การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตึกชิโนโปรตุกีส สถานที่สวย เที่ยวถนนถลาง เที่ยวถนนเยาวราช เที่ยวภูเก็ต

เที่ยวถนนถลาง เพลินเมืองเก่า ยลสถาปัตย์ชิโน-โปตุกีส

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / เที่ยวถนนถลาง เพลินเมืองเก่า ยลสถาปัตย์ชิโน-โปตุกีส

หากใครบอกว่าภูเก็ต ก็มีดีแค่ทะเล ขอเถียงขาดใจ เพราะว่าในเมืองภูเก็ตมีบางสิ่งที่ซ่อนไว้ ซึ่งหลายคนยังเข้าไปไม่ถึงมัน

เที่ยวถนนถลาง เพลินเมืองเก่า ยลสถาปัตย์ชิโน-โปตุกีส

e0b896e0b8a5e0b8b2e0b887-2

ถนนเก่าแก่เส้นหนึ่งของภูเก็ต ที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่ สวยงาม และถือได้ว่าเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวไม่ได้ที่ต้องมาเยือน เราจะได้เห็นวัฒนธรรมที่รุ่งเรือง จากหลากหลายเชื้อชาติที่ถนนเส้นนี้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย จีน มุสลิม อินเดีย ยุโรป จากสถาปัตยกรรมในถนนเส้นนี้ และที่สำคัญ ปีนี้ถนนถลางไม่มีสายไฟฟ้ามารกหู รกตา เวลาถ่ายรูปอีกแล้ว เพราะเขาเอาสายไฟฟ้าลงดินเรียบร้อย ทำให้น่าเดินน่ามองอย่างมาก

E11822459-8

หากใครไปภูเก็ตก็มักจะไม่พลาดที่จะมาเดินถถนสายวัฒนธรรมเส้นนี้ ที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมสไตล์ “ชิโนโปรตุกีส” ที่ยืนยาวมาคู่กับเกาะภูเก็ตมากว่าร้อยปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 ที่เป็นยุครุ่งเรืองของการทำเหมืองแร่ในภาคใต้ของไทย ภูเก็ตก็คล้ายเป็นจุดศูนย์กลางสำคัญในยุคนั้น บ้านหลายหลังเป็นของนายเหมืองหลายคนมาอยู่ในถนนเส้นเดียวกัน รวมทั้งบ้านเจ้าเมือง และตระกูลใหญ่ๆ ที่หน้าบ้านจะมีตราประจำตระกูลของตัวเองประทับอยู่

pkt_att410015013

“ถนนถลาง” เป็นถนนที่เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่งในเมืองภูเก็ต เป็นย่านการค้าซึ่งบอกเล่าเรื่องราว วิถีชีวิตที่เคยมีในอดีต ตั้งแต่สมัยที่ยุคเหมืองแร่รุ่งเรือง และมรดกที่ตกทอดมาสู่ปัจจุบัน คือ มรดกทางสถาปัตยกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมที่มีมากกว่า 3 วัฒนธรรม คือ ไทย จีน มุสลิม อินเดีย ยุโรป และคงอาคารตึกแถวเก่าที่มีรูปแบบเดิมเกาะกลุ่มกันมากกว่า 140 คูหา เป็นถนนสายประวัติศาสตร์คู่กับจังหวัดภูเก็ตมากกว่า 150 ปี นับจากปี ค.ศ.1850 โดยพระยาภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (ทัด) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองภูเก็ต ถนนสายนี้กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม

รวมไฮไลท์ในถนนถลาง

สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส
แบ่งเป็นสองประเภทคือ ตึกแถวหรือ “เตี้ยมฉู่” และคฤหาสน์หรือ “อั่งม้อหลาว

อั่งม้อหลาว เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน “อั่งม้อ” แปลว่า ฝรั่ง หรือชาวต่างชาติ ส่วนคำว่า “หลาว” แปลว่า ตึกคอนกรีต อั่งม้อหลาว ก็คือ คฤหาสน์แบบฝรั่งที่นายหัวเหมืองแร่ของภูเก็ต สร้างเป็นที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น โดยบ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นตามแบบ ชิโน-โปรตุกีส โดยช่างชาวจีนจากปีนังก็คือบ้านชินประชาของพระพิทักษ์ ชินประชา นายเหมืองต้นตระกูลตัณฑวนิชตั้งอยู่ถนนกระบี่ ถือว่าเป็นต้นแบบของบ้านคหบดีจีนที่กระจายอยู่ทั่วทั้งเมืองภูเก็ต

shino4 shino1

ตึกแถวที่นี่ก็สวยเด่น โดยเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย ลักษณะลึกและแคบ ชั้นล่างแบ่งพื้นที่ใช้สอยไปตามความลึกได้ถึงห้าส่วน ด้านหน้าเป็นร้านค้าหรือสำนักงาน ถัดไปเป็นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องครัว

shino5 shino7

ภายในอาคารมักมี “ฉิ่มแจ้” หรือ บ่อน้ำบาดาลหนึ่งบ่อ และเจาะช่องให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าอาคาร ตึกแถวในภูเก็ตจึงเย็นสบาย ส่วนที่ชั้นสองเป็นห้องนอนหน้าตึกแถวมีทางเดินเท้า ทำเป็นช่องซุ้มโค้งเชื่อมกันไปตลอด ทั้งแนวตึกแถว เรียกว่า อาเขต (arcade) โดยมีชั้นบนยื่นล้ำออกมาเป็น หลังคากันแดดกันฝนซึ่งตกเกือบตลอดปี นับเป็นสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทร ของเจ้าของบ้านกับผู้สัญจร ที่ชั้นสองด้านหน้าอาคารเน้นการเจาะช่องหน้าต่าง เป็นซุ้มโค้งคูหาละสามช่อง ขนาบข้างด้วยเสาแบบกรีก และโรมัน บนพื้นผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นทั้งแบบจีนและตะวันตก ผสมกันอย่างลงตัว สามารถเดินชมได้ทั่วทั้งถนนถลาง ดีบุก พังงา กระบี่และเยาวราช นอกจากนี้ย่านโคมเขียวโคมแดงในอดีต ที่ซอยรมณีย์ก็มีตึกสีสันสวยแปลกตากว่าถนนไหนๆ

koh-kaki

จิ้มแจ้
ช่องแสงหรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า จิ้มแจ้ เป็นลานเอนกประสงค์ คือ บริเวณซักล้าง เป็นช่องระบายอากาศ ทำให้บ้าสว่าง หรือใช้เป็นบริเวณผักผ่อนก็ได้

หง่อคาขี่
ทางเดินเท้าที่อยู่ภายใต้อาคาร กำบังแสงแดดและฝน

เตาไฟ (โพ)
เป็นเตาดินหรือปูนก่อสูงขึ้นจากพื้น ด้านล่างของเตาโล่ง ไว้สำหรับเก็บฝืน ด้านบนทำเป็นช่องไฟ ประมาณ3ช่อง สำหรับหุงต้มอาหาร

สถาปัตยกรรมยุคนีโอคลาสสิค ซอยรมณีย์
เป็นถนนสายประวิติศาสตร์อันเก่าแก่ ตรงช่วงนี้จะมีอาคารตึกแถวเก่า ที่มีรูปแบบเดิมๆ เกาะกลุ่มกันอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีจุดเด่นอยู่ตรงที่มีการเปิดช่องทางเดินเอาไว้เหมือนในอดีต ซึ่งเส้นทางนี้เริ่มต้นจากสี่แยก ถ.ถลางตัดกับ ถ.ภูเก็ตไปจนสุดสี่แยกตัดกับ ถ.เยาวราช มีตึกแถวกว่า 151 คูหา

post-49-126414644243_thumb

มีตึกแถวที่น่าสนใจตรงช่วงตึกแถวบ้านเลขที่ 107 ถึง 129 ที่ตัวตึกมีรูปแบบการตกแต่งช่องหน้าต่างโค้ง ตามแบบสถาปัตยกรรมยุคนีโอคลาสสิค มีลวดลายที่งดงามเน้นธรรมชาติเถาไม้ ใบไม้ และรูปสัตว์ และก็มีตึกแถวตรงฝั่งเลขคู่ช่วงปลายถนน ซึ่งตึกแถวบริเวณนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่ประตูด้าน ที่หน้าเป็นแบบบานเฟี้ยมไม้เก่าแก่ ช่วงเสาจะกว้างเท่ากับตึก 2 คูหารวมกัน มีการนำศิลปะการเจาะช่องหน้าต่างและลวดลายปูนปั้นแบบอาร์ตเดโคมาใช้ได้อย่างกลมกลืนและสวยงาม
post-49-126414552145_thumb

เส้นทางระยะประมาณ 450 เมตรของถนนถลาง ที่เปิดช่องทางเดินเอาไว้เหมือนในอดีต เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษายิ่ง เพราะจะได้สัมผัสกับสถาปัตยกรรมที่สวยงาม วิถีชีวิต อาหารอร่อยของเมืองภูเก็ตแห่งนี้

แล้วจะได้รู้ว่า ‘ภูเก็ต’ ไม่ได้มีดีแค่ ‘ทะเล’ เท่านั้น..

บทความน่าอ่านจาก http://www.emaginfo.com ร่วมกับ travel.mthai.com

emaginfo1


View Larger Map