เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการล่องแก่ง

Home / ทิปท่องเที่ยว / เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการล่องแก่ง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการล่องแก่ง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการล่องแก่ง

    ล่องอย่างไรให้แกร่ง ฝึกวิชาให้เป็นเซียนท่องน้ำ เคล็ดไม่ลับ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการล่องแก่ง   

การจัดระดับความยากง่ายของแก่ง

ตาม มาตรฐาน “American Whitewater Affiliation” สามารถแบ่ง ออกได้เป็น 6 ระดับดังนี้

ระดับ 1 : ง่ายมาก (Easy) สายน้ำไหลเร็วม้วนตัวเป็นเกลียว และมีคลื่นเล็ก ๆ มีอุปสรรคกีดขวางเล็กน้อย แต่มองเห็นชัดเจน และหลบเลี่ยงได้ง่าย
ระดับ 2 : ธรรมดา (Novice) มีแก่งที่ทอดตัวตรงไปข้างหน้า มีช่องให้เรือผ่านที่กว้างชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องไปสำรวจแก่งก่อน อาจจะมีอุปสรรคเช่น ก้อนหิน หรือคลื่นขนาดกลางที่จำเป็น ต้องหลบหลีกบ้างในบางครั้ง แต่ก็สามารถหลบผ่าน ไปได้ง่าย
ระดับ 3 : ปานกลาง (Intermediate) เริ่มมีแก่งพร้อมคลื่นขนาดกลางที่หลบหลีกได้ยาก และสามารถท่วมซัดขึ้นบน เรือยางได้ การหลบหลีกอุปสรรคจึงมีความซับซ้อนในกระแสน้ำเชี่ยวรวมถึงการบังคับควบคุม เรือยางให้ ผ่านช่องทางอันเฉพาะเจาะจง คลื่นลูกใหญ่หรือไม้ล้มขวางลำน้ำอาจจะมีปรากฏให้เห็น แต่ก็พอหลบหลีกได้
ระดับ 4 : ยาก (Advanced) แก่งรุนแรงทรงพลัง แต่ยังอยู่ในวิสัยที่พอคาดการณ์ได้ว่าจะเจออะไร ซึ่งการบังคับคุม เรือยาง ในกระแสน้ำที่พลุ่งพล่านนี้ ต้องเป็นไปอย่างกระชับเที่ยงตรงมากทีเดียว ความยากระดับนี้ ยังต้องดูลักษณะของแม่น้ำสายนั้น ๆ อีกหลายประการ เช่น จะต้องเผชิญคลื่นขนาดใหญ่ หรือโพรงน้ำม้วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจจะต้องบังคับเรือหลบหลีกอุปสรรคอย่าง รวดเร็ว เพื่อผ่านช่องที่เปิดให้เล็กน้อย แก่งเกรดสี่เริ่มมีระดับความเสี่ยงอันตรายที่เราต้องพยายามหาทางป้องกัน การสำรวจตรวจสอบก่อนที่ลงแก่งนั้นๆ เป็นครั้งแรก เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากการลอยตัวอยู่ในน้ำ มีระดับปานกลางถึงสูง และภาวะของสายน้ำอาจจะทำให้ยากต่อการช่วยตัวเอง
ระดับ 5 : ยากมาก (Expert) ช่วงอุปสรรคที่จะต้องเผชิญมีระยะที่ยาวมากๆ หรือแก่งที่รุนแรงมากๆ ในระดับที่เข้าข่ายอันตรายเรืออาจทิ้งตัวลงกระแทกคลื่นหรือโพรงน้ำม้วนขนาด ใหญ่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจกระโจนลงน้ำตกสูงชันตามช่องทางที่ไม่เปิดให้อย่างราบรื่นนัก แก่งอาจต่อเนื่องเป็นระยะทางที่ยาวนานมาก การลอยตัวอยู่ในน้ำเป็นเรื่องอันตราย และการให้ความช่วยเหลือก็ทำได้ค่อนข้างยาก แม้จะกระทำโดยผู้ชำนาญก็ตาม การล่องแก่งเกรดห้าต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างเหมาะสมครบถ้วน และทีมงานต้องมีประสบการณ์ขั้นสูง
ระดับ 6 : อันตราย (Extreme) เกรด 6 เป็นระดับที่ยาก และอันตรายเกินกว่าที่จะลง ล่องแก่งได้ อย่างไรก็ตามสำหรับทีม ผู้ชำนาญที่มีการสำรวจ และเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดี การล่องแก่งเกรด 6 ในช่วง โอกาสที่ระดับน้ำเหมาะสมก็อาจเป็นไ ปได้เช่นกัน

………………………………………………………………

อุปกรณ์ที่ใช้ในการ ล่องแก่ง อุปกรณ์ตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อใช้ ล่องแก่งประกอบด้วย

1. เรือยาง/ แพยาง (Whitewater Rafts)
2. เสื้อชูชีพ (Life Jacket or Personal Flotation Device : PFD)
3. ไม้พาย (Oars)
4. หมวกนิรภัย (Helmets)
5. ถุงเชือกช่วยชีวิต (Throw Bags)
6. อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aids)

เทคนิคการพายเรือ การบังคับแพ และการใช้คำสั่ง

1. หลักการพายเรือล่องแม่น้ำ หลักการ ล่องแก่ง เราจะต้องศึกษาสายน้ำก่อนพายเรือ ล่องแก่ง เปรียบเหมือนการขับรถที่จะต้องศึกษาเส้นทางก่อน หลักการพายเรือ อย่ามองเฉพาะที่หัวเรือ ให้มองสายน้ำที่ต้องการจะไป และมองสิ่งกีดขวางระหว่างทาง เช่น โขดหินที่มองเห็นได้ง่ายรวมทั้งหินใต้น้ำที่ทำให้เกิดกระแสน้ำเชี่ยวกราก ต้องหยุดเรือเหนือแก่งอ่านกระแสน้ำ โดยพิจารณาถึงลักษณะของหิน และทิศทางการไหลของน้ำ โดยยืนขึ้นมองหรือหยุดเรือเดินขึ้นฝั่งไปสำรวจว่า ควรจะนำเรือไปในแนวทางใด
2. การจับพายและวิธีการพายเรือ ลักษณะของไม้พายสำหรับการ ล่องแก่งโดยทั่วไปจะเป็นพายใบเดียว มีด้ามจับเป็นรูปตัวที มี 2 ขนาดคือ ขนาดสำหรับฝีพายด้านข้าง และขนาดสำหรับนายท้ายเรือ ลักษณะการจับพายให้เอานิ้วโป้งสอดเข้าไปใต้แง่งของตัวที สี่นิ้วที่เหลือกำด้านบนด้ามพาย มืออีกข้างหนึ่งให้จับกึ่งกลางระหว่างด้ามพาย
3. การนั่งเรือและการจัดตำแหน่งฝีพาย
-ตำแหน่งหัวเรือให้ร่างกายทุกส่วนอยู่ภายในเรือ เท้าซ้ายและขวาให้สอดอยู่ใต้ท่อลมข้างเรือทั้งสองข้าง หันหน้าไปทิศทางเดียวกับหัวเรือ
-ตำแหน่งนายท้ายเรือให้นั่งบนท่อลมด้านหลัง เท้าซ้ายและขวาให้สอดอยู่ใต้ท่อลมข้างลำเรือทั้งสองข้าง หันหน้าไปทางเดี่ยวกับหัวเรือ
-ตำแหน่งฝีพายด้านซ้ายให้นั่งพับขาซ้ายบนท่อลมข้างซ้าย สอดเท้าซ้ายให้อยู่ใต้ท่อลมเรือหรือลูกบวบลม
-ตำแหน่งฝีพายด้านขวาให้นั่งพับขาขวาบนท่อลมข้างขวา สอดเท้าขวาให้อยู่ใต้ท่อลมเรือหรือลูกบวบลม

วิธีการพาย และการสั่งพาย

1. การพายเดินหน้า คำสั่งคือ “พาย” ให้ฝีพายทุกคนยื่นพายจ้วงไปข้างหน้า จุ่มใบพายให้จมทั้งหมดแล้วลากไปข้างหลัง
2. การพายถอยหลัง คำสั่งคือ “ถอยหรือทวน” ให้ฝีพายทุกคนจุ่มพายไปข้างหลัง แล้วผลักมาด้านหน้า
3. การเลี้ยวขวาให้นายท้ายสั่งฝีพายว่า “ซ้ายพาย ขวาทวน”
4. การเลี้ยวซ้าย ให้นายท้ายสั่งฝีพายว่า “ซ้ายทวน ขวาพาย”
5. “หมอบ”ให้ทุกคนใช้มือข้างที่จับด้ามพายดึงพายเข้าในเรือ มืออีกข้างหนึ่งจับเชือกข้างเรือแล้วเอนตัวเข้ามาในเรือ ก้มหน้าหมอบไปข้างหน้า คำสั่ง “หมอบ” จะใช้ในสถานการณ์ที่เรือพุ่งผ่านพุ่มไม้หรือหลืบหิน
6. “เอนตัว” ให้ทุกคนใช้มือข้างที่จับไม้พายดึงพายเข้ามาให้เรือ มืออีกข้างหนึ่งจับเชือก แล้วเอนตัวเข้ามาในเรือ คำสั่ง “เอนตัว” จะใช้ในสถานการณ์เมือเรือลงแก่งใหญ่หรือแก่งน้ำ
7. “ถ่ายน้ำหนัก…ไป….” ให้ทุกคนจับไม้พายแล้วลุกย้ายไปยังตำแหน่งที่สั่งอย่างรวดเร็ว คำสั่งนี้จะใช้ในสถานการณ์ที่เรือเอียงเนื่องจากติดหิน เกยหิน แล้วน้ำกดให้เรือเอียง

……………………………………………………

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการล่องแก่ง

ที่มา : http://talk.edtguide.com