณะเจดีย์เป็นรูปทรงกลม เดินลัดเลาะขึ้นสู่เนินเขาสะกาย ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาของพม่าในปัจจุบัน ณ ที่แห่งนี้มีพุทธสถานมากกว่า 600 แห่ง ซึ่งมีจุดชมวิวที่มองลงไปเบื้องล่าง

จะเห็นแม่น้ำอิระวดีอยู่เบื้องล่าง

 เมืองสะกายอยู่ห่างจากกรุงอังวะ พม่า ไม่มากนัก ก่อนหน้า ที่เชลยไทยจะมาอยู่ ที่นี่เคยเป็นที่อยู่ของเชลยมอญมาก่อน

 

 

 

 จากหลักฐานที่ค้นพบ เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่วัดมหาเตง

ดอจี เมืองสะกาย มีหลักฐานที่กำลังมีการพิสูจน์ว่า อาจจะเป็นฝีมือของเชลยไทย ที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาเมื่อคราวเสียกรุง

ปี 2310 ที่พระเจ้ามังระยกทัพไปตีอยุธยา และกวาดต้อนเชลยไทยมา เป็นหลักฐานทางศิลปกรรมที่น่าเชื่อถือได้และชัดเจนที่สุดว่า เป็นฝีมือของหมู่ช่างหมู่ไทย และเป็นฝีมือระดับดีเลิศ

 จิตรกรรมที่พบนี้ จะเห็นความแตกต่างกับศิลปะของพม่า

ตั้งแต่เทคนิคเส้นแบ่งหรือสินเทา พระพุทธเจ้าอยู่ในปราสาท

ตัวฐานเรียกว่าฐานสิง เป็นฐานสิงชั้นเดียวรูปแบบเฉพาะของ

อยุธยาตอนปลาย จากองค์ประกอบภาพและฐานสิง บ่งบอกว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย

  การทำกรอบเหนือพระหรือซุ้มเรือนแก้ว เป็นแบบของไทย เช่นเดียวกับพระพุทธชินราช ตัวปราสาทมีคันทวยรองรับเป็นแบบช่างไทย การทำเสาเล็กๆ ประดับกาบบน กาบล่าง ตัวเสากาบเล็กและแบนมากเป็นแบบไทย นิยมมากในสมัยพระนารายณ์ อยุธยา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 จะเห็นว่าวัดพระแก้วเป็นกาบแบบนี้ การทำเรือนชั้นซ้อนต่างจากพม่าชัดเจน ตัวเรือนยอดปราสาทจะลดชั้นลงมา ส่วนยอดเรียกว่าปลีมี เฉพาะของไทยเท่านั้น

 อย่าง เช่น ยอดปราสาทพระเทพบิดร รูปพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิ วางพระหัตถ์ไว้ที่เข่า เป็นแบบไทย ของพม่าจะวางไว้ที่หน้าแข้ง ฉัตรเป็นสัปทนแบบไทย

 สินเทา คือ ตัวแบ่งเรื่อง ปราสาทของพม่าเรือนชั้นซ้อน มีฝา มีหลังคาขึ้นไป ยอดเป็นปลี ไม่มีเหม เป็นฉัตร แต่ของเราหลังคาซ้อนหลังคาไปตลอด มีกระจังเป็นหน้าบัน เป็นเจดีย์ย่อมุม ก่อนถึงป้อมไฉน คล้ายๆ กลีบบัวยาวๆ เรียกว่า เหม

 ภาพ ที่เหลืออยู่ด้านหนึ่งเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบก แวดล้อมด้วยเครื่องสูงและเครื่องบูชา ทั้งฉัตร ธงทิว และแจกันดอกไม้ เบื้องหลังบุษบกคือท้องฟ้าสีแดงชาด มีดอกไม้ทิพย์จากสวรรค์ร่วงหล่นลงบูชาพระ ถัดขึ้นไปเป็นเส้นสินเทาหักหยักเป็นฟันปลา ที่วัดช่องนนทรี มีภาพพระพุทธเจ้าแบบเดียวกัน

 

 

ที่สำคัญที่สุด คือ การทำลายที่มีตัวกลางลาย 3 ส่วน

องค์ ประกอบลายโค้งเข้าหากัน พบมากในสมัยอยุธยาตอนปลายทั้งปูนปั้นและจิตรกรรม มี 3 พุ่ม ตรงกลางเรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายท่อหางโต พัฒนามาจากลายดอกโบตั๋น ทำให้เชื่อได้ว่าทั้งลวดลายและการเขียนพระพุทธรูปเป็นฝีมือของช่างไทยในสมัย อยุธยาตอนปลาย

 จิตกรรมฝาผนังแห่งนี้ ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักวิชาการไทยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ ม.ร.ว.รุจยา อาภากร และ ม.ล.สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

 จึงสรุปได้ว่า จิตรกรรมฝาผนังที่วัดมหาเตงดอจี เป็นฝีมือของเชลยศึกไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี 2310 ที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ที่เมืองสะกาย ประเทศพม่า

รศ.ดร.ศักดิ์ชัย  สายสิงห์

รองคณบดี คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร

และ อ.ภภพพล (สรศักดิ์) จันทร์วัฒนกุล

โทร 0-2644-9700