เวียงกุมกาม เมืองหลวงล้านนาที่ถูกลืม เชียงใหม่

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / เวียงกุมกาม เมืองหลวงล้านนาที่ถูกลืม เชียงใหม่

เวียงกุมกาม, เชียงใหม่

วันนี้ Travel MThai ขอพาสมาชิกมิตรรัก ท่องเที่ยวย้อนรอยเชิงประวัติศาสตร์ อดีตเมืองหลวงแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ ก่อนจะมีการก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ ดังในปัจจุบันนี้ คือ เวียงกุมกาม อดีตเมืองหลวงโบราณที่ถูกลืมของอาณาจักรล้านนา นั่นเอง

เวียงกุมกาม เชียงใหม่

เวียงกุมกาม เมืองโบราณอายุกว่า 727 ปี เป็นเมืองที่ “พญาเม็งรายกษัตริย์แห่งโยนกนครได้สถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของล้านนา แต่ “เวียงกุมกาม” ก็เป็นเมืองหลวงได้ไม่นานประมาณ 12 ปี เพราะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี พญามังรายจึงโปรดให้สร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ซึ่งมีชัยภูมิที่ดีกว่า เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ “เวียงกุมกาม” ก็ไม่สิ้นความสำคัญด้วยเป็นเมืองบริวารที่มีความใกล้ชิดกับเวียงเชียงใหม่ จนถึงสิ้นราชวงค์มังราย

เวียงกุมกาม เชียงใหม่

หลังจากนั้น เวียงกุมกาม ล่มสลายลง เพราะถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่ น้ำไหลบากเอาดิน โคลนจากแม่น้ำปิงมาทับถมเมืองนี้ ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมใต้ตะกอนดินจนยากจะฟื้นฟูเป็นเวลาถึง 700 กว่าปี ประกอบกับอุทกภัยครั้งนั้น แม่น้ำปิงได้เปลี่ยนร่องน้ำไม่ไหลผ่านเวียงกุมกามดังเคย “เวียงกุมกาม” จึงถูกทิ้งร้างอยู่ใต้ตะกอนดินมานับร้อยๆ ปี และชื่อของ “เวียงกุมกามก็ได้เลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ จนเชื่อกันว่า “เวียงกุมกาม” เป็นเพียงเมืองในตำนาน

เวียงกุมกาม เชียงใหม่

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2527 เมื่อหน่วยศิลปากรที่ 4 ได้ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งใน เวียงกุมกาม ทำให้เรื่องราวของ “เมืองในตำนาน” แห่งนี้ปรากฏเป็นเรื่องขึ้น และจากการศึกษาค้นคว้าของนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ ทำให้เชื่อได้แน่นอนว่าโบราณสถาน ในเขตท้องที่หมู่ที่ 11 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพียง 5 กิโลเมตรนั้น ก็คือ “เวียงกุมกาม” หรือ “เวียงเก่า”

เวียงกุมกาม เชียงใหม่

ก่อนที่จะมี “เวียงเชียงใหม่” และการล่มสลายไปเพราะอุทกภัยครั้งใหญ่ จนกลายเป็นเมืองใต้พิภพก่อนที่อาณาจักรล้านนาจะล่มสลายทำให้โบราณสถานใน เวียงกุมกาม มีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้ในการศึกษาแบบแผนของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นรากฐานในการศึกษาที่สำคัญของวัฒนธรรมล้านนาในยุคต่อๆ มา

เวียงกุมกาม เชียงใหม่

แม้ว่าจะมีการขุดค้นพบนครใต้พิภพ เวียงกุมกาม ไม่ถึง 30 ปีที่ผ่านมา โดยหน่วยงานศิลปากรที่ 4 ถือว่าการฟื้นฟูให้ เวียงกุมกามกลับมามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอีกครั้ง เพื่อเผยแพร่วัตฒนธรรมล้านนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่

ติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูล เวียงกุมกาม เบอร์โทรศัพท์/แฟกซ์ 053-140322
อัตราค่าบริการท่องเที่ยว ค่าเข้าชมศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ท่านละ 10 บาท
รถม้า คันละ 200 บาท
รถราง
1 – 10 คน คันละ    300     บาท
11 – 15 คน คันละ    350     บาท
16 – 20 คน คันละ    400    บาท

เวียงกุมกาม เชียงใหม่

 

ภายใน เวียงกุมกาม มีจุดท่องเที่ยว มีทั้งหมด  10 จุด

ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม

sood

วัดกู่ป้าด้อม

wat-koo-pa-dhom

อยู่นอกเขตเยงกุมกามติดแนวคูเมือง กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยวิหารเจดีย์ แท่นบูชา 2 แท่นล้อมรอบด้วยแนวกำแพงแก้ว อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินปัจจุบันถึง 2 เมตร วัดนี้น่าจะก่อสร้างขึ้นในระยะที่พญามังรายประทับอยู่ที่เวียงกุมกาม ระหว่างปี พ.ศ.1835-1839 และคงสภาพเป็นวัดอยู่เรื่อยมา ซึ่งปรากฏร่องรอยการฉาบผิวนอกของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ด้วยปูนขาวมากที่สุดในบรรดาวัดร้างของเวียงกุมกาม และยังพบหลักฐานการก่อกำแพงแก้วของวัดที่สมบูรณ์ที่สุด สถานที่ก่อสร้างประกอบด้วย เจดีย์ ประธาน วิหาร แท่นบูชา ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว

 

วัดช้างค้ำ (กานโถม)

goomgam26

เอกสารพงศาวดารโยนกระบุว่า พญามังรายโปรดให้สร้างวัดกานโถมขึ้นในราวปี พ.ศ.1833 ประกอบด้วยฐานเจดีย์ กว้าง 12 เมตร สูง 18 เมตร ทำซุ้มคูหาสี่ทิศ ใช้พระพุทธรูปซ้อนเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างไว้พระพุทธรูป 4 องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืนองค์หนึ่ง มีรูปอัครสาวกโมคคัลลาน์ สารีบุตรและพระอินทร์ รูปนางธรณีไว้สำหรับพระพุทธรูปด้วย นอกจากนี้ ในบริเวณวัดกานโถมยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ที่ได้อัญเชิญเมล็ดจากเมืองลังกาใน ครั้งโบราณ และหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญนอกจากพบพระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชย จำนวนหนึ่ง แล้วยังพบจารึกหินทรายสีแดงเป็นอักษรมอญ อักษรที่มีลักษณะระหว่างอักษรมอญกับอักษรไทย และอักษรสุโขทัยและฝักขามรุ่นแรก

ภายในวัดกานโถมมีต้นโพธิ์เก่าแก่และพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ มีหอพญามังรายซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในละแวกนั้นมาแต่โบราณ

 

วัดอีค่าง

wat-e-kang

อยู่ติดกับแนวคูน้ำคันดินด้านตะวันตกของเวียง อยู่ลึกลงไปในผิวดิน ประมาณ 2 เมตร ประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เป็นแบบล้านนาเต็มตัว เจดีย์อีก้างนี้ จึงอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ในรัชสมัยของพระเจ้าเมืองแก้ว ประมาณ พ.ศ.2060

 

วัดหนานช้าง

wat-nan-chang

โบราณสถานข้างหน้านี้เป็นตัวอย่างที่บ่งบอกร่องรอยของอุทกภัยที่มีผลต่อ เวียงกุมกามในอดีตกาล ชั้นตะกอนทรายและชั้นดินที่ทับถมหนาถึง 1.80 เมตร วัดหนานช้างเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติแก่ บรรพบุรุษของเจ้าของที่ดิน ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ วัดนี้หันหน้าไปทางทิศเหนือ ต่างจากวัดส่วนใหญ่ที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก อาจเพราะสร้างเพื่อหันหน้าไปสู่เส้นทางสัญจรทางน้ำที่เรียกว่า “ปิงห่าง”

 

วัดปู่เปี้ย

wat-poo-pea

ตั้งอยู่บริเวณที่เข้าใจว่าเป็นแนวคูน้ำคันดิน ด้านทิศตะวันตกของเวียงกุมกาม อยู่ลึกลงไปจากปัจจุบันประมาณ 2 เมตร ประกอบด้วยวิหารเจดีย์อุโบสถ และส่วนประกอบปลีกย่อย เช่น แท่นบูชา ศาลผีเสื้อตั้งอยู่ด้านหน้า ส่วนองค์เจดีย์มีลักษณะศิลปกรรมแบบสุโขทัยและแบบล้านนารวมกันคือ มีเรือนธาตุสูงรับองค์ระฆังขนาดเล็ก อายุการสร้างเจดีย์ปู่เปี้ยน่าจะอยู่รัชสมัยของพญาติโลกราช คือในราว พ.ศ.1988-2068

 

วัดธาตุขาว

wat-pra-thaj-kao

ตั้งอยู่บริเวณที่เข้าใจว่าอยู่นอกแนวคูเมืองเวียงกุมกาม เยื้องออกไปทางทิศตะวันตกอยู่ลึกจากผิวดินปัจจุบันประมาณ 1 เมตร ประกอบด้วยเจดีย์และพระอุโบสถ ลักษณะสถาปัตยกรรมของเจดีย์เป็นเจดีย์กลม ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมแบบศิลปะล้านนา อายุอยู่ในราวพุทธศตรรรษที่ 21 ตรงประดิษฐานพระพุทธรูปในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปูนปั้นชำรุดขนาดใหญ่ ฉาบด้วยปูนขาวตกอยู่ เข้าใจว่า ชื่อของวัดคงเรียกตามลักษณะพระพุทธรูปนี้

 

วัดพญามังราย

paragraph_3_132

ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยเจดีย์อยู่หลังวิหาร อุโบสถและซุ้มประตูโขงอยู่ด้านหน้า ลักษณะเจดีย์เป็นศิลปะล้านนา ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยกเก็จรองรับเรือนฐานที่มีซุ้มพระ 4 ด้าน ประดับลวดลายปูนปั้นคล้ายกับเจดีย์ป่าสักเมืองเชียงแสน สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตรวรรษที่ 20

 

วัดพระเจ้าองค์ดำ

Dsc01005

ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเวียงกุมกามทางมุมด้านทิศเหนือ ภายในวัดมีเนิน โบราณสถาน เนินดินแรกอยู่ทางทิศเหนือ กว้างประมาณ 40 เมตร ยาวประมาณ 14 เมตร สูง 3.50 เมตร วางตัวทางแนวทิศเหนือ-ใต้ เนินดินนี้ชาวบ้านเรียกว่า “เนินพญามังราย”

วัดนี้คงเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของเวียงกุมกามเพราะพบสิ่งก่อสร้างหลายแห่ง อีกทั้งรูปแบบของอาคารแต่ละแห่งนั้นมีลักษณะเฉพาะของตนเอง อีกทั้งโบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่งบูรณะ เช่น พระพุทธรูปสำริดศิลปะล้านนาขนาดเล็กหลายองค์ พระพุทธรูปนาคปรกสำริดทรงเครื่องแบบศิลปะเขมร และพระพิมพ์แบบหริภุญไชย

 

วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู้คำ)

goomgam10 goomgam11 goomgam09 goomgam08 goomgam07 goomgam06 goomgam05 goomgam04

พญามังรายทรงใช้ขุดคูเมืองทั้ง 4 ด้าน เพื่อนำน้ำปิงเข้าสู่คูเมือง และตั้งลำเวียง (ค่าย) ไว้โดยรอบ และให้ขุดหนองสระไว้ใกล้ที่ประทับ และให้นำดินที่ขุดไปปั้นอิฐก่อเจดีย์เพื่อเป็นที่สักการะของประชาชนทั้งหลาย ขนาดฐานกว้าง 8 วา 1 ศอก สูง 22 วา ถอดแบบมาจากวัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นศิลปกรรมแบบลพบุรี มีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มทั้ง 4 ด้าน ๆ ละ 15 องค์ รวม 60 องค์

goomgam03 goomgam02

 

กล่าวกันว่าเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระชายาทั้ง 60 พระองค์ ยอดเจดีย์แหลมขึ้นไปเป็นตุ่มไม่มีฉัตรเหมือนเจดีย์ทั่ว ๆ ไป คล้ายสถูป จึงเรียกกันว่า “เจดีกู่คำ” ต่อมาปี พ.ศ.2451 หลวงโยนการวิจิตรได้ทำการบูรณะ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินงานลวดลายต่าง ๆ ทั้งชุบพระและองค์พระเหมือนศิลปกรรมพม่า ทั้งหมด 64 องค์

 

แผ่นที่ เวียงกุมกาม เชียงใหม่


View Larger Map

 เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลและภาพ : thawangtan.org / ฐานเศรษฐกิจ / wiki
เรียบเรียงโดย Travel MThai