ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ฯ ที่เที่ยวธรรมชาติ เที่ยวป่าชายเลน

เที่ยวแบบสโลวไลฟ์ ณ ชุมชนลีเล็ด เที่ยวป่าชายเลน ทำขนม ชมหิ่งห้อย

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / เที่ยวแบบสโลวไลฟ์ ณ ชุมชนลีเล็ด เที่ยวป่าชายเลน ทำขนม ชมหิ่งห้อย

ใครที่ชอบท่องเที่ยวแบบเชิงนิเวศ เรียนรู้วิถีชาวบ้าน ใกล้ชิดธรรมชาติ “ชุมชนลีเล็ด” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีไม่น้อย เพราะที่นี่ได้ขนานนามว่า “ป่าอเมซอนเมืองไทย” มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้ง ทานอาหารใต้รสเข้มเผ็ดถึงใจ และมีกิจกรรมสนุกๆ ชมวิว ดูหิ่งห้อย รับรองว่าเพียงแค่ 2 วัน 1 คืน ได้ความสุขกลับไปแบบเต็มอิ่มแน่นอน ^^

เที่ยวแบบสโลวไลฟ์ ณ ชุมชนลีเล็ด จ.สุราษฎร์ธานี
เที่ยวป่าชายเลน ทำขนม ชมหิ่งห้อย

เที่ยวป่าชายเลน เรียนรู้วิถีชาวบ้าน ทำขนม ชมหิ่งห้อย ที่ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ฯ

ถ้าวันหยุดแล้วไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวไหน เราขอพาไปท่องเที่ยวแบบสโลวไลฟ์ ณ ชุมชนลีเล็ด จังหวัดสุราษฎร์ธานี กันค่ะ ที่นี่เราจะได้สัมผัสชีวิตและความเป็นมิตรของชาวบ้านชุมชมลีเล็ด เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นั่งเรือชมป่าชายเลน ชมหิ่งห้อย ทานอาหารใต้รสเข้มเผ็ดถึงใจ ฯลฯ อย่างที่บอกเพียง 2 วัน 1 คืนเราก็เที่ยวได้! ทีมงานจะพาไปดูว่าที่นี่มีอะไรน่าสนใจบ้าง ^^

ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

ชุมชนลีเล็ด เป็นชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตั้งอยู่ที่ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราฎร์ธานี พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำไหลผ่าน และบางส่วนอยู่ติดกับทะเล มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จนได้ชื่อว่าเป็น “ป่าอเมซอนเมืองไทย” ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนมะพร้าวและทำประมงพื้นบ้าน อีกทั้งทำนากุ้งร่วมด้วย

ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

กำนันประเสริฐ ผู้นำชุมชม บอกเล่าที่มาว่า เมื่อสมัย ร.5 ท่านทรงเสร็จไปยังบ้านดอนทางเรือ แล้วเจอพายุฝน จึงทรงเสด็จไปตามคลองสายนี้ ทรงเห็นว่าคลองสายนี้เป็นทางลัด จึงได้ชื่อว่า คลองลัด และในสมัยที่ชาวจีนย้ายถิ่นฐานเข้ามาเป็นจำนวนมากชื่อนี้ได้เพี้ยนไปเป็นคลองเล็ด จนได้มาเป็นตำบลลีเล็ดในปัจจุบันหลังจากมีการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น

ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

สัมผัสชีวิตชาวบ้าน และ พักโฮมสเตย์

เมื่อมาถึงที่นี่ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า รู้สึกอบอุ่นและประทับใจ เพราะชาวบ้านชุมชมลีเล็ดเป็นกันเองและใจดี ต้อนรับอย่างเป็นกันเองด้วยวงเถิดเทิงกลองยาวบรรเลงเป็นรำวงพื้นบ้าน อีกทั้งที่นี่ยังมีที่พัก โฮมสเตย์ชุมชนลีเล็ด (มี 12 หลัง) ที่ทำให้เราได้ใก้ลชิดและเรียนรู้วิถีคนท้องถิ่นไปพร้อมกัน แบบไม่ต้องรีบร้อน ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แบบสโลว์ไลฟ์ ^^ ซึ่งโฮมสเตย์ของที่นี่ได้รับรางวัลมาตรฐาน Home stay Thai อันดับที่ 2 ของประเทศ จากสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ปี 2552

ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

ยามเย็นเราสามารถนั่งทานอาหารไปพร้อมๆ กับชมการแสดงของชุมชนลีเล็ด “สุพวารีนารี” เล่าถึงชีวิตริมแม่น้ำลำคองของคนพื้นถิ่น และรำวงร่วมกัน กับวงดนตรีกลองยาว

ของดีของชุมชนลีเล็ด

ชุมชนลีเล็ด เปรียบเสมือนปราชญ์ชาวบ้าน ที่เก่งในเรื่องการดูดินฟ้าอากาศอย่างแม่นยำแล้ว ทุกคนยังสามารถดัดแปลงสิ่งของจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งของกินและของใช้ เรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของจริง! อาทิ การทำขนมจาก, การทำกะปิ, ตระกร้าสานจากใบจาก, เย็บใบจากใช้มุงหลังคา, ปงจาก หรือพงจาก ก็แปนรูปเป็นกระดาษสา

อาหารใต้รสเข้มเผ็ดถึงใจ พร้อมอาหารทะเลสดใหม่!

เรื่อของกินที่นี่ก็ไม่แพ้ใคร อาหารรสชาติอร่อยสไตล์เผ็ดจี๊ดเข้มข้นของทางใต้ พร้อมอาหารทะเลสดๆ ทั้ง กุ้ง หอย ปู ปลา นำมา ปิ้ง ย่าง อร่อยลืม! อีกทั้งผักสดๆ และสารพัดประโยชน์ เช่น แกงขี้เหล็ก กินแล้สทำให้ระบบขับถ่ายดี เป็นต้น

ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

ทำขนมแสนอร่อยแบบคนท้องถิ่น

นอกจากชาวบ้านจะประดิษฐ์ของใช้เก่งแล้ว ก็ยังทำขนมอร่อยๆ ด้วย ทีมงานได้ลองทำ ขนมจาก ใส่มะพร้าวชิ้น มะพร้าวขูด น้ำตาลมะพร้าว แป้ง และฟักทอง ห่อแล้วนำไปปิ้งให้สุกกรอบ

แล้วมาทำ กะปิ อีกหนึ่งของขึ้นชื่อของชุมชนลีเล็ด ซึ่งกะปิของที่นี่ใช้กุ้งหัวมันแทนเคย ทำให้รสชาติหวานจะกว่ากะปิทั่วๆไป เริ่มจากนำกุ้งมาตากแดด ตำกุ้ง ปรุงรส แล้วนำไปหมักไว้ 2 วัน เสร็จก็นำมาตำอีกจนได้กะปิแสนอร่อยนี้ล่ะจ้า ซึ่งกะปิของชาวบ้านก็นำไปปรุงได้ทั้งของคาวหวาน เช่น กะปิน้ำปลาหวานนี่ก็อร่อย

ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

ปลูกป่าชายเลน ณ ชุมชนลีเล็ด

ชุมชนลีเล็ด มีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ได้ชื่อว่าเป็น “ป่าอเมซอนเมืองไทย” มีระบบนิเวศแบบ 2 น้ำ หรือเรียกว่า “น้ำกร่อย” ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพรรณไม้และพันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ อีกทั้งป่าชายเลนยังให้ประโยชน์ทั้งช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ และยังเอื้อประโยชน์ให้แก่คนในชุมชน เวลาน้ำขึ้น ชาวบ้านจะไป ตัดจาก, หาหอย, จับปูเปี้ยว,ดักอวน, ช่วงน้ำลงก็ หาหอย, ถีบกระดานหาหอย, ตกเบ็ด และหาปู

หลังจากเก็บของที่ โฮมสเตย์ชุมชนลีเล็ด เสร็จเราก็ออกเดินทางมายังจุด ปลูกต้นโกงกาง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพันธุ์ไม้ที่มีความสำคัญกับป่าชายเลน อย่างที่ปราชญ์ชุมชนบอกว่าต้นโกงกางเป็นต้นไม้ที่มีรากยาวไปไกล ซึ่งทำให้ดินเกาะกันจนกลายเป็นเกาะและยกให้พื้นดินบริเวณนั้นสูงขึ้น

ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

จุดชมวิวที่ดีที่สุด ณ ชุมชนลีเล็ด

จุดชมวิวที่ดีที่สุดของที่นี่ คือ เขตอนุรักษ์พิเศษ ทีมงานเดินทางตาม Walkway ไปประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะไปถึงจุดชมวิว ที่นี่มีต้นลำพูกว่าล้านต้นเรียงรายอยู่สองข้างทาง เราสามารถมองเห็นนกกระยางและอีกาฝูงใหญ่ แสดงให้เห็นว่าป่านี้มีความสมบูรณ์มากแค่ไหน

นั่งเรือชมหิ่งห้อย ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

นั่งเรือชมหิ่งห้อย 

ชุมชนลีเล็ด ขึ้นชื่อว่ามีจำนวนหิ่งห้อยเยอะที่สุดในประเทศไทย เราจะมองเห็นหิ่งห้อยจำนวนมาเปล่งแสงระยิบระยับไปทั่วบริเวณแม่น้ำ ถือว่าเป็นไฮไลท์อีกหนึ่งอย่างของที่นี่เลยก็ว่าได้ ได้เก็บภาะหิ่งห้อยสวยๆ ท่ามกลางธรรมชาติ อากาศดีๆ ประทับใจสุดๆ

นั่งตากอากาศ ณ ขนำกลางทะเล ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

นั่งตากอากาศ ณ ขนำกลางทะเล

ก่อนกลับบ้านแวะนั่งกินลม ชมวิว กันที่ “ขนำกลางทะเล” บ้านขนำเป็นชื่อเรียกบ้านที่ตั้งอยู่กลางทะเล ซึ่งบริเวณนี้จะมีบ้านอยู่หลายหลัง เอาไว้ทำฟาร์มหอยแครง ทีมงานอดใจไว้ไหวกับบรรยากาศสวยๆ แบบนี้ ขอแชะภาพกันสักหน่อยก่อนกลับ ^^

ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี

ที่อยู่ : กลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ 109 หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130

การเดินทาง : ให้มาตามถนนพุนพิน-สุราษฎร์ธานี 200 เมตร เลี้ยวซ้ายตามถนนจุลจอมเกล้าข้ามแม่น้ำตาปี แล้วกลับรถใต้สะพานข้ามรถไฟถึงสามแยกวัดดอนกฐินอีก 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนพุนพิน-ไชยาสายล่างอีก 1.5 กิโลเมตร พอถึงสามแยกเลี้ยวขวาไปตามถนนทุ่งโพธิ์-ลีเล็ด อีก 17 กิโลเมตร ก็ถึงชุมชน

เบอร์โทรศัพท์ :  ททท. ภาคใต้ เขต 5 เบอร์ 0-7728-8817-9 , กลุ่มชุมชนลีเล็ดที่ 0-7749-1082 หรือ 08-1271-0017

ค่าบริการมัคคุเทศก์นำเที่ยว : ที่ชุมชนมีเรือ 12 ลำ มัคคุเทศก์นำเที่ยว 300 บาท ค่าเช่าเรือหางยาว 800 บาทต่อลำ

ราคาที่พักโฮมสเตย์ : 100 บาท/คน/คืน

ค่าบริการอาหาร : เที่ยง-เย็น 100 บาท/คน/มื้อ , รายได้ 100 บาท/คน นำเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อกิจกรรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูล www.meetinthevillage.com
ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี
ชุมชนลีเล็ด สุราษฎร์ธานี