6 เส้นทาง ตะลุยอีสาน ตามรอยไดโนเสาร์

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง, ภาคอีสาน / 6 เส้นทาง ตะลุยอีสาน ตามรอยไดโนเสาร์

ไดโนเสาร์ พวกแรกปรากฏขึ้นเมื่อ 225 ล้านปีก่อน มีชีวิตอยู่ มีวิวัฒนาการ และแพร่พันธุ์ครอบครองโลกนานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปหมดโลกนานถึง 65 ล้านปีที่แล้ว มีการขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2519 ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่นั้นมามีการค้นพบไดโนเสาร์ที่อยู่ใช่วงอายุของจูราสสิกมาแล้ว 16 ชนิด โดย 6 ชนิด คือ ชนิดใหม่ของโลก และอีก 5 ชนิด อยู่ในกลุ่มสกุลใหม่ของโลก

6 เส้นทาง ตะลุยอีสาน ตามรอยไดโนเสาร์

 

ภูเวียง ขอนแก่น
แห่งแรกในประเทศไทย

6 เส้นทาง ตะลุยอีสาน ตามรอยไดโนเสาร์

มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์จำนวนมากที่แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูเวียง และเป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการค้นพบซากไดโนเสาร์ที่ได้รับการตั้งชื่อตระกูลใหม่ถึง 4 ตัว คือ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis) ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus suteethorni) และกินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส (Kinnareemimus Khonkaenensis) ภายในพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง จัดแสดงไดโนเสาร์ขนาดเท่าจริงแสดงไว้ ส่วนบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ก็จะได้ดูหลุมขุดค้นจริงให้ชมอย่างใกล้ชิด

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ใช้ทางหลวงหมายเลข 12 จนถึงอำเภอภูเวียง เลี้ยวขวาใช้ทางหลวงหมายเลข 2038

 

ภูแฝก กาฬสินธุ์
รอยเท้าไดโนเสาร์เทอร์โรพอด ชัดเจนที่สุดในประเทศ

6 เส้นทาง ตะลุยอีสาน ตามรอยไดโนเสาร์

ที่วนอุทยานภูแฝก อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ มีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์เทอร์โรพอด พันธุ์กินเนื้อขนาดใหญ่ อายุประมาณ 140 ล้านปี กลางลานหินร่องน้ำห้วยวังเครือจาน จำนวน 7 รอย และนับเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อที่ชัดเจนที่สุดในประเทศไทย

การเดินทางจากอำเภอเมือง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 213 ถึงอำเภอสมเด็จ เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2042 ถึงอำเภอห้วยผึ้ง เลี้ยวซ้ายตามทางหลวงหมายเลข 2101 ประมาณ 10 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่วนอุทยานภูแฝก 4.7 กม.

 

ภูกุ้มข้าว และพิพิธภัณฑ์สิรินธร กาฬสินธุ์
สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย และในอาเซียน

6 เส้นทาง ตะลุยอีสาน ตามรอยไดโนเสาร์

เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย มีการขุดค้นพบซากกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น เป็นไดโนเสาร์กินพืชไม่น้อยกว่า 7 ตัว และไม่ทราบชนิด 1 ตัว คาดว่าอาจจะเป็นสกุลและชนิดใหม่ของโลก

เดิมได้เปิดบริเวณแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวเป็นพิพิธภัณฑ์ ต่อมาได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์สิรินธรขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2550 และเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่ครบวงจร และทันสมัยที่สุดในประเทศไทยและในอาเซียน ได้รับการโหวตให้เป็น 1 ใน 9 สถานที่ท่องเที่ยวสุดประทับใจของเมืองไทยประจำปี 2552 และรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือยอดเยี่ยมอีกด้วย

พิพิธภัณฑ์สิรินธร อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 227 (กาฬสินธุ์-สหัสขันธ์) อยู่ก่อนถึงอำเภอสหัสขันธ์

 

ท่าอุเทน นครพนม
มากรอยที่สุดในประเทศไทย

6 เส้นทาง ตะลุยอีสาน ตามรอยไดโนเสาร์

จากบ่อเหมืองหิน มีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์มากมาย จนได้ชื่อว่า มีรอยเท้าไดโนเสาร์อยู่รวมกันมากทีสุดในประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของ อบต.พนอม ลักษณะรอยเท้าไดโนเสาร์ที่นี่เห็นเป็น 3 นิ้ว ชัดเจนคล้ายรอยเท้าของไก่ แสดงลักษณะของพวกกินเนื้อ อยู่รวมกันเป็นฝูง น่าจะเป็นไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ เป็นที่น่าเสียดายว่าในการระเบิดหินครั้งแรก ว่ากันว่าพบรอยเท้าไดโนเสาร์มากว่า 1,000 รอย แต่ถูกระเบิดทิ้งเสียหาย จึงเหลือให้เห็นในตอนนี้เพียง 199 รอย เท่านั้น

อบต. พนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อยู่ห่างจากอำเภอท่าอุเทน 24 กิโลเมตร

 

 

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ช้างดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์

6 เส้นทาง ตะลุยอีสาน ตามรอยไดโนเสาร์

อยู่บริเวณบ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในเจ็ดแห่งของโลก ภายในมีการจัดแสดงพรรณไม้ดึกดำบรรพ์ ขนาดใหญ่และเก่าแก่ อายุประมาณ 8 แสน ถึง 320 ล้านปี ซากช้างดึกดำบรรพ์ 8 สกุล จาก 42 สกุล ทีพบทั่วโลก ทั้งช้างสี่งา ช้างงาจอบ ช้างงาเสียม (อายุ 5-16 ล้านปี) รวมทั้งฟอสซิลสัตว์นานาชนิด เช่น เต่ายักษ์ ตะโขง ลิงเอป หรือลิงไม่มีหาง ที่มีวิวัฒนาการใกล้เคียงกับมนุษย์ ที่นี่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว Tourism Awards รางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการเพื่อการเรียนรู้

เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 09.00-16.00น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 044-370-739-41 ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท (ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท)

 

ภูกระดึง เลย
ชิ้นส่วนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

6 เส้นทาง ตะลุยอีสาน ตามรอยไดโนเสาร์

ล่าสุดปลายปี พ.ศ.2553 มีการค้นพบซากไดโนเสาร์อีก 5 แห่งใหม่ คือ ภูน้อย ภูผาเทิบ ภูขวาง ภูท่าสองคอน และผากก โดยทั้ง 5 แหล่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ถือเป็นเรื่องใหม่ที่น่าตื่นเต้นในวงการไดโนเสาร์ คือ มีการพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์ในกลุ่มโปรซอโรพอดเกือบครบทุกชิ้น

จำนวน 30 ชิ้น เป็นการค้นพบที่สมบูรณ์มากทีสุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อายุราว 209 ล้านปี นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มี 4 นิ้ว นิ้วที่เพิ่มมามีลักษณะเหมือนเดือยของไก่ และค้นพบชิ้นส่วนกระดูกท่อนหัวไหล่ไดโนเสาร์ซอโรพอด หรือไดโนเสาร์กินพืช ซึ่งเป็นการค้นพบชิ้นส่วนซอโรพอดชิ้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทั้ง 2 แห่ง ยังไม่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว

 

ข้อมูลและภาพ :  การท่องเที่ยว ภาคอีสาน
เรียบเรียงโดย Travel MThai