เยือนสุดเขตไทย-พม่า กับบรรยากาศน่ารัก ณ หมู่บ้านนอแล

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / เยือนสุดเขตไทย-พม่า กับบรรยากาศน่ารัก ณ หมู่บ้านนอแล

สายฝนเริ่มมา ป่าไม้ก็ถึงคราวผลิดอกออกใบ กันเขียวขจีสมบูรณ์ ถึงเวลาที่จะทยานขึ้นที่สูง เพื่อผจญภัย..

เยือนสุดเขตไทย-พม่า กับบรรยากาศน่ารัก ณ หมู่บ้านนอแล

เยือนสุดเขตไทย-พม่า กับบรรยากาศน่ารัก ณ หมู่บ้านนอแล

ตามเส้นทางเชียงใหม่ – ฝาง ทางหลวงหมายเลข 107 ประมาณกิโลเมตรที่ 177 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว

เยือนสุดเขตไทย-พม่า กับบรรยากาศน่ารัก ณ หมู่บ้านนอแล

สองข้างทาง คือ บรรยากาศทิวทัศน์ของไร่ตามไล่เขา และยามเช้าจะมีหมู่เมฆหมอกปกคลุมทั่วหุบเขาโดยรอบ ราวกับเป็นเส้นทางสู่สวรรค์ เส้นทางสายนี้จะบรรจบสุดที่ หมู่บ้านชายแดนพอดิบพอดีที่ชื่อว่า นอแล

ที่หมู่บ้านนอแล คือ หมู่บ้านในฐานปฏิบัติการชายแดน ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยรักษาความสงบในผืนแผ่นดินไทย ที่อยู่สุดเขตชายแดนไทย–พม่า มีต้นบ๊วย แผ่กิ่งก้านสาขา ผลิดอกรอต้อนรับผู้มาเยือน

หมู่บ้านนอแล เป็นหมู่บ้านของชาวไทย-ภูเขาเผ่าปะหล่อง ที่อพยพมาจากประเทศพม่า ที่นี่ถ้ามองไปฝั่งพม่า จะเห็นฐานที่ตั้งของพม่า ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร ได้อย่างชัดเจน และมีเพียงรั้วเท่านั้นที่กั้นไว้ มองดูก็จะเห็นทหารส่องกล้องมาทางเราบ่อยๆ
หมู่บ้านนอแล

เดิมที ณ ฐานปฏิบัติการทางทหารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดปะหล่อง และทำเป็นห้องเรียนเคลื่อนที่ แต่ภายหลังมีการสู้รบกันของชนเผาชายแดน จึงกลับกลายเป็นฐานปฏิบัติการทางทหาร เพื่อเฝ้ารักษาความสงบเรียบร้อยชายแดนแทน ซึ่งถ้าหากใครอยากรู้ว่าฐานปฏิบัติการทางทหารเป็นอย่างไร มาที่นี่ได้เห็นอย่างแน่นอน แถมยังได้เจอพี่ๆ ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่กันอย่างไม่ย่อท้อ

524717_634753243253511_377005385_n 1328616213

ประวัติศาสตร์ของพื้นที่ยังมีเพิ่มเติมอีกว่า บริเวณชายแดนนี้มีการอพยพของชนกลุ่มน้อยอยู่หลายครั้ง แต่ชนเผ่าปะหล่อง ได้มีการถวายฎีกาแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2527 เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จทรงงานที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง พระองค์จึงมีพระดำรัสให้ชนเผ่าปะหล่องอาศัยอยู่ที่บ้านนอแล

เยือนสุดเขตไทย-พม่า กับบรรยากาศน่ารัก ณ หมู่บ้านนอแล

ปัจจุบัน ฐานปฏิบัติการนอแล เปิดพื้นที่ให้คนทั่วไปได้แวะมาท่องเที่ยว การเดินทางมาเยือนทำให้เห็นถึงประวัติการต่อสู้เพื่อปกป้องประเทศ และได้เห็นในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีรับสั่ง ให้เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือชาวปะหล่อง ถึงแม้ว่าชนเผ่าปะหล่องจะไม่ใช่คนไทยแท้ อีกทั้งยังมีการส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมของชนเผ่าชาวปะหล่องอีกด้วย

เยือนสุดเขตไทย-พม่า กับบรรยากาศน่ารัก ณ หมู่บ้านนอแล

ชาวปะหล่อง จะเรียกตัวเองว่า ‘ดาระอัง’ ส่วนคำว่าปะหล่องนั้นเป็นภาษาไทยใหญ่ที่ใช้เรียกชมชนกลุ่มนี้ หมายถึง คนดอย หรือคนภูเขา คนที่นี่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย ทำไร่สตอเบอรี่ ไร่ขั้นบันได ถนอมอาหาร ทอผ้า

เยือนสุดเขตไทย-พม่า กับบรรยากาศน่ารัก ณ หมู่บ้านนอแล

เมื่อเดินทางมาถึงที่นี่จะมีมัคคุเทศก์น้อย เป็นเด็กๆ ชาวปะหล่อง อายุประมาณ 10 – 15 ปี ที่บรรดาผู้ใหญ่ฝึกมาเป็นอย่างดี ให้มาทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครต้อนรับและให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของเหล่ามัคคุเทศก์น้อยนั้น นอกจากจะคอยดูแลนักท่องเที่ยวแล้ว สำหรับสิ่งตอบแทนที่พวกเขาจะได้ เป็นเพียงสินน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ จากนักท่องเที่ยวที่ให้ด้วยความพึงพอใจ

1328617265

เด็กๆ ชาวเขา เหล่านี้น่ารัก พวกเขาจะไม่เรียกร้องสิ่งใดๆเป็นการตอบแทน แถมมัคคุเทศก์น้อยทุกคนต่างมีความตั้งใจ และมีรอยยิ้มพร้อมพลังอันเต็มเปี่ยมที่มอบให้แก่ผู้ที่มาเยือน

E6252909-10

บริเวณไม่ไกลจากฐานปฏิบัติการ จะมีไร่สตรอเบอรี่บ้านนอแล ที่อนุญาติให้เข้าไปถ่ายรูปในเขตไร่สตรอเบอร์รี่ที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามได้

แม้จะดูเหมือนว่าการมาเยือน ณ ฐานปฏิบัติบ้านนอแล จะไกลและทรหด แต่ทว่าก็คุ้มค่าสำหรับการมาเที่ยว ณ ถิ่นดอกบ๋วยของชาวปะหล่องแห่งนี้ ที่ยังคงมีประวัติศาสตร์ดีๆ และยังคงมีบรรยากาศน่ารักๆของคนไทย-ภูเขา ให้เราได้อิ่มใจ

บทความน่าอ่านจาก http://www.emaginfo.com ร่วมกับ travel.mthai.com

emaginfo1


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น