จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ ในปัจจุบันกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมต่างๆ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่างๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กรุงเก่า” หรือ “เมืองกรุงเก่า”

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อยุธยา

คำขวัญประจำจังหวัด: ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา

 ที่ตั้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ ๗๖ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๒,๕๕๖ ตารางกิโลเมตร

 

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในอยุธยา

 พระราชวังบางปะอิน

พระราชวังบางปะอิน

        อยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ18 กิโลเมตร ได้รับการบูรณะฟื้นฟูในสมัยรัชกาลที่4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับ มีเรือนแถวสำหรับฝ่ายในและมีพลับพลาริมน้ำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่5 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้น ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับและต้อนรับพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่างๆ เป็นครั้งคราว พระราชวังบางปะอินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอกและเขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นนอกใช้เป็นที่สำหรับการออกมหาสมาคมและพระราชพิธีต่างๆ ส่วนเขตพระราชฐานชั้นในใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์
        พระราชวังบางปะอิน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา08.00 – 17.00 น. (เปิดจำหน่ายบัตร 08.00 – 16.00 น.) อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่30 บาท เด็ก นักเรียน นิสิตนักศึกษา (ในเครื่องแบบ ต้องมีบัตรประจำตัวนักศึกษา)20 บาท พระภิกษุ สามเณร ไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างประเทศ100 บาท มีทางลาดสำหรับผู้พิการและรถกอล์ฟให้เช่า

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์

      เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวง เทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานคร หรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือ และอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวัง และโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา วัดพระศรีสรรเพชญ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา07.00 – 18.30 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย10 บาท ชาวต่างประเทศ50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย40 บาท ชาวต่างประเทศ220 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ภายในระยะเวลา30 วัน อันได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดมเหยงค์ วัดไชยวัฒนาราม, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ชาวไทย30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ชาวไทย20 บาท ชาวต่างประเทศ100 บาท ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานศิลปากรที่3 โทร. 0-3524-2501, 0-3524-2448 หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทร. 0-3524-2284, 0-3524-2286  

 วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม

      ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่24 (พ.ศ.2173 – 2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

วัดใหญ่ชัยมงคล

1233504965

      เดิมชื่อวัดป่าแก้ว หรือวัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย และเพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนี้ ยังมีวิหารพระพุทธไสยาสน์สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก ค่าเข้าชม ต่างชาติ คนละ20 บาท

 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

      ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ1,000 ไร่ ภายในศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ประกอบด้วยสถานที่และสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ ศาลาพระมิ่งขวัญ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ จตุรมุขสูง4 ชั้น ตั้งตระหง่านอยู่กลางศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ชั้นล่าง เป็นศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯและศูนย์ศิลปาชีพอื่นๆ ทั่วประเทศ ชั้นที่2 และ ชั้นที่3 เป็นนิทรรศการผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพชิ้นยอดเยี่ยมของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ชั้นที่4 เป็นห้องประชุมสัมนา เปิดให้ชมทุกวัน วันธรรมดา09.00 – 17.00 น. วันหยุดราชการ 09.00 – 18.00 น. (ไม่เสียค่าเข้าชม)

หมู่บ้านญี่ปุ่น

หมู่บ้านญี่ปุ่น

       ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยามีจำนวนมากขึ้น ทางการญี่ปุ่นได้อนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นเดินเรือออกไปค้าขายกับชาวต่างชาติ ในบรรดาพวกที่ไปค้าขายมีพวกหนึ่งเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินไทยมีพระบรมราชานุญาตให้ชาวญี่ปุ่น มาตั้งหลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยารอบนอกเกาะเมืองเหมือนชาติอื่นๆ นับตั้งแต่นั้นมาก็มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยามากขึ้น โดยมีหัวหน้าปกครองในกลุ่มตน หัวหน้าชาวญี่ปุ่นในขณะนั้น คือ นากามาซา ยามาดา เป็นผู้มีอำนาจและเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเสนาภิมุขรับราชการ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจนสิ้นชีวิต
       ปัจจุบันสมาคมไทย – ญี่ปุ่นได้สร้างหุ่นจำลอง นากามาซา ยามาดา และจารึกประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในสมัยกรุงศรีอยุธยามาตั้งไว้ภายในหมู่บ้าน มีอาคารจัดแสดงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศ แบ่งออกเป็นอาคาร
9 ส่วน ประกอบด้วยบอร์ดนิทรรศการ การจัดแสดงสิ่งของและวีดีทัศน์3 ภาษา เปิดเวลา 08.30 – 16.30 น. ค่าเข้าชมคนไทย20 บาท ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-3524-5336

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

      ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนโรจนะ ตรงข้ามกับสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์ที่ขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2504 และที่นี่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีรูปแบบการจัดแสดงแบบใหม่ คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงจำนวนไม่มากจนเกินไป และใช้แสง สี มาทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาในอดีตไว้อย่างน่าชื่นชม

คุ้มขุนแผน

คุ้มขุนแผน

      ตั้งอยู่ที่ถนนป่าโทน เป็นตัวอย่างของหมู่เรือนไทยภาคกลาง ในรูปแบบเรือนคหบดีไทยสมัยโบราณ เดิมเป็นจวนสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ทรงสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2437 ที่เกาะลอยบริเวณสะพานเกลือ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการมณฑล ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2483 ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ได้ย้ายจวนหลังนี้มาสร้างในบริเวณคุกนครบาลเก่าของพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งสร้างเรือนไทยเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ.2499 และให้ชื่อเรือนไทยนี้ว่า “คุ้มขุนแผน” ซึ่งเชื่อกันว่าขุนแผนเคยต้องโทษอยู่ในคุกแห่งนี้

การเดินทาง

รถยนต์

1. ใช้ทางหลวงหมายเลข1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306(ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


รถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกวัน วันละหลายเที่ยว ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร2 รถโดยสารปรับอากาศชั้น1 กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาและรถโดยสารปรับอากาศชั้น2 กรุงเทพฯ-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-พระนครศรีอยุธยา ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.537-8055, 936-2852-66


รถไฟ
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถใช้บริการขบวนรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีบริการทุกวัน โดยรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยาและอำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี

ทางเรือ
ปัจจุบันการเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยทางน้ำเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก เพราะนอกจากจะได้ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์สมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ

เทศกาลและงานประเพณี

งานประจำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

งานประจำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

      จัดเป็นประจำทุกปีช่วงปลายเดือนมกราคมภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทรมีการแสดงและประกวดผลงานด้านศิลปาชีพมีการจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองทั่วไป การแสดงศิลปวัฒนธรรมอันงดงาม

งานลอยกระทงตามประทีปและแข่งเรือยาวประเพณีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

งานลอยกระทงตามประทีป

      จัดเป็นประจำทุกปี ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร มีการประกวดนางนพมาศ ประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทง ประกวดโคมแขวน การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน การแข่งเรือยาวประเพณี เรือยาวนานาชาติ การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ

 งานแสดงแสงเสียงอยุธยามรดกโลก

งานแสดงแสงสีแสง

       เนื่องจากนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศโดยองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ ทางจังหวัดจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองทุกปี ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นระยะเวลา ๗ วัน ในงานจะมีการแสดงชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรม และประเพณีของไทย รวมทั้งการแสดงแสงเสียงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา

โรงแรมที่พักที่น่าสนใจในอยุธยา

โรงแรมอยุธยา ริเวอร์ไซด์ (Ayothaya Riverside Hotel)

Ayutthaya Garden River Home

โรงแรมไอยูเดีย ออน เดอะ ริเวอร์ (IUDIA On The River)

โรงแรมคันทารี โฮเท็ล, อยุธยา (Kantary Hotel, Ayutthaya)

โรงแรมพลูธยา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Pludhaya Resort & Spa)

โรงแรมริเวอร์ วิว เพลส (River View Place)

โรงแรมวรบุรี อโยธยา คอนเว็นชั่น รีสอร์ท (Woraburi Ayothaya Convention Resort)