จังหวัดยะลา

Home / ข้อมูล 77 จังหวัด / จังหวัดยะลา

จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ4,521 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส และประเทศมาเลเซีย เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ พื้นที่ราบมีน้อย ยะลาแบ่งการปกครองออกเป็น7 อำเภอ และ1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอธารโต อำเภอกาบัง และกิ่งอำเภอกรงปินัง

จังหวัดยะลา

จังหวัดยะลา

คำขวัญประจำจังหวัด: ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

สถานที่ท่องเที่ยวฮิตในยะลา

น้ำตกธารโต

image

           อยู่ที่ตำบลถ้ำทะลุ ห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามถนนสายยะลา-เบตง (ทางหลวง410) กิโลเมตรที่47-48 มีทางแยกขวาไปอีกราว1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่7 ชั้น มองเห็นเป็นทางน้ำที่ไหลลดหลั่นมาจากภูเขาสูง มีแอ่งน้ำซึ่งสามารถเล่นน้ำได้ โดยรอบร่มรื่นไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจมากมายรวมทั้งต้นศรียะลา หรืออโศกเหลือง ซึ่งจะออกดอกชูช่อสีเหลืองสวยงามในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

น้ำตกละอองรุ้ง

น้ำตกละอองรุ้ง

          อยู่ที่หมู่ที่3 ตำบลบ้านแหร ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ80 กิโลเมตร ด้านขวามือ มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เงาะซาไก” เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก ต่อมา กรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้คำว่า “ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น

หมู่บ้านซาไก

หมู่บ้านซาไก

          อยู่ที่หมู่ที่3 ตำบลบ้านแหร ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ80 กิโลเมตร ด้านขวามือ มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เงาะซาไก” เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก ต่อมา กรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้คำว่า “ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น

เขื่อนบางลาง

เขื่อนบางลาง

             ตั้งอยู่บ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ ห่างจากจังหวัดยะลาไปตามทางหลวงหมายเลข410 ประมาณ50 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก12 กิโลเมตร เขื่อนบางลางเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเอนกประสงค์แห่งแรกในภาคใต้ที่สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง85 เมตร สันเขื่อนยาว422 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนบางลาง เมื่อวันที่27 กันยายน 2524บริเวณเหนือเขื่อนในบริเวณที่ตั้งของสำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มีจุดชมทิวทัศน์มองเห็นทัศนียภาพของเขื่อน อ่างเก็บน้ำและทิวเขาโดยรอบได้สวยงาม ติดต่อบ้านพักรับรอง โทร.0 7328 1063-6 ต่อ2206 บริการล่องเรือหรือแพชมทิวทัศน์ทะเลสาบเหนือเขื่อน โทร. โทร.0 7328 1063-6 ต่อ 2209, 2205

บ่อน้ำร้อนเบตง

บ่อน้ำร้อนเบตง

            ได้ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของเบตงที่มีน้ำพุเดือดขึ้นมาจากพื้นดินในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ ก่อนถึงอำเภอเบตง5 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข410 มีทางแยกขวาไปอีก8 กิโลเมตร ตรงจุดบริเวณที่น้ำเดือดสามารถต้มไข่สุกภายใน7 นาที มีบริการห้องอาบน้ำแร่ ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำแร่จากบ่อน้ำร้อนสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยและรักษาโรคผิวหนัง

ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยศาลาดูดวงจันทร์

ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

            ตู้เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 ตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จุดประสงค์ที่สร้างไว้ในครั้งแรกก็เพื่อใช้เป็นที่กระจายข่าวสารบ้านเมืองให้ชาวเมืองเบตงได้รับฟัง จากวิทยุที่ฝังอยู่ส่วนบนของตู้ และใช้เป็นตู้ไปรษณีย์มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันได้มีการสร้างตู้ไปรษณีย์ขึ้นใหม่ใหญ่กว่าเดิมที่บริเวณศาลาประชาคม ถนนสุขยางค์ มีความสูงประมาณ9 เมตร เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

อุโมงค์ปิยะมิตร

อุโมงค์ปิยะมิตร

            อยู่ที่บ้านปิยะมิตร1 ตำบลตะเนาะแมเราะ ใช้เส้นทางเดียวกับบ่อน้ำร้อนและน้ำตกอินทสร แต่อยู่เลยบ่อน้ำร้อนไปอีก4 กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นหมู่บ้านของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เดิมเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (เขต2)อุโมงค์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2519 เป็นอุโมงค์คดเคี้ยวเข้าไปในภูเขายาวประมาณ1 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 50-60 ฟุต ใช้เวลาในการขุด3 เดือน มีทางเข้าออกหลายทาง ใช้เป็นที่หลบภัยทางอากาศและสะสมเสบียง บริเวณนี้จัดให้มีนิทรรศการแสดงภาพประวัติศาสตร์ รวมทั้งวิถีการดำเนินชีวิตภายในป่า ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากอีกแห่งหนึ่งของเบตง เปิดให้เข้าชมเวลา 8.00 น-16.30 น.

พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำ

พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข

            เป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี แสดงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ ห่างจากตัวเมือง8 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอยะหา บริเวณวัดร่มรื่นมีธารน้ำไหลผ่าน บันไดขึ้นไปยังปากถ้ำมีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า“เจ้าเขา” สร้างโดยช่างพื้นบ้านเมื่อปี2484 ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ปี พ.ศ.1300 เป็นพระพุทธไสยาสน์สมัยศรีวิชัย มีขนาดความยาว81 ฟุต1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน

มัสยิดกลางอำเภอเบตง

มัสยิดกลางอำเภอเบตง

             ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล อำเภอเบตง เดิมมัสยิดกลางสร้างด้วยเสาไม้กลม6 ต้น ใบจาก6 ลายา (ตับ) โต๊ะอีหม่ามคนแรกชื่อ บือดีกา การีม เดิมเป็นคนจังหวัดปัตตานีมาสอนมวยซีละ ต่อมาก็ถึงแก่กรรมแล้วย้ายมัสยิดมายังหมู่บ้านกำปงบือตง ปัจจุบันหมู่บ้านเรียกว่ากำปงตือเย๊าะ โตะอีหม่ามชื่อ ฮัจยีวากือจิ ต่อมาย้ายไปตั้งที่หมู่บ้านกำปงยูรอ ฮัจยี ดาราโอ๊ะเป็นอีหม่าม และฮัจยีดารัง ฮัจดือเร๊ะตามลำดับ แล้วต่อมาย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบัน

การเดินทาง

รถยนต์

ยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ1,084 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามถนนเพชรเกษมผ่านเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข41 ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปปัตตานีจนถึงยะลา

 

รถโดยสารประจำทาง

มีรถปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด บริการระหว่าง กรุงเทพฯ? ยะลา รถออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0 2435 1199, 0 2434 7192, 0 2435 5605 และบริษัทเอกชน บริการระหว่างกรุงเทพฯ? ยะลา? เบตง ติดต่อบริษัท ไทยเดินรถ โทร.0 2435 5015 และบริษัทปิยะทัวร์ โทร.0 2435 5014

 

เครื่องบิน

ไม่มีบริการเดินทางโดยเครื่องบินไปจังหวัดยะลาโดยตรง แต่การบินไทยมีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ – หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปยังจังหวัดยะลาโดยรถไฟ รถประจำทาง รถแท๊กซี่หรือรถตู้ปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด โทร.1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 สำนักงานหาดใหญ่ โทร.0 7423 3433 หรือ หจก.สายโสภา รีพีทเตอร์ ยะลา โทร.0 7321 2582, 0 7321 5830

 

รถไฟ

ยะลาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ1,055 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถ กรุงเทพฯ – ยะลา ทุกวัน ทั้งรถด่วนและรถเร็ว รายละเอียดสอบถามได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร.1690, 0 2223 7010, 0 2220 4334 สถานีรถไฟยะลา โทร.0 7321 4207

 

เทศกาลและงานประเพณี

 งานมหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน

งานมหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน

           ยะลาเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่างที่นิยมเสียงของนกเขาและยังเชื่อว่า นกเขาเป็นสัตว์มงคลที่จะนำโชคลาภมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ โดยเฉพาะหากเป็นนกเขาที่มีลักษณะถูกต้องตามตำรา ด้วยเหตุนี้ทางเทศบาลเมืองยะลาร่วมกับชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวาจังหวัดยะลา จึงจัดให้มีการแข่งขันนกเขาชวาเสียงชิงแชมป์ อาเซี่ยน ครั้งที่ ๑ ขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี ๒๕๒๙ ต่อมาได้จัดเป็นงานเทศกาลประจำปีของจังหวัดยะลา

 งานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมืองและงานกาชาดจังหวัดยะลา

งานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง

            วันงาน กำหนดการจัดงานในวันที่ ๒๔ พฤษภาคมถึงวันที่ ๔ มิถุนายนของทุกปีในงานจะมีขบวนแห่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจำลอง มีการออกร้านนิทรรศการและแสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ของส่วนราชการ การแสดงมหรสพพื้นบ้าน เช่น มโนราห์ หนังตะลุง ลิเกฮูลู