ประเพณีบั้งไฟตะไลล้าน ปี 2557

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / ประเพณีบั้งไฟตะไลล้าน ปี 2557

ประเพณีบั้งไฟตะไลล้าน จะมีราวประมาณกลางเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือน 6 ที่บ้านกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จะมีประเพณีบุญบั้งไฟเหมือนจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมา แต่สำหรับที่นี่จะมีความแตกต่างออกจากที่อื่นก็คือ เป็นงานเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้าน ซึ่งก็คืองานบุญบั้งไฟที่มีลักษณะเฉพาะตัวของบั้งไฟเป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวของภาคอีสาน คือตัวกระบอกของบั้งไฟซึ่งบรรจุดินเชื้อเพลิงยาวตั้งแต่ 3-6 เมตรและชิ้นประกอบอีกส่วนก็คือไม้ไผ่สานซึ่งล้อมรอบตัวกระบอกบั้งไฟ  อันเป็นเอกลักษณ์ของบั้งไฟตะไลล้านของที่นี่ ส่วนการจุดการบั้งไฟนั้นจะมีความแตกต่างกับบั้งไฟหาง ของจังหวัดอื่นๆ ทางภาคอีสาน ซึ่งจะจุดตรงส่วนท้ายเพื่อให้บั้งไฟนั้นขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่สำหรับบั้งไฟตะไลที่นี่จะจุดจากกลางลำตัว โดยจะเจาะรูเชื้อเพลิงให้ออกด้านข้างลำตัวของบั้งไฟ ทำให้บั้งไฟหมุนขึ้นท้องฟ้าอย่างรวดเร็ว

ประเพณีบั้งไฟตะไลล้าน ปี 2557

ประเพณีบั้งไฟตะไลล้าน ปี 2557
การแข่งขันบั้งไฟของที่นี่มีการจับเวลาเหมือนกับบั้งไฟทาง เพียงแต่เนื่องจากหลักการทำบั้งไฟตะไลนั้นจะต้องใช้ท่อโลหะเท่านั้น จึงจะสามารถทนความร้อนที่เผาไหม้ตลอดลำตัวได้ จึงทำให้ตะไลนั้นมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ภายหลังจึงมีการใช้ร่มเจ้ามาช่วยในการลอยตัว ทำให้บั้งไฟตะไลของที่นี่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น สถิติเวลาของบั้งไฟตะไลนั้นจะลอยตัวอยู่กลางอากาศได้โดยประมาณ 3-5 นาที โดยเฉลี่ย

weบุญบั้งไฟตะไล ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนกุดหว้า ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาภูไทสืบทอดต่อให้ลูกหลาน แต่เดิมบุญบั้งไฟของตำบลก็จัดงานโดยจุดบั้งไฟหางเหมือนเช่นในพื้นที่อื่น ต่อมานายพิศดา จำพล (ปัจจุบันอายุ 68 ปี) ช่างทำบั้งไฟในหมู่บ้าน ได้คิดค้นวิธีทำบั้งไฟเพื่อให้แตกต่างจากพื้นที่อื่นจนกลายเป็นการทำบั้งไฟตะไลแสน และได้มีการจุดบั้งไฟตะไลบั้งแรกในงานบุญบั้งไฟปี 2521 และตำบลกุดหว้าก็ได้สืบสานเปลี่ยนเป็นการจัดงานบุญบั้งไฟตะไลเรื่อยมา

รับชมคลิป ไทยท้าทาย

ขอบคุณข้อมูลและภาพ http://region1.prd.go.th