สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หอดูดาว หอดูดาวสิรินธร หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา เทศกาลชมดาว รับลมหนาว เทศกาลท่องเที่ยว เที่ยวหน้าหนาว เที่ยวเชียงใหม่

เทศกาลชมดาว รับลมหนาว 2561-2562 ใกล้ที่ไหนไปดูดาวที่นั่น

Home / ข่าวท่องเที่ยว / เทศกาลชมดาว รับลมหนาว 2561-2562 ใกล้ที่ไหนไปดูดาวที่นั่น

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จัดกิจกรรม “เทศกาลชมดาว รับลมหนาว 2561 – 2562” ภายใต้ชื่อ “เปิดฟ้า…ตามหาดาว” ทุกคืนวันเสาร์ เดือนพฤศจิกายน 2561 จนถึง เดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งช่วงฤดูหนาวเหมาะแก่การดูดาวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพท้องฟ้าส่วนใหญ่ปลอดจากเมฆฝน สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ได้ชัดเจน

เทศกาลชมดาว รับลมหนาว 2561-2562
ใกล้ที่ไหนไปดูดาวที่นั่น

เทศกาลชมดาว รับลมหนาว

ภายในงาน “เทศกาลชมดาว รับลมหนาว” มีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น เรียนรู้การดูดาวเบื้องต้น แนะนำการใช้แผนที่ดาว ดูดาวด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าจริง พร้อมแนะนำกลุ่มดาวฤดูหนาวที่น่าสนใจ รวมถึงส่องวัตถุท้องฟ้าแบบเต็มตาผ่านกล้องโทรทรรศน์ อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ กลุ่มดาว กระจุกดาว เนบิวลาต่าง ๆ เป็นต้น ท่ามกลางบรรยากาศลมหนาวเคล้าเสียงดนตรีอันไพเราะ

เทศกาลชมดาว รับลมหนาว

เทศกาลชมดาว รับลมหนาว

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมถ่ายภาพธีมดาราศาสตร์ ที่ผู้ร่วมงานสามารถถ่ายภาพพร้อมรับภาพถ่ายกลับบ้านเป็นที่ระลึก และลุ้นรับของที่ระลึกสุดพิเศษจากกิจกรรมตอบคำถามดาราศาสตร์ชิงรางวัล

กล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.4 เมตร


ไฮไลท์เด็ดคือ คือ “เปิดบ้านหอดูดาวแห่งชาติ (TNO Open house)” ซึ่งหนึ่งปีมีเพียงสองครั้งเท่านั้น ครั้งแรกวันที่ 5 มกราคม 2562 ในกิจกรรมผู้เข้าร่วมงานจะได้ชมความอลังการของวัตถุท้องฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ดาวพฤหัสบดี เนบิวลานายพราน เนบิวลาเอสกิโม ผ่านช่องมองภาพของกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์สำหรับทำงานวิจัย ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา บนอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดมีทัศนวิสัยของท้องฟ้าดีที่สุดในประเทศไทย

โดยกิจกรรมดูดาว จัดขึ้นที่หอดูดาว 3 แห่งในไทย ได้แก่ หอดูดาวสิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดนครราชสีมา และ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มตั้งแต่เสาร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงฤดูร้อน ประมาณเดือนพฤษภาคม (หรือจนกว่าฝนจะมา) ระหว่างเวลา 18.00 – 22.00 น.

*ทั้งนี้ กิจกรรมมีการยกเว้นในบางคืน เช่น เสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2561, เสาร์ที่ 13 เมษายน 2562 ติดตามรายละเอียดที่ Facebook  Fan Page : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ขอบคุณข้อมูลและภาพ : thainews.prdสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ