จังหวัดพัทลุง

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดพัทลุง

จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เคยเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง และยังมีสภาภูมิประเทศทั้งที่ราบ เนินเขา และชายฝั่ง ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดนี้ว่า เมืองลุง

จังหวัดพัทลุง

609425-topic-ix-0

คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน

ที่ตั้ง   จังหวัดพัทลุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภาคใต้ของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทางประมาณ 858 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟระยะทางประมาณ 846 กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,424.473 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,140,296 ไร่ (พื้นดิน 1,919,446 ไร่ พื้นน้ำ 220,850 ไร่)

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในพัทลุง

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

             พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศหรือที่เรียกกันว่า“พระสี่มุมเมือง” เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ และปูชนียวัตถุคู่เมืองของพัทลุง ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาจตุรมุข บริเวณด้านหน้าระหว่างศาลากลางจังหวัด กับศาลจังหวัดพัทลุง เป็นพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ปางสมาธิ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ที่จังหวัดพัทลุง เมื่อ24 ธันวาคม พ.ศ.2511

 

ถ้ำสุมโน

ถ้ำสุมโน

             ถ้ำสุมโน อยู่ตำบลบ้านนา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเพชรเกษม (สายพัทลุง-ตรัง) ประมาณ 21 กิโลเมตร ตัวถ้ำห่างจากถนนประมาณ500 เมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยและมีห้องโถงกว้างขวางใหญ่โต และร่มเย็นวิจิตรตระการตาตามธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งหมด18 ถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลายองค์ บริเวณถ้ำยังเป็นสถานที่วิปัสสนาและปฏิบัติธรรมอีกด้วย

ถ้ำคูหาสวรรค์ 

ถ้ำคูหาสวรรค์

                ตั้งอยู่ที่ถนนคูหาสวรรค์ใกล้ๆ ตัวตลาดพัทลุงจะมีทางเลี้ยวซ้ายมือที่เขาหัวแตก จะเป็นทางไปสู่วัดถ้ำคูหาสวรรค์ วัดนี้สร้างในสมัยอยุธยา ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในจังหวัดพัทลุง ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ และพระพุทธรูปนั่งประดิษฐานอยู่ตามผนังถ้ำ และบริเวณหน้าถ้ำมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ ปรากฎอยู่

 ภูเขาอกทะลุ

ภูเขาอกทะลุ

               จากวัดคูหาสวรรค์มุ่งหน้าไปบนทางหลวงหมายเลข4047 สู่สถานีรถไฟพัทลุงจะพบภูเขาอกทะลุ ตั้งตระหง่านอยู่ทางด้านตะวันออกของสถานีรถไฟ ภูเขาอกทะลุเป็น สัญลักษณ์ของพัทลุง มีความสูงประมาณ250 เมตร มีทางสำหรับปีนขึ้นยอดเขาเพื่อชมทิวทัศน์ของเมืองพัทลุงได้ ลักษณะพิเศษของภูเขาลูกนี้คือ มีช่องแลทะลุยอดภูเขาอยู่บริเวณเกือบตอนปลายของยอดเขาซึ่งเป็นที่มา ของชื่อภูเขาลูกนี้

ถ้ำมาลัย

ถ้ำมาลัย

             อยู่ห่างจากสถานีรถไฟประมาณ2 กม. บนเส้นทางหลวงหมายเลข4047 ระหว่างหลัก กม.ที่7-8 จะมีทางลูกรังแยกซ้ายมือเข้าไปอีก2 กม. ถ้ำนี้อยู่ในเทือกเขาเดียวกันกับภูเขาอกทะลุ ถูกค้นพบโดยพระธุดงค์จากภาคอีสาน ชื่อพระมาลัย จึงได้ตั้งชื่อตามชื่อของผู้ค้นพบ ภายในถ้ำมี ลักษณะกว้างขวางสลับซับซ้อน มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก และมีแอ่งน้ำใสอยู่ตอนในสุดของถ้ำ

วังเจ้าเมืองพัทลุง (วังเก่า-วังใหม่)

วังเจ้าเมืองพัทลุง

               ตั้งอยู่ใกล้กับวัดวัง เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันยังเหลืออยู่ส่วนหนึ่งคือ วังเก่า สร้างในสมัยพระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจนวงษ์) เป็นผู้ว่าราชการ ต่อมา วังได้ตกทอดมาจนถึงนางประไพ มุตามะระ บุตรีของหลวงศรีวรฉัตร ส่วนวังในสร้างเมื่อ พ.ศ.2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจนวงษ์) บุตรชายของพระยาพัทลุงซึ่งเป็นผู้ว่าราชการ ปัจจุบันทายาทตระกูล “จันทโรจนวงษ์” ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติ โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2526

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย

              อุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข4048 จากอำเภอเมืองพัทลุง-อำเภอควนขนุน ไปสุดที่ทะเลน้อย ระยะทาง32 กม. ทางราดยางตลอดทั้งสาย เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีพื้นที่ประมาณ281,250 ไร่ โดยมีพื้นน้ำประมาณ17,500 ไร่ อยู่บริเวณเหนือสุดของทะเลสาบสงขลา
ทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีนกอยู่มากมายกว่า
150 ชนิด จำนวนไม่ต่ำกว่า100,000 ตัวนกที่มีมากได้แก่ นกอีโก้ง นกพริก นกเป็ดแดง นกเป็ดคับแค นกเป็ดผี นกกาบบัว นกอีล้ำ นกอีลุ้ม นกกะปูด นกนางนวล นกนางแอ่น นกยางเฟีย นกอัญชัญ นกกระสาแดง นกกระสานวล อีกา เหยี่ยวต่างๆ ฤดูกาลที่เหมาะที่สุดสำหรับการไปดูนก คือช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายน

 เกาะสี่ เกาะห้า

เกาะสี่ เกาะห้า

            อยู่ในเขตทะเลสาบสงขลา-พัทลุง การเดินทางสามารถเดินทางได้จากท่าเรือตำบลลำปำ หรือท่าเรืออำเภอปากพะยูน ใช้เวลาเดินทางประมาณ1 ชั่วโมง เกาะแห่งนี้เป็นที่อยู่ของนกนางแอ่นทะเลเป็นจำนวนมาก จึงถูกเรียกว่า “เกาะรังนก” และมีการขอสัมปทานเพื่อนำรังนกเหล่านี้ไปจำหน่าย เกาะรังนกนี้เป็นเกาะที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 เคยเสด็จประพาสและทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้ ณ บริเวณหน้าผา การเข้าชมเกาะขออนุญาตได้จากบริษัท สัมปทานรังนก อำเภอปากพะยูน

 คลองหูแร่

คลองหูแร่

             ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะเดื่อ ห่างจากตัวเมืองพัทลุง33 กม. ใช้เส้นทางสายเพชรเกษมไปประมาณ20 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายเขาชัยสน-จงเก (หมายเลข4081) และเลี้ยวขวา บริเวณหน้าที่ทำการอำเภอเขาชัยสนไปตามถนนลูกรังอีกประมาณ5 กม. ก็จะถึงแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณ หน้าที่ว่าการอำเภอจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวด้วย คลองหูแร่ มีสภาพเป็นคลองขนาดใหญ่ น้ำใสสะอาด พื้นคลองเป็นทรายและโขดหิน บริเวณน้ำลึก เหมาะแก่การพักผ่อนหรือลงเล่นน้ำ มีเพิงและร้านอาหารไว้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย

น้ำตกไพรวัลย์ 

น้ำตกไพรวัลย์

          ตั้งอยู่ในหน่วยพิทักษ์ป่าบ้านพูด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตำบลคลองเฉลิม เส้นทางเข้าชมใช้เส้นทางจากบ้านคลองหมวยไปตามถนนตำบลลำสินธุ์-บ้านกงหรา (ทางหลวงหมายเลข4122) ประมาณ20 กม. ทางเข้าน้ำตกอยู่ทางทิศตะวันตก เป็นทางลูกรังระยะทาง3 กม. เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีความงดงามตามธรรมชาติ เงียบสงบ และร่มเย็น อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด บริเวณน้ำตก มีลานจอดรถและร้านอาหารไว้บริการด้วย

การเดินทาง

รถยนต์

จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้3 เส้นทาง คือ

1.ตามทางหลวงหมายเลข4 ถึงชุมพร (สี่แยกปฐมพร) แยกเข้าระนอง พังงา กระบี่ ตรัง จนถึงพัทลุง ระยะทางประมาณ1,140 กม.

2.เมื่อมาถึงชุมพร เข้าทางหลวงหมายเลข41 จนถึงจังหวัดพัทลุง ระยะทางประมาณ840 กม.

3.เมื่อมาถึงชุมพรแล้ว ผ่านสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข403 จากนั้นจึงเข้าทางหลวงหมายเลข41 ที่ชุมทางเขาชุมทอง จนถึงพัทลุง

 

รถประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ – พัทลุง ทุกวัน มีรถออกที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ รถโดยสารธรรมดา โทร.434-5557-8 รถโดยสารปรับอากาศ โทร.435-1199, 435-1200

 

ทางรถไฟ

มีบริการรถไฟผ่านท้องที่อำเภอเมือง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.223-7010, 223-7020

 

ทางอากาศ

บริษัท การบินไทย จำกัด ไปจังหวัดตรังและหาดใหญ่ทุกวัน สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร.280-0060-89 หรือที่การบินไทย จังหวัดตรัง โทร. (075) 218066, 219923 และการบินไทย สำนักงานหาดใหญ่ โทร. (074) 245851-2, 243711, 233433

เทศกาลและงานประเพณี

งานประเพณีแข่งโพนลากพระ (ชักพระ)

งานประเพณีแข่งโพนลากพระ

           นิยมทำกันทั่วไปในภาคใต้ ในช่วงเดือน11 (แรม1 ค่ำ เดือน11) การลากพระมีอยู่2 ลักษณะ ตามความเหมาะสมของภูมิประเทศ คือ ลากพระทางบกและลากพระทางน้ำ สำหรับจังหวัดพัทลุง เป็นการลากพระทางบก จะมีการตีโพน (กลอง) เพื่อควบคุมจังหวะในการลากพระ ขบวนพระลาก ของแต่ละวัดก็จะมีผู้ตีโพนอยู่บนขบวน และเมื่อผ่านวัดต่างๆ ก็จะมีการตีโพนท้าทายกัน ทำให้มีการแข่งขัน ตีโพนเกิดขึ้น และทางจังหวัดพัทลุงก็ได้จัดให้มีการแข่งขันตีโพนขึ้นเป็นประจำทุกปี ในเทศกาลลากพระเดือน11

การละเล่นซัดต้ม

การละเล่นซัดต้ม

            ประเพณีซัดต้มมีที่มาอันเกี่ยวข้องกับประเพณีลากพระคือ ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ กลับจากจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงมายังโลกมนุษย์ ตรงกับวันแรม1 ค่ำ เดือน11 จะมี พุทธศาสนิกชนรอเข้าเฝ้าเพื่อถวายภัตตาหารแด่พระพุทธองค์ แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนมีเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถถวายภัตตาหารได้อย่างใกล้ชิด จึงได้มีการนำใบไม้มาห่อหุ้มภัตตาหาร ซึ่งเรียกกันว่า “ข้าวต้ม” หรือ “ต้ม” และพยายามโยนต้มเหล่านั้นให้ลงบาตร แต่การโยนทำให้ต้มพลาดไปถูกเหล่าพุทธศาสนิกชนด้วยกันเอง ต่อมาจึงกลายเป็นการละเล่นซัดต้ม และพัฒนาเป็นการแข่งขันด้านไหวพริบ และความรวดเร็วว่องไวในการซัด และหลบหลีกต้มซึ่งจัดทำอย่างพิเศษ (ใช้ข้าวตากผสมกับทรายห่อด้วยใบตาลเป็นรูปตะกร้อสี่เหลี่ยม) การละเล่นซัดต้มต้องอาศัยความกล้าหาญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าไม่สามารถหลบหลีกต้มของคู่ต่อสู้ อาจจะเป็นอันตรายได้ ปัจจุบันการซัดต้มหาดูได้ค่อนข้างยาก ทางจังหวัดพัทลุง จึงได้จัดให้มีการแข่งขัน ซัดต้มรวมอยู่ในงานประเพณี แข่งโพนลากพระในเดือน11 ด้วย

งานวันอนุรักษ์มรดกไทยและงานมหกรรมชิงแชมป์หนังตะลุง

งานวันอนุรักษ์มรดกไทย

            เป็นงานที่จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี กิจกรรมภายในงาน จะเป็นการจัดนิทรรศการ การละเล่นพื้นบ้านปักษ์ใต้ และการประกวดหนังตะลุง ซึ่งได้รับความสนใจ จากศิลปินพื้นบ้านเข้าร่วม การประกวดมากมาย งานดังกล่าวนี้จะจัดขึ้น ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดพัทลุง