Khorat Geopark ที่เที่ยวอีสาน ที่เที่ยวเปิดใหม่ อุทยานธรณีโคราช

เปิด “อุทยานธรณีโคราช” แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณี แห่งแรกในอีสาน

Home / ข่าวท่องเที่ยว / เปิด “อุทยานธรณีโคราช” แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณี แห่งแรกในอีสาน

ได้เฮกันอีกแล้ว! เปิด “อุทยานธรณีโคราช” แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณี แห่งแรกในอีสาน มหานครแห่งบรรพชีวิน เน้นการอนุรักษ์ร่วมกับการท่องเที่ยวเชิงธรณีแบบยั่งยืน อีกทั้งยังเสนอต่อยูเนสโกเพื่อรับรอง เป็น “The UNESCO triple crowns” และจัดเป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัดแห่งที่ 3 ของประเทศ ต่อจากอุทยานธรณีสตูล และอุทยานธรณีผาชันสามพันโบก (อุบลราชธานี)

สำนักงานอุทยานธรณีโคราช (Khorat Geopark)

เปิด “อุทยานธรณีโคราช” แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณี
แห่งแรกในอีสาน

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2559 ที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราช- สีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานประชุมคณะกรรมการอุทยานธรณีโลก และประชาคมในอุทยานธรณีโคราช พร้อมเปิดสำนักงานอุทยานธรณีโคราช หรือ Khorat Geopark โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในฐานะผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราช และคณะร่วมต้อนรับ

ซึ่งอุทยานธรณีโคราชนี้ จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในภาคอีสาน! ที่เน้นการอนุรักษ์ร่วมกับการท่องเที่ยวเชิงธรณีแบบยั่งยืน อีกทั้งจะขอเสนอต่อยูเนสโกเพื่อรับรองว่าเป็น “The UNESCO triple crowns” ไทยจะเป็น 1 ใน 3 ประเทศของโลกที่ภายใน 1 จังหวัดมีรูปแบบอนุรักษ์ของยูเนสโกครบทั้ง 3 โปรแกรม และสิ่งนี้ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์เรื่องการท่องเที่ยวได้อีกด้วย

ดาวน์โหลด

อุทยานธรณีโคราชหรือโคราชจีโอพาร์ค (Khorat Geopark) เป็นรูปแบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณี นิเวศวิทยาและวัฒนธรรม รูปแบบหนึ่งของยูเนสโก อีก 2 รูปแบบ คือ มรดกโลกป่าดงพญาเย็นและเขาใหญ่ กับพื้นที่สงวนชีวมณฑล เช่น ป่าสะแกราช ขณะนี้มีอุทยานธรณีระดับโลกแล้ว 120 แห่งจาก 33 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบนี้ แต่ขณะนี้มี 5 จังหวัดที่เริ่มมีการจัดตั้งอุทยานธรณี โดยจังหวัดที่มีการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัดแล้วรวมทั้งมีองค์กรบริหาร ได้แก่ จังหวัดสตูล และอุบลราชธานี ส่วนจังหวัดนครราชสีมาเป็นลำดับที่ 3 โดยจังหวัดตากและขอนแก่น อาจจะเป็นลำดับต่อไป

อุทยานธรณีโคราช จะอาศัยความโดดเด่นด้านทรัพยากรฟอสซิลในพื้นที่ ทั้งซากช้างดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์ ไม้กลายเป็นหินและสัตว์ร่วมยุคอื่นๆ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจำนวนมาก ตั้งแต่พบอุรังอุตังโคราช เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๕ ไปถึงไดโนเสาร์โคราชพันธุ์ใหม่ของโลกล่าสุด

ซึ่งอุทยานธรณีโคราชแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ตรงที่อุทยานธรณีโคราช มีอาณาบริเวณอยู่ในพื้นที่ 5 อำเภอ คือ อำเภอสีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองฯ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณี 31 แห่ง นิเวศ 3 แห่ง และแหล่งวัฒนธรรม 15 แห่ง โดยพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินเป็นเพียง 1 ใน 31 แหล่งธรณีดังกล่าว แต่ความสำคัญของพิพิธภัณฑ์หรือสถานที่แห่งนี้ คือ เป็นสำนักงานใหญ่ของอุทยานธรณีโคราชด้วย

ดาวน์โหลด (1)

อุทยานธรณี เป็นพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยแหล่งที่มีความสำคัญอย่างโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยา (geology) รวมถึงคุณค่าทางด้านโบราณคดี (archaeology) นิเวศวิทยา (ecology) และวัฒนธรรม (culture) ที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ อุทยานธรณีโคราช หรือ Khorat Geopark  เป็นโปรแกรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โปรแกรมหนึ่งของยูเนสโก คล้ายกับมรดกโลก (World Heritage) และพื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve Area)

แต่ 2 โปรแกรมหลังนี้เน้นการอนุรักษ์หรือการวิจัย ขณะที่อุทยานธรณี (Geopark) เน้นการอนุรักษ์ร่วมกับการท่องเที่ยวเชิงธรณีแบบยั่งยืน ซึ่งทำให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการอนุรักษ์มรดกทางธรณีในท้องถิ่นด้วย ทั้งในรูปงานอาชีพบริการต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น การผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรและหัตกรรมของท้องถิ่น ที่เป็นอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ รวมทั้งงานอาชีพใหม่ที่เกิดจากการลงทุนในโครงการต่างๆ จากภาครัฐและเอกชนในด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

ขอบคุณข้อมูล http://www.koratdaily.com/blog.php?id=3856