ที่เที่ยวนครปฐม หอภาพยนตร์

“หอภาพยนตร์” เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จ.นครปฐม

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / “หอภาพยนตร์” เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จ.นครปฐม

ที่แห่งนี้จะพาเราย้อนเข้าไปในยุคอดีต สมัยที่ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่ของเราตอนเด็กๆ ได้ชมภาพยนตร์กันในยุคนั้นๆ เป็นสถานที่ที่รวมประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของไทย รวบรวมภาพยนตร์และสิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์ ทั้ง ฟิลม์  สิ่งพิมพ์ การโฆษณาเผยแพร่ภาพยนตร์ วัตถุและอุปกรณ์เกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ หนังสือและวารสารเกี่ยวต่างๆ ที่หาดูได้ยากและมีคุณค่า

“หอภาพยนตร์”
เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย

จังหวัดนครปฐม

"หอภาพยนตร์" เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จังหวัดนครปฐม

"หอภาพยนตร์" เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จังหวัดนครปฐม "หอภาพยนตร์" เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จังหวัดนครปฐม

หอภาพยนตร์ได้อนุรักษ์เก็บรักษาไว้ อีกทั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด มีการจัดนิทรรศการกลางแจ้ง รวมฉากสถานที่ที่เป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์โลกไว้ ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของตนเองไม่น้อยหน้าประเทศใดในโลกโดยเฉพาะมีการผลิตภาพยนตร์มาก เคยติดอยู่ในอันดับที่ 12 ของประเทศผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ของโลก คือผลิตภาพยนตร์เรื่องมากว่า 100 เรื่องต่อปีเลยทีเดียว

โรงหนังตังค์แดง (Nikelodeon)

"หอภาพยนตร์" เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จังหวัดนครปฐม

จำลองโรงหนังถาวรแรกมีในโลกซึ่งดัดแปลงขึ้นจากห้องแถวหลาย ๆ ห้องทำเป็นโรงมหรสพ เก็บค่าเข้าชมเพียง 5 เซ็นต์ หรือ 1 นิเกิล เมื่อรวมกับคำภาษากรีกว่า โอเดียน ซึ่งแปลว่า โรงมหรสพ ชาวบ้านจึงนิยมเรียกโรงมหรสพราคาถูกแบบนี้ว่า นิเกิลโลเดียน (หรือถ้าเป็นไทยก็อาจเรียกว่า โรงหนังตังค์แดง) เริ่มเปิดแห่งแรกที่เมืองพิทท์สเบิร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย ในปี พ.ศ. 2448 ก่อนจะขยับขยายไปทั่วอเมริก

บรรยากาศภายในโรงหนังตังค์แดง Nikelodeon

โรงหนังตังค์แดง Nikelodeon


โรงละครมงคลบริษัท (Mongkol Company Theatre)

โรงละครมงคลบริษัท Mongkol Company Theatre

โรงละครสมัยรัชกาลที่ 5 ของหม่อมเจ้าอลังการ ชาวบางกอกเรียกกันว่าโรงละครหม่อมเจ้าอลังการ เปิดกิจการเมื่อ พ.ศ. 2439 เป็นโรงมหรสพที่โอ่โถงและคึกคักที่สุดของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น

ปีต่อมามีฝรั่งไม่ทราบสัญชาติ ชื่อ เอส. จี. มาร์คอฟสกี มาขอเช่าโรงเพื่อแสดงการละเล่นแปลกใหม่ เรียกว่า ซีเนมาโตรแครฟ คือรูปที่สามารถกระดิกแลทำท่าทางต่าง ๆ ได้ และเก็บค่าดูจากสาธารณชนเป็นครั้งแรกในสยาม เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ถือเป็นวันกำเนิดภาพยนตร์ในสยาม


มายาพาณิชย์ (Maya Panich)

มายาพาณิชย์ Maya Panich

มายาพาณิชย์ Maya Panich

ร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกของหอภาพยนตร์ อาทิ พวงกุญแจ กระเป๋าผ้า เสื้อ แสตมป์ แก้วน้ำ ร่ม ฯลฯ รวมทั้งดีวีดีภาพยนตร์ ตลอดจนหนังสือและวารสารที่จัดพิมพ์โดยหอภาพยนตร์ ตั้งอยู่ในมงคลบริษัท


ประตูสามยอด (Sam Yot City Gate)

ประตูสามยอด Sam Yot City Gate
ประตูเมืองกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บริเวณต้นถนนเจริญกรุง และถูกรื้อถอนไปในช่วงปลาย รัชสมัย อดีตเป็นย่านชุมชนการค้าที่คึกคัก มีทั้งโรงบ่อน โรงหวย โรงมหรสพ และที่หลังโรงหวยริมประตูสามยอดนี้ เป็นที่ตั้งของโรงละครหม่อมเจ้าอลังการ สถานที่จัดฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในสยาม ถือเป็นหลักหมายเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในประเทศไทย


สถานีรถไฟศีนิมา

สถานีรถไฟศีนิมา
จำลองอาคารสถานีรถไฟสมัยรัชกาลที่ ๗ ในสถานีมีขบวนรถไฟสายภาพยนตร์จอดเทียบชานชาลาอยู่ นำขบวนด้วยหัวรถจักรไอน้ำ C56 ของญี่ปุ่น ที่กองทัพญี่ปุ่นส่งเข้ามาประจำการในภารกิจสงครามในประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ่วงต่อด้วยตู้โดยสารชั้น ๑ ที่ภายในจัดแสดง “นิทรรศการภาพยนตร์กับรถไฟ” จอดรอรับผู้โดยสารเพื่อพาสู่โลกของภาพยนตร์ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับรถไฟมาอย่างยาวนาน


รถหนังขายยา

รถหนังขายยา

หนังขายยา มหรสพยอดนิยมของชาวบ้านทุกท้องถิ่นทั่วประเทศที่เฟื่องฟูอย่างยิ่งช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว ภายในนิทรรศการจัดแสดงรถฉายหนังขายยาของห้างขายยาเพ็ญภาคตราพระยานาค

วัตถุจัดแสดงชิ้นเอกประจำพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย อวดโฉมโดดเด่นท่ามกลางบรรยากาศการฉายหนังขายยายามค่ำคืน นอกจากนี้ยังมีฉากหนังขายยาจากภาพยนตร์ไทยเรื่องต่าง ๆ ให้ได้รับชม รวมทั้งจัดแสดงสิ่งของเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวข้องกับวิถีการชมภาพยนตร์ประเภทนี้


โรงถ่ายแบล็คมารีอา Black Maria

โรงถ่ายแบล็คมารีอา Black Maria
นิทรรศการกลางแจ้งจำลองโรงถ่ายหนังแห่งแรกของโลก “แบล็คมารีอา” ของโทมัส เอดิสัน ที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตภาพยนตร์ป้อนฉายในร้านถ้ำมอง คิเนโตสโคป ของเขา

รอบโรงถ่ายประดับแผ่นจารึกอนุสรณ์ของนักประดิษฐ์ผู้มีส่วนในการกำเนิดภาพยนตร์ เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ยุคเริ่มแรก พร้อมสัมผัสประสบการณ์การถ่ายหนังโบราณ โดยร่วมเป็นผู้แสดงในภาพยนตร์โบราณของหอภาพยนตร์เรื่อง “คนกินกล้วย” เพียงครั้งละ 100 บาท พร้อมจัดส่งดีวีดีหนังคนกินกล้วยให้ทางไปรษณีย์


ลานดารา

ลานดารา

ลานเกียรติยศดาราไทย จัดทำขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ดาราภาพยนตร์ไทย โดยเชิญมาประทับรอยมือรอยเท้า และจารึกชื่อบนลานดาราหน้าโรงภาพยนตร์ศรีศาลายา ซึ่งมีต้นแบบมาจาก Chinese Theatres ฮอลลีวูด เพื่อเป็นอมตนุสรณ์ให้แฟนภาพยนตร์และผู้สนใจได้เรียนรู้และรำลึก


โรงแรมสคริบ Hotel Scribe

"หอภาพยนตร์" เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จังหวัดนครปฐม

จำลองอาคารโรงแรมสคริบ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถานที่ซึ่งพี่น้องลูมิแอร์นำประดิษฐกรรมภาพยนตร์ของพวกเขาฉายภาพยนตร์ขึ้นจอเก็บค่าดูเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ภายในจัดแสดงนิทรรศการ Grand Café & Salon Indien ที่จะพาผู้มาเยี่ยมชมย้อนเวลาไปสู่วันที่ภาพยนตร์ถือกำเนิดขึ้นบนโลกอย่างเป็นทางการ


ร้านถ้ำมองคิเนโตสโคป (Kinetoscope Parlor)

"หอภาพยนตร์" เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จังหวัดนครปฐม

จำลองร้านแสดงเครื่องคิเนโตสโคป ประดิษฐกรรมภาพยนตร์แบบถ้ำมองของโทมัส เอดิสัน ผู้คิดค้นภาพยนตร์ได้สำเร็จเป็นรายแรก ๆ ของโลก แต่เป็นภาพยนตร์แบบใส่ไว้ในตู้ ๆ ละ 1 เรื่อง ๆ ละประมาณ 1 นาที ให้หยอดเหรียญดูได้ทีละคน เปิดให้บริการร้านแรกที่ย่านบรอดเวย์ในนิวยอร์ก เมื่อ พ.ศ. 2437 ได้รับความนิยมจนขยายกิจการไปยังเมืองใหญ่ทั่วอเมริกาและทั่วโลก

"หอภาพยนตร์" เที่ยวย้อนยุคภาพยนตร์ไทย จังหวัดนครปฐม

ถ้ำมองคิเนโตสโคป (Kinetoscope Parlor) : หนังถ้ำมอง คิเนโตสโคป ซึ่งถือได้ว่าเป็นประดิษฐกรรมชิ้นแรกๆของโลก ที่ประสบความสำเร็จในการทำภาพให้เคลื่อนไหวได้

ประดิษฐกรรมคิเนโตสโคป เป็นประดิษฐกรรมของ โทมัส อัลวา เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือมานับร้อยนับพันชนิด ตั้งขึ้นเมื่อปี 1894 หรือ พ.ศ.2437 ร้านแรกตั้งอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

หนังทุกเรื่องที่ฉายในร้านหนังถ้ำมองนี้ จะถูกถ่ายทำขึ้นในโรงถ่ายแห่งแรกของโลกที่ชื่อว่า แบล็คมารีอา และเมื่อตัดต่อเสร็จสิ้น จะนำมาจัดฉายที่ร้านในลักษณะถ้ำมองแบบนี้ ซึ่งคิเนโตสโคปที่จัดแสดงในส่วนนี้สามารถชมได้โดยการหยอดเหรียญสิบบาทที่บริเวณหน้าตู้ และก้มดูจากช่องดูด้านบน


ซาลอน อินเดียน Salon Indien

ซาลอน อินเดียน Salon Indien

ส่วนจัดแสดงแห่งนี้คือนิทรรศการ การจำลองฉายหนังขึ้นจอครั้งแรกของโลก นักประดิษฐ์สองพี่น้องชาวฝรั่งเศสนามว่า พี่น้องลูมิแอร์ ได้เผยประดิษฐกรรมชิ้นใหม่ของตนให้ชาวโลกได้เห็นในชื่อว่า ซีนีมาโตกราฟ

การเช่าสถานที่ห้องโถงใต้ดินร้านกาแฟกร็องด์คาเฟ่ ที่ตั้งอยู่ในโรงแรมสคริบบ์ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในคืนวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2438 หรือปีค.ศ.1895 ในค่ำคืนนั้นมีคนเข้าชมเพียง 33 คนเท่านั้น

โดยในห้องนี้ได้จำลองบรรยากาศการชมภาพยนตร์ที่ฉายขึ้นจอและเก็บค่าเข้าชมตามธรรมเนียมของการดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ภายในค่ำคืนดังกล่าวจริงๆ เพื่อให้ทุกท่านได้สัมผัสและดื่มด่ำไปกับความรู้สึกนั้นในวันแรกที่ถือได้ว่าเป็นวันเกิดภาพยนตร์โลก


กร็องด์คาเฟ่ Grand Café

จำลองร้านกาแฟในฉากโรงแรมสคริบบ์
โดยภายในนี้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มหลากหลายชนิด ขนม และไอศกรีม

กร็องด์คาเฟ่ Grand Café

กร็องด์คาเฟ่ Grand Café

ที่อยู่ : 94 หมู่ 3 ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล นครปฐม 73170
โทรศัพท์ :
02-4822013, 02-4821087-88
เปิดให้บริการ
:

  • ห้องสมุด : วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00 น.
  • พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยและเมืองมายา : วันเสาร์ – อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันละ 5 รอบ เวลา 10.00 น. 11.00 น. 13.00 น. 14.00 น. และ 15.00 น.
  • โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา    วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.30 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 13.00 น. 15.00 น. และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 13.00 น. (กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมในวันดังกล่าว)

เว็บไซต์ : http://www.fapot.org/th/home.php
ฟสบุ๊ค : https://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage/


10 ที่กินเที่ยวนครปฐม ใกล้กรุงเทพแค่เนี่ย!

อ่านเพิ่มเติม : 10 ที่กินเที่ยวนครปฐม ใกล้กรุงเทพแค่เนี่ย!