จังหวัดลพบุรี

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดลพบุรี

จังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดใน ภาคกลาง เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของประเทศ มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองกำลังทั้งทหารบกและทหารอากาศหลายหน่วย เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหาร กองกำลังทางการรบ ซึ่งจังหวัดลพบุรีนั้นมีภูมิประเทศที่เหมาะสมคืออยู่ในเขตตอนกลางของประเทศ จึงทำให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหารซึ่งสามารถที่กระจายหรือแจกจ่ายกำลังพล อาวุธยุทธโทปกรณ์ไปยังภูมิภาคต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

จังหวัดลพบุรี

ลพบุรี

คำขวัญประจำจังหวัด: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์

ที่ตั้งจังหวัดลพบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 48 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 25 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ประมาณ 155 กิโลเมตร หรือทางรถไฟสายเหนือประมาณ 133 กิโลเมตร มีพื้นที่ 6,586.67 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,116,668 ไร่

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในลพบุรี

พระปรางค์สามยอด

img_0091

       ตั้งอยู่บนเนินดินด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ ตำบล ท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่18 สร้างด้วยศิลาแลง หินทรายและตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ตรงซุ้มประตูเดิมคงมีทับหลัง แต่ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว เป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมร แบบบายนปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันทน์สีแดง ด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 พระปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ในองค์ปรางค์ทั้งสามปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรป ในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง

ศาลพระกาฬ

ศาลพระกาฬ

        ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออกพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูง” ที่ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทำด้วยศิลาทราย1 แผ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่15 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็ก ชั้นบน ณ ที่นี่ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยม จารึกอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ยืน ทำด้วยศิลา2 องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไป ภายหลังมีผู้นำพระเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงจำนวนมาก ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี มีร้านขายของที่ระลึก และอาหารสำหรับลิง ตลอดจนศาลาพักผ่อนมีถนนตัดรอบทำให้โบราณสถานมีลักษณะเป็นวงเวียน

นารายณ์ราชนิเวศน์

นารายณ์ราชนิเวศน์

        สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2209 เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ณ เมืองลพบุรี แบ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงมีซุ้มประตูทั้งหมด11 ประตู ประตูทางเข้าเป็นทรงจตุรมุขมีช่องทางเข้าโค้งแหลม ตรงจั่วซุ้มประตูตกแต่งลายกระจังปูนปั้นที่วิวัฒนาการมาจากดอกบัว ที่ซุ้มประตูและกำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นในมีช่องเล็ก ๆ เจาะเป็นรูปโค้งแหลมคล้ายบัวเรียงเป็นแถวสำหรับวางตะเกียง ประมาณ2,000 ช่อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.2399 เพื่อให้เป็นราชธานีชั้นใน และพระราชทานชื่อว่า“พระนารายณ์ราชนิเวศน์”

สวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง

สวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง

       ตั้งอยู่หมู่ที่4 ตำบลท่าดินดำ น้ำตกวังก้านเหลืองนี้ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เนื่องจากมีต้นน้ำเกิดจากตาน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากบริเวณน้ำตกประมาณ1.5 กิโลเมตร

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

       ตั้งอยู่ที่บ้านแก่งเสือเต้น ตำบลหนองบัว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับเขื่อนแห่งนี้ สร้างภายใต้โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว4,860 เมตร ความสูงที่จุดสูงสุด36.50 เมตร จุดเด่นที่น่าสนใจภายในเขื่อน ได้แก่ จุดชมวิวสันเขื่อน พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งแสดงความรู้ด้านธรรมชาติ และวัฒนธรรม เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่25 พฤศจิกายน2542

วัดกัทลีพนาราม หรือวัดบ้านกล้วย

วัดกัทลีพนาราม หรือวัดบ้านกล้วย

       อยู่ห่างจากตลาดบ้านหมี่ ตามถนนสายบ้านหมี่-โคกสำโรง ประมาณ2 กม. อยู่ในเขตตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่เดิมชื่อว่า “วัดบ้านกล้วย” ต่อมาวัดนี้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดกัทลีพนาราม” สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้ คือ มีพระอุโบสถขนาดใหญ่แบบจตุรมุขที่สวยงาม เป็นวัดสำคัญของชุมชนชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ นอกจากโบสถ์ทรงจตุรมุขซึ่งสร้างใหม่แล้ว ยังมีวิหารเก่าแก่หลังเล็กและเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง รูปทรงงดงามทั้งสองสิ่ง ศาลาการเปรียญมีลวดลายฉลุไม้ตกแต่งสวยงาม ภายในมีธรรมาสน์เก่าและประดับเครื่องแทนเป็นพุทธบูชาแบบของชาวไทยพวน คือ “ธงแว่น” หลายพวง

วัดเขาวงกต

วัดเขาวงกต

       ตั้งอยู่ที่เชิงเขาสนามแจง ตำบลสนามแจง ห่างจากตัวอำเภอบ้านหมี่ ประมาณ4 กม. เป็นวัดที่อยู่ในวงล้อมของภูเขาสามด้าน บริเวณกว้างขวางถึง30 ไร่ บนไหล่เขาด้านทิศตะวันตกมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ถัดลงมามีศาลาเก็บศพหลวงพ่อเจริญ ดิสสวัณโณ อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งมรณภาพไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2506 แต่ศพไม่เน่าเปื่อย หน้าวัดมีเจดีย์สร้างอยู่บนเรือสำเภา อนุสรณ์ของหลวงพ่อเภาผู้สร้างวัดนี้
สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ถ้ำค้างคาว ซึ่งอยู่บนไหล่เขาเหนือพระอุโบสถ นับว่าเป็นถ้ำค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี ภายในถ้ำมีค้างคาวนับล้านๆ ตัวรายได้จากค่ามูลค้างคาวที่เข้าวัดแต่ละปีเป็นเงินหลายหมื่นบาท ทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ
18.30 น. ค้างคาวจะพากันบินออกจากปากถ้ำไปหากิน ยาวเป็นสายคล้ายควันไฟ การบินออกหากินนี้จะติดต่อกันไปไม่หยุดจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ22.00 น. และจะเริ่มกลับเข้าถ้ำตั้งแต่เวลาประมาณ03.00 น. จนถึงประมาณ06.00 น. จึงจะหมด

พระบรมอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระบรมอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

         ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรีใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรี บริเวณหัวถนนนารายณ์มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นรูปปั้นในท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระ-หัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ก้าวพระบาทซ้ายออกมาข้างหน้าเล็กน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่16 กุมภาพันธ์2509 ที่ฐาน-อนุสาวรีย์ได้จารึกข้อความว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระมหากษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรงพระราช-สมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2175 สวรรคต ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ.2231 พระองค์ทรงมีพระบรมราชกฤษ-ดาภินิหารเป็นอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ วรรณคดีและศิลปะของไทยได้เจริญถึงขีดสูงสุด มีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง เกียรติคุณของประเทศไทยแผ่ไพศาลเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันสร้างและประดิษฐานอนุสาวรีย์นี้ไว้เมื่อวันที่16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509

วัดเขาสมโภชน์

วัดเขาสมโภชน์

         อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล ไปตามเส้นทางสายบัวชุม ประมาณ30 กม. มีทางแยกเข้าไปประมาณ8 กม.จากถนนใหญ่เขาสมโภชน์เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ รอบๆ บริเวณร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาชนิด ที่เชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดสำหรับปฏิบัติธรรม ภูเขาแห่งนี้เต็มไปด้วยถ้ำต่างๆ ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมากกว่า19 ถ้ำ เฉพาะถ้ำที่ปรากฏชื่อมีดังนี้คือ ถ้ำใหญ่ ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเพชร ถ้ำรำวง ถ้ำสิงโต ถ้ำบ่อทิพย์ ฯลฯ ภายในแต่ละถ้ำจะแลเห็นหินงอกหินย้อยที่สวยงาม

การเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดลพบุรีได้2 เส้นทาง คือ
1. กรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข1 (ถนนพหลโยธิน)เข้าทางอ.บางปะหันผ่านอ.นครหลวง แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข3196 ผ่านอ.บ้านแพรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าสู่ตัวจังหวัด ลพบุรี
2. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข32 ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านไปทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทองและสิงห์บุรี จากนั้นจึงใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข311(สายสิงห์บุรี-ลพบุรี) ผ่านอำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่ตัวจังหวัดลพบุรี

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งหมอชิตทุกวัน วันละหลายเที่ยว รายละเอียดติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.537-8055-6

ทางรถไฟ

 การเดินทางโดยรถไฟ สามารถเดินทางโดยรถไฟสายเหนือ ออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน วันละหลายเที่ยว รายละเอียดติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.223-7010,223-7020

เทศกาลและงานประเพณี

งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

       จัดขึ้นในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีต่อจังหวัดลพบุรีและประเทศชาติ เนื่องจากเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สองในสมัยนั้นที่พระองค์ทรงโปรดปรานประทับอยู่ที่นี่นานกว่าที่กรุงศรีอยุธยา
บริเวณงานส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เริ่มด้วยพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระนารายณ์ ขบวนแห่ต่างๆ เช่น ขบวนแห่พระราชสาสน์ ขบวนเจ้านายชั้นสูงฝ่ายใน ขบวนทหาร ฯลฯ การแต่งกายสมัยพระนารายณ์ฯ การแสดงการละเล่น การประดับประทีบโคมไฟในพระราชวังเพื่อทำให้บรรยากาศให้กลับคืนสู่อดีตเมื่อ 300 ปีที่ผ่านมารวมทั้งมีนิทรรศการพิเศษเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยนั้น ตลอดจนการออกร้านขายสินค้าพื้นเมือง

ประเพณีกำฟ้า

กำฟ้า

        เป็นงานบุญพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวน ซึ่งมีอยู่หลายหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอบ้านหมี่ จัดขึ้นเพื่อขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้าและบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มักจะถือเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสุกดิบ และรุ่งขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวัดกำฟ้าโดยชาวบ้านจะร่วมกันใส่บาตรด้วยข้าวหลามและข้าวจี่ และจะหยุดงานหนึ่งวันตกบ่ายมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย เป็นต้น

ประเพณีใส่กระจาด หรือประเพณีเสื่อกระจาด

ประเพณีใส่กระจาด

       ตามภาษาพวน เรียกว่า “เส่อกระจาด” เป็นประเพณีของชาวไทยพวนซึ่งถือปฏิบัติกันในเขตอำเภอบ้านหมี่ จัดให้มีขึ้นในงานเทศกาลเทศมหาชาติ ส่วนมากจะกำหนดในฤดูกาลออกพรรษา คือระยะเดือน 11 ข้างแรม ก่อนถึงวันใส่กระจาดหนึ่งวัน ชาวบ้านจะช่วยกันทำขนมห่อข้าวต้ม ตำข้าวปุ้น ในคืนนั้นหนุ่มๆ จะไปเที่ยวตามบ้านสาวที่ตนชอบ โดยช่วยทำขนมและคุยกันตลอดคืน รุ่งขึ้นจะเป็นวันใส่กระจาด ชาวบ้านจะนำของ เช่น กล้วย อ้อย ส้น ธูป เทียน หรือสินค้าอื่นๆ มาใส่กระจาดตามบ้านของคนที่ตนรู้จัก เจ้าของบ้านก็จะนำอาหารที่เตรียมไว้มาเลี้ยงรับรองแขก เมื่อแขกจะกลับเจ้าของบ้านจะนำข้าวต้มมัดฝากไปให้เรียกว่า “คืนกระจาด” ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเทศน์มหาชาติ จะนำของที่แขกมาใส่กระจาดทำเป็นกัณฑ์ไปถวายพระที่วัด โดยถือว่าการทำบุญมหาชาตินี้เป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี