หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

Home / ข่าวท่องเที่ยว / หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ประชาชนสามารถเข้าเยี่ยมชม พระราชกรณียกิจ ของใช้ส่วนพระองค์ รวมถึง พระราชจริยวัตรแห่งความพอเพียง ถูกรวบรวมไว้ที่ “หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” จังหวัดปทุมธานี

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ย้อนกลับไปในพุทธศักราช ๒๕๓๙ อันเป็นมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงดำรงสิริราชสมบัติครบ ๕0 ปี รัฐบาลได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่จะดำเนินการรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุ ที่เกี่ยวเนื่องในพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ มาจัดเก็บและอนุรักษ์ไว้ตามระบบมาตรฐานงานจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรจัดทำโครงการจัดตั้ง หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นอนุสรณ์สถานในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ และได้รับพระราชทานชื่อว่า หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ บนพื้นที่ ๗๕ ไร่ ริมคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

อำนวยประโยชน์ในการรวบรวมจัดเก็บจัดแสดง ให้บริการสืบค้น และอนุรักษ์เอกสารที่เกี่ยวเนื่องในพระราชประวัติและพระราช กรณียกิจ อาทิ พระราชหัตถเลขา พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส พระราชนิพนธ์ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์ พระบรมฉายาลักษณ์ แถบบันทึกพระสุรเสียง ฯลฯ ตลอดจนเอกสารการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ หอจดหมายเหตุแห่งชาติแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ให้ความรู้ และให้เยาวชนรุ่นหลังได้ซาบซึ้งถึงพระปรีชาสามารถ ในการปกครองแผ่นดิน รวมไปถึงความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวไทย ที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทยทุก พระองค์

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

เอกสารจดหมายเหตุเป็นมรดกทางวัฒนธรรมลักษณะเดียวกันกับโบราณสถานและโบราณวัตถุ แต่มีความแตกต่างกันที่เป็นสัญลักษณ์ของการสื่อสารซึ่งถูกบันทึกอยู่ในรูปของวัสดุต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร ภาพวาด ภาพถ่าย ลายเส้น เสียง และภาพเคลื่อนไหว ที่บันทึกลงบนกระดาษในรูปของเอกสาร เช่น หนังสือ, แผนที่, แผนผัง, หรือการสื่อสารที่บันทึกในแถบแม่เหล็ก แผ่นครั่ง แผ่นโลหะ และเครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ เช่น แผ่นเสียง, เทปเสียง, เทปวีดิทัศน์, CD-R, DVD-R, SD Card, MD Card, Data Tape เป็นต้น

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

อาคารก่อสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ มีทางเชื่อมและลานอเนกประสงค์ รวมพื้นที่ ๒๐,๐๐๐ ตารางเมตร ประกอบด้วย อาคารเก็บเอกสารจดหมายเหตุ เป็นอาคาร ๙ ชั้น , อาคารให้บริการค้นคว้า และอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติ จำนวน ๒ หลัง รวมอาคารแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน
  • อาคารส่วนที่ ๑ อาคารเก็บเอกสารจดหมายเหตุ เป็นอาคาร ๙ ชั้น
  • อาคารส่วนที่ ๒ อาคารให้บริการค้นคว้า
  • อาคารส่วนที่ ๓-๔ อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริ มี ๓ ชั้น ซึ่งในอาคารนี้ แต่ละชั้นจะมีเรื่องราวที่แตกต่างกันไป อาทิ

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

อาคารส่วนที่ ๓ ชั้นที่ ๑ จัดแสดง

  • “ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ” เป็นการนำเสนอวีดิทัศน์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ
  • “พสกนิกรจงรักภักดี” เป็นการจำลองบรรยากาศบ้านเรือน ร้านค้าในยุคสมัยต่างๆ และการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของประชาชนในแต่ละยุคสมัย มีการประดับพระบรมฉายาลักษณ์ ธงชาติและธงเฉลิมพระเกียรติ
  • “ดินแดนเสด็จพระบรมราชสมภพ” แสดงพระราชประวัติเตั้งแต่เมื่อครั้นเสด็จพระบรมราชสมภพ ณ รัฐเมสสาชูเขตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • “พระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 7” จัดแสดงเกี่ยวกับพระเมตตาของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอยยิกาเจ้า ที่ทรงมีต่อเจ้านายราชสกุลมหิดล

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ขณะเยาว์พระชันษา ณ วังสระปทุม

อาคารส่วนที่ ๓ ชั้นที่ ๒ จัดแสดง

  • “ณ วังสระปทุม” ซึ่งจัดแสดงเหตุการณ์เมื่อพ.ศ.2471 ที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงพาครอบครัวมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทย
  • “ขณะเยาว์พระชันษา ณ วังสระปทุม” จัดแสดงพระราชจริยวัตรในวังสระปทุม และการอภิบาลเลี้ยงดูอย่างดีจากสมเด็จพระบรมราชชนนี
  • “พระตำหนักในแดนไกล” โดยจัดแสดงเหตุการณ์ร.8 เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์
  •  “ตามเสด็จนิวัติพระนคร” จัดแสดงพระราชกรณียกิจต่างๆของรัชกาลที่ 8 โดยมีพระอนุชาโดยเสด็จด้วยเสมอ จนสวรรคต แล
  • “เถลิงถวัลยราชสมบัติ” จัดแสดงเหตุการณ์การเสด็จขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 9 พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีทรงพระผนวช
หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
“พสกนิกรจงรักภักดี” เป็นการจำลองบรรยากาศบ้านเรือน ร้านค้าในยุคสมัยต่างๆ และการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของประชาชนในแต่ละยุคสมัย

อาคารส่วนที่ ๓ ชั้นที่ ๓ จัดแสดง

  • “ดำรงราชย์ ดำรงรัฐ” จัดแสดงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีความสำคัญและมีความผูกพันกับสังคมไทยนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • “พระราชพิธีสำคัญในรัชกาล” ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับความหมายความสำคัญ รูปแบบและขั้นตอนของพระราชพิธีสำคัญในรัชกาล

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

อาคารส่วนที่ ๔ ประกอบไปด้วย

  • “ศูนย์แห่งการทดลอง ศึกษา และพัฒนา” จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ขณะประทับและทรงงานภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
  • “พระราชปณิธานอันมั่นคง” จัดแสดงจุดเริ่มต้นโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
  • “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” จัดแสดงพัฒนาการของโครงการฝนหลวงตั้งแต่พระราชทานพระราชดำริเมื่อพ.ศ.2498 จนปัจจุบัน
  • “การบริหารจัดการน้ำ” อันแสดงพระราชกรณียกิจแนวพระราชดำริในการบริหารจัดการน้ำ
  • “ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง” แสดงแบบจำลองทฤษฎีใหม่ในการบริหารจัดการดินและน้ำเพื่อการเกษตร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • “พระปรีชาสามารถด้านศิลปะ” จัดแสดงพระปรีชาสามารถด้านจิตกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย หัตถกรรม ดนตรี วรรณศิลป์
  • “พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม”

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดแสดง เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริ เท่านั้น ประชาชนที่สนใจสามารถไปได่ที่ จ.ปทุมธานี

หออัครศิลปิน The Supreme Artist Hall

หออัครศิลปิน The Supreme Artist Hall

จัดสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงพระอัจฉริยะภาพด้านศิลปะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในแขนงต่างๆ ตลอดจนจัดแสดงผลงานของศิลปินแห่งชาติในทุกแขนง ณ หออัครศิลปิน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

แผนที่ทางไป หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
แผนที่ทางไป หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ที่อยู่ : ถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอ คลองหลวง ปทุมธานี 12120

พิกัด : 14.071317, 100.707195

โทรศัพท์ : 02 902 7940

เปิดทำการ : วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00–16.00 น.

ขอบคุณข้อมูล รูปภาพ : thai.tourismthailand.orgwww.pathumpao.go.thสำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม http://ishydro.dwr.go.th/หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ www.finearts.go.th, เที่ยวภาคกลาง www.tiewpakklang.comอนุสาร อ.ส.ทกรมศิลปากร