ที่เที่ยวห้ามพลาด ที่เที่ยวอินเดีย นครจัยปูร์ มหานครสีชมพู เมืองชัยปุระ

7 จุดเช็คอินห้ามพลาด! มหานครสีชมพู “จัยปูร์” ประเทศอินเดีย

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / 7 จุดเช็คอินห้ามพลาด! มหานครสีชมพู “จัยปูร์” ประเทศอินเดีย

ไปเที่ยวอินเดียกันไหม? ถ้ามีเพื่อนชวนเราคำตอบคือ??? เคยลองชวนเพื่อนๆ ดูเล่นๆ จะมีสักกี่คนที่จะตอบรับโดยไม่มีคำถามในใจ… ชวน 10 คนได้คำตอบมา 1 คน พร้อมคำถามมากมายตามมา ไปเมืองไหน กินนอนยังไง ไม่กินเครื่องเทศจะมีไรอื่นกินได้ไหม ขอทานเยอะไหม เราจะทนกลิ่นได้หรือเปล่า ไม่อันตรายใช่ไหม สารพัดคำถาม *%@฿๕* .. และนี่คือความเป็นจริงที่เราได้ไปสัมผัสมา ณ มหานครสีชมพู “จัยปูร์” ประเทศอินเดีย

7 จุดเช็คอินห้ามพลาด! มหานครสีชมพู
“จัยปูร์” ประเทศอินเดีย

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

ผู้คนยังคงจดจำเรื่องราว เรื่องเล่าของอินเดียในแง่มุมที่ฟังเขาเล่ามา ข่าวเขาว่าแบบนั้น ซึ่งบางอย่างก็ไม่ผิด การที่เราได้มาสัมผัสประเทศอินเดียด้วยตาตัวเอง ทำให้เราได้เห็นในอีกมุมมอง ทำให้เข้าใจอัตลักษณ์ของชาวอินเดียมากขึ้น “ยิ่งเห็น ยิ่งเข้าใจ” ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ในอินเดียตามคอนเซปส์ประเทศ “Incredible India” จริงๆ

สำหรับทริปนี้เป็นส่วนหนึ่งให้เราได้เรียนรู้ สัมผัสบรรยากาศความเป็นอินเดี๊ย อินเดีย (ถ้าอยากเดินถ่ายรูปชิลล์ๆ อากาศดีๆ แนะนำให้มาช่วงหน้าหนาว พ.ย.-ก.พ) ไปชมความงานของสถาปัตยกรรมและป้อมปราการแห่งเมือง “ชัยปุระ หรือ “จัยปูร์” (Jaipur) เมืองท่องเที่ยวสำคัญของรัฐราชสถาน และความนิยมจากนักท่องเที่ยวอันดับ 7 ของประเทศอินเดีย ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวในตัวเมืองชัยปุระมีประวัติศาตร์ยาวนานไม่ต่ำกว่า 300 ปี โดยมหาราชาไสว จัย ซิงห์ที่ 2 (Maharaja Sawai Jai Singh ll) ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง มหานครสีชมพู แห่งนี้ รวม 7 จุดเช็คอินสำคัญที่ห้ามพลาดเมื่อมาถึงเมืองชัยปุระ

1. พระราชวังหลวง (City Palace)

พระราชวังหลวง (City palace)

พระราชวังนี้ มีชื่อเสียงในเรื่องของงานจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามมาก เห็นแล้วเชื่อเหลือเกินว่าลายผนัง กระเบื้องงามๆ ในโลกอยู่ที่พระราชวังในเมืองชัยปุระหมดแล้วจริงๆ ทั้งงานแกะสลักและงานตกแต่งแก้วสี  ภายในมีสวนและพระตำหนักต่างๆ มากมาย หลายส่วนได้ก่อสร้างเพิ่มเติม ซ่อมแซมจนเห็นความใหม่ ภายในพระราชวังแห่งนี้ได้ชัดเจน

ปัจจุบันนอกจากส่วนที่เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงทรัพย์สมบัติของอดีตมหาราชาและมเหสีต่างๆ อาทิ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ของใช้ รวมถึงภาพวาด ภาพถ่าย เพื่อแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของมหาราชา อีกทั้งโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปเข้าชม และบางส่วนยังเป็นที่อยู่อาศัยของทายาท และมหาราชาองค์ปัจจุบันด้วย นอกจากนี้ยังมีร้านค้าขายของที่ระลึก ร้านหนังสือ เครื่องประดับ และร้านอาหาร

เปิดให้เข้าชม : 09.00 – 16.30 น.
ค่าเข้าชม : 200 รูปี

พระราชวังหลวง (City palace)

พระราชวังหลวง (City palace)

พระราชวังหลวง (City palace)

พระราชวังหลวง (City palace)

พระราชวังหลวง (City palace)

พระราชวังหลวง (City palace)

พระราชวังหลวง (City palace)


2. หอดูดาว “จันทาร์ มานทาร์”
(Jantar Mantar)

หอดูดาว "จันทาร์ มานทาร์" (Jantar Mantar)

จันทาร์ มานทาร์ (Jantar Mantar) ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของ city palace เป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองจัยปูร์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1727 โดยมหาราชาไสวจัย ซิงห์ที่ 2

เนื่องจากทรงสนพระทัย และมีพระปรีชาในเรื่องดาราศาสตร์ จึงได้สร้างหอดูดาวแห่งนี้มาพร้อมๆ กับการสร้างพระราชวังซิตี้พาเลซ (city palace) ภายในจันทาร์ มานทาร์ มีหอนาฬิกาแดดขนาดใหญ่ซึ่งวัดเวลาได้อย่างแม่นยำ ในสมัยโบราณใช้เป็นเครื่องมือสำคัญใช้คำนวณฤกษ์เวลาในการออกรบ

หอดูดาว "จันทาร์ มานทาร์" (Jantar Mantar)

หอดูดาว "จันทาร์ มานทาร์" (Jantar Mantar)

นอกจากนี้แล้ว มหาราชาไสวจัย ซิงห์ที่ 2 ยังได้สร้างหอดูดาวในลักษณะนี้อีก 4 แห่งด้วยกันคือ ใจกลางเมืองเดลี,  Ujjain, Varanasi และ Matura นาฬิกาแดดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะอยู่ที่จัยปูร์มีความสูงถึง 28 เมตร ที่มีความเที่ยงตรง บอกเวลาที่เมืองชัยปุระ ซึ่งเวลาจะไม่ตรงกับเวลามาตรฐานของอินเดีย (ช้ากว่า 35 นาที)

หอดูดาว "จันทาร์ มานทาร์" (Jantar Mantar)

จันทาร์ มานทาร์ ได้รับยกย่องจากยูเนสโกว่า”เป็นการแสดงออกถึงความชาญฉลาดทางดาราศาสตร์และแนวความคิดทางจักรวาลวิทยาของราชสำนักในช่วงปลายของยุคโมกุล” และได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกในปี 2010

หอดูดาว "จันทาร์ มานทาร์" (Jantar Mantar)

หอดูดาว "จันทาร์ มานทาร์" (Jantar Mantar)


3. พระราชวังสายลม (Hawal Mahal)

พระราชวังสายลม (Hawal Mahal)

ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของ city palace เป็นพระราชวังที่สร้างด้วยหินทรายสีชมพู หน้าตาคล้ายรวงผึ้งแกะสลัก ดูเหมือนจะเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองชัยปุระ กับช่องหน้าต่างให้มองดูผู้คนของเหล่านางใน

พระราชวังสายลม (Hawal Mahal)

พระราชวังสายลม เคยเป็นฮาเร็มของมหาราชา มีลักษณะเป็นอาคาร 5 ชั้น สร้างด้วยหินทรายสีออกแดง มีสถาปัตยกรรมสไตล์เปอร์เซียกับโมกุลที่สวยเด่น คือ ลวดลายฉลุหินตามหน้าต่าง ช่องระบายอากาศที่บรรดานางสนมในวังใช้เป็นที่แอบดูชีวิตความเป็นอยู่ของสามัญชนทั่วไป ด้วยการออกแบบหน้าต่างให้มีความมิดชิดเป็นส่วนตัว และประโยชน์อีกอย่าง คือเป็นช่องแสงและช่องลม มีช่องหน้าต่างจำนวนมากถึง 152 ช่อง

เปิดให้เข้าชมเวลา : 09.00-16.30 น ทุกวัน ยกเว้นวันศุกร์
ค่าเข้าชม : 30 รูปี

พระราชวังสายลม (Hawal Mahal)

พระราชวังสายลม (Hawal Mahal)


4. วัดพระพิฆเณศ (Ganesh temple)

วัดพระพิฆเณศ (Ganesh temple)

สร้างขึ้นโดย เสธอึ๊ง รามปาลีวาล ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงด้วยความเป็นมงคลขององค์พระพิฆเนศวร นับเป็นไฮไลท์สำคัญที่มีผู้คนทั้งใน และนอกเมืองชัยปุระต่างนิยมเข้าชมเคารพบูชา เพื่อเป็นมงคลในชีวิตประจำวัน และเพื่อค้นหาของความสุขนิรันดร์

วัดพระพิฆเณศ (Ganesh temple)

พระพิฆเนศช้างหัวเทพในศาสนาฮินดูถือว่าเป็นพระเจ้าแห่งความเป็นมงคล ภูมิปัญญาความรู้และความมั่งคั่ง จึงทำให้วัดพระพิฆเณศนี้มีผู้คนศรัทธาเข้ามาสักการะโดยนิยมนำขนมโมทกะมาถวายท่านอย่างไม่ขาดสาย

วัดพระพิฆเณศ (Ganesh temple)


5. แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

พระราชวังแอมเบอร์ฟอร์ท เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของชัยปุระ มีที่ตั้งโดดเด่นอยู่บนผาหินเหนือทะเลสาบเมาตา (Maota) สร้างโดยมหาราชา มาน สิงห์ที่ 1 ป้อมปราการแห่งนี้มีชื่อเสียงทางด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งผสมผสานกันระหว่างศิลปะฮินดู และศิลปะราชปุตอันเป็นเอกลักษณ์

สามารถมองเห็นได้จากระยะทางไกล เนื่องจากมีขนาดกำแพงปราการที่ใหญ่และแน่นหนา

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

เมื่ออยู่บนป้อมแล้วสามารถมองเห็นทะเลสาบเมาตา (Maota) ได้อย่างชัดเจน

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

ภายในพระราชวังแอมเบอร์ จะมีรายละเอียดบนผนังที่สวยงาม ปราณีต มีลวดลายอ่อนช้อยงดงามควรค่าแก่การชมยิ่งนัก และ มีสวน Char Bagh อยู่ภายในพระราชวัง จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของพระราชวังแอมเบอร์คือการจัดการระบบน้ำโดยการนำน้ำจากทะเลสาบเมาตา( Maota) มาใช้ในห้องหับต่างๆในพระราชวัง

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

สวน Char Bagh ภายในพระราชวัง

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

ส่วนการเดินทาง เราสามารถเดินทางขึ้นพระราชวังแอมเบอร์ฟอร์ทได้สองวิธี คือ การนั่งช้างหรือรถจิ๊ป
แน่นอนว่ารถจิ๊ปนั่งที่ไหนก็ได้ เราเลือกนั่งช้าง ได้ฟีลลิ่งกว่าเยอะ!

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)

แอมเบอร์ ฟอร์ท (Amber fort)


6. ป้อมชัยคฤห์ (Jaigarh fort)

ป้อมชัยคฤห์ (Jaigarh fort)

ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา “ชีลกาทีลา” อยู่สูงเหนือกว่าป้อมแอมแมร์ ขึ้นไปไม่ไกลนัก สร้างโดยมหาราชาไสวจัย ซิงห์ที่ 2 เพื่อใช้สำหรับอารักขาป้อมและพระราชวังแอมแบอร์

การออกแบบทางโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับป้อมแอมเมอร์ และยังนิยมเรียกกันว่า “ป้อมชัย” (ป้อมแห่งชัยชนะ) ในป้อมแห่งนี้เป็นที่ตั้งของปืนใหญ่ “ชัยวนา” (Jaivana) ซึ่งมีน้ำหนักถึง 50 ตัน ซึ่งได้ทำการหลอมโลหะและผลิตภายในป้อมแห่งนี้ โดยในขณะที่สร้างนั้นถือเป็นปืนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ป้อมชัยคฤห์ (Jaigarh fort)

ป้อมชัยคฤห์ (Jaigarh fort)

ป้อมชัยคฤห์ (Jaigarh fort)

ป้อมชัยคฤห์ (Jaigarh fort)


7. พระราชวังฤดูร้อน (Jal Mahal)

พระราชวังฤดูร้อน (Jal Mahal)

พระราชวังฤดูร้อน มีไว้สำหรับราชวงศ์ เพื่อใช้พักผ่อนคลายร้อน ตั้งอยู่กลางทะเลสาบมันสกา (Man Sagar) โดยพระราชวังแห่งนี้ได้ทิวทัศน์ที่สวยงามของทะเลสาบและเทือกเขานหาร์การห์เป็นฉากหลัง ตัวอาคารสร้างโดยใช้หินทรายสีแดงเป็นอาคาร 5 ชั้นซึ่ง 4 ชั้นล่างจะถูกน้ำท่วมเมื่อทะเลสาบมีระดับน้ำสูงสุดโดยเหลือเพียงชั้นบนสุดซึ่งจะเผยขึ้นมาเหนือน้ำ

พระราชวังฤดูร้อน (Jal Mahal)

พระราชวังฤดูร้อน (Jal Mahal)

พระราชวังฤดูร้อน (Jal Mahal)

พระราชวังฤดูร้อน (Jal Mahal)


นอกเหนือจาก สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของมหานครสีชมพู ชัยปุระ แล้ว การเดินดู ถ่ายภาพ วิถีชีวิตผู้คนตามท้องถนน ตลาดต่างๆ ในช่วงอากาศเย็นสบายกำลังดี ก็น่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากัน และยิ่งคราวนี้เราไปเจอช่วงเทศกาลว่าว ของเมืองชัยปุระพอดี (ปีนี้ตรงกับวันที่14-15 มกราคม) ผู้คนจะดูคึกคักพร้อมใจเล่นว่าวกันทั้งเมือง บนดาดฟ้าบ้านเรือน บนท้องถนน บนพื้นที่โล่งๆ ขอเพียงว่าวแทรกตัวเล่นได้ไม่มียกเว้น จะมีเชือกว่าวระโยงระยางเต็มไปหมด

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

เที่ยวอินเดีย เมืองจัยปูร์

ความสุขอันเรียบง่ายของชาวเมืองชัยปุระที่เรียกรอยยิ้มทั้งคนเล่นและคนดู คนถ่ายรูปเขาก็ต้องระวังเชือกว่าวกันเอง รถยนต์ที่วิ่งไปมาก็ต้องระวังทั้งคนทั้งเชือกว่าว สนุกปนอลหม่านนิดๆ นี่คืออิสระแบบอินเดียไม่สนใจสิ่งใดๆ เลยนอกจากความสุขตรงหน้า …. Incredible India ของแท้ต้องมาสัมผัสที่อินเดียเท่านั้น 🙂

สำหรับเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ชัยปุระ เปิดให้บริการ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ คือวันอังคาร, พฤหัสบดี และวันเสาร์ เส้นทางชัยปุระ-กรุงเทพฯ เปิดให้บริการ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์เช่นกัน คือวันพุธ, วันศุกร์ และวันอาทิตย์ ให้บริการใน 2 ชั้นโดยสารได้แก่ ชั้นพรีเมี่ยมอีโคโนมี่ หรือ Smile PLUS และชั้นอีโคโนมี่ หรือ Smile Class ราคาเริ่มต้นที่ 4,510 บาท รายล่ะเอียดเพิ่มเติม www.thaismileair.com