มีดอรัญญิกที่คมที่สุด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / มีดอรัญญิกที่คมที่สุด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มีดอรัญญิก เดิมเป็นของชาวเวียงจันทร์และได้อพยพเข้ามาพร้อมกับนำความรู้และเทคนิกการทำเครื่องมือที่ใช้จากเหล็กหรือที่เรียกกันว่า “การตีมีด” และส่วนหนึ่งเป็นช่างทองรูปพรรณ โดยลักษณะของมีดมีขนาดเหมาะมือและสวยงามมาก  ฝักและด้ามประดับด้วยทองคำสลักลายนูน เฉพาะด้ามที่จับถักหุ้มด้วยลวดเงิน ทำให้เกิดผิวสากจับได้กระชับมือ ไม่ลื่นไถล สัญนิษฐานว่าการตีมีดดาบอรัญญิกในสมัยก่อน ทำขึ้นเพื่อใช้งานและใช้เพื่อแสดงตำแหน่งยศด้วย ชาวเวียงจันทร์ได้อพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2365 สาเหตุเนื่องจากเวียงจันทร์ขณะนั้นเกิดการทำมาหากินอัตคัดขาดแคลน จนโจรผู้ร้ายชุกชุมนั่นเอง

  มีดอรัญญิกที่คมที่สุด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

1-707x310

ลักษณะเด่นของมีดอรัญญิก
มีดอรัญญิกมีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีดมีความเป็นเลิศ มีความทนทานใช้การได้นานนับเป็นปี ๆ บางชนิดใช้งานได้ตลอดชีวิตของผู้ใช้ และมีความสวยงามประณีต มีรอบตีทำให้เหล็กแน่นแข็งแรง ตัวมีดคมบางใช้เหล็กอย่างดี ทำให้คมมีดไม่แตกหรือบิ่น ด้ามมีดแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ด้ามไม้ใช้ไม้อย่างดี บางด้ามมีการฝังมุกให้สวยงาม ที่สำคัญคือ ตราที่ประทับบนตัวมีดแสดงให้เห็นว่าเป็นมีดอรัญญิกแท้
ปัจจุบันนี้ มีดที่ใช้เครื่องมือไฟฟ้า จะทำให้มีดมีความประณีตมาก ตกแต่งลวดลายได้สวยงามดี บางรายมีแท่นปั้นรูปมีดจะทำให้รูปมีดมีขนาดเท่า ๆ กัน และเหมือนกัน

meat2 ในสมัยก่อน การทำมีดต้องอาศัยคนงานหลายคน เช่น คนตีพะเนิน จะต้องฝึกหัดกันมาเป็นอย่างดี จะต้องรู้ว่ามีดรูปไหนควรตีตรงไหน และจะต้องคอยฟังสัญญาณการใช้เสียงของผู้จับเหล็กนี้ ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่า “หน้าเตา” ซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำมีดเป็นอย่างดีเยี่ยม

tee2
สถานที่ใช้ในการทำงานบริเวณหมู่บ้านตีมีดเกือบทั้งตำบลท่าช้างจะมีลักษณะการตั้งบ้านเรือนอยู่แบบขนานไปกับสองฟากฝั่งของแม่น้ำป่าสัก แต่ละหลังจะปลูกบ้านแบบใต้ถุนสูง เพื่อป้องกันน้ำที่อาจจะเอ่อล้นสองฟากฝั่งแม่น้ำขึ้นมาท่วมบ้านเรือนได้ การตีมีดของชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้บริเวณใต้ถุนบ้านเป็นที่ประกอบการทำมีด ตั้งแต่การปัดมีดคม ไล่มีด การลับมีด ยกเว้นการเผาเหล็กให้ร้อนแดง ส่วนมากชาวบ้านจะสร้างเป็นโรงเรือนเล็ก ๆ ต่างหาก เพื่อป้องกันอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้นมาได้ ถึงแม้บริเวณใต้ถุนของชาวบ้านจะสูงโปร่งก็ตามแต่ลักษณะของงานที่ต้องใกล้กับความร้อนจากเตาเผาเหล็ก

2

ขั้นตอนการผลิตมีด
เตรียมการตีมีด มีปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ
เตรียมคน : ต้องใช้คน 3-4 คนขึ้นไป โดยเฉพาะ การตีมีดในขั้นตอนที่ 1 (การหลาบ) ต้องใช้คนที่มีพละกำลัง ร่างกายแข็งแกร่ง ตลอดจนต้องมีความสามัคคี และประสบการณ์ เป็นอย่างมาก
เตรียมอุปกรณ์ : เป็นอุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ สำหรับช่างตีเหล็ก หรือช่างตีมีดโดยเฉพาะ เช่น ทั่ง ค้อน พะเนิน คีม สูบลม เตาเผาเหล็ก ตะไบ เหล็กขูด เหล็กไช รางน้ำชุบมีด เขื่อนตัดเหล็ก ขอไฟ หินหยาบ-ละเอียด ทั่งขอ เถาวัลย์เปรียง หลักสี่ (ปากกา) กบ และเลื่อย เป็นต้น
เตรียมวัตถุดิบ : วัสดุที่สำคัญในการตีมีดเป็นอันดับแรกได้แก่ เหล็กกล้า ที่ต้องใช้ความชำนาญในการดูสีของเหล็กขณะชุบ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งสำหรับช่างตีมีดอันดับต่อไปคือ ถ่านไม้ไผ่ ซึ่งจะเป็นถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงในการเผาเหล็ก ต่างจากถ่านจากไม้ทั่ว ๆ ไป และอันดับสุดท้ายคือ ไม้ที่ใช้ทำด้ามมีด ซึ่งวัสดุดังกล่าวข้างต้น จะมีผู้นำมาจำหน่ายในชุมชนแหล่งผลิตมีดเลย

การดำเนินการผลิต
มีดอรัญญิก จะมีขั้นตอนในการทำโดยสรุป 10 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ตัดเหล็กให้ได้ขนาดตามความต้องการ เผาไฟให้แดงแล้วนำออกมาจากเตาให้คนสามคนใช้พะเนินตีจนได้รูปหุ่น หรือกูน(ชาวบ้านเรียกว่าการ “ หลาบ” เหล็ก)

DSC_4772
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้หุ่นหรือกูนมีดแล้ว นำเอาเข้าเตาเผาไฟอีกครั้งหนึ่ง แล้วใช้คน คนเดียวตีด้วยค้อนเพื่อขึ้นรูปมีดให้ได้ตามความต้องการ (ชาวบ้านเรียกว่าการ “ซ้ำ” )

DSC_4766
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อซ้ำได้รูปมีดแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วใช้ค้อนตีจนเนื้อเหล็กเรียบเป็นมันเพื่อให้เนื้อเหล็กเหนียวแน่น คมบาง ตัวมีดตรง (ชาวบ้านเรียกว่าการ “ ลำเรียบ หรือ ไห่”
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อไห่ได้รูปมีดพอสมควรแล้ว นำมาแต่งด้วยตะไบ เพื่อให้ได้รูปเล่มสวยงามขึ้น (เรียกว่าการ “แต่ง” )

DSC_4769
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อแต่งด้วยตะไบได้รูปแล้ว นำมาขูดคมให้บางโดยใช้เหล็กขูด เพื่อทำให้ตัวมีดขาวและบาง (เรียกว่าการ “ขูด” )
ขั้นตอนที่ 6 เมื่อขูดได้คมบางพอสมควรแล้ว ใช้ตะไบหยาบและตะไบละเอียดโสกตามตัวมีด เพื่อให้ตัวมีดขาวเรียบร้อย และคมจะบางยิ่งขึ้น (เรียกว่าการ “ โสก” )

DSC_4861
ขั้นตอนที่ 7 เมื่อโสกเรียบร้อยแล้วนำมาพานคม โดยใช้ตะไบละเอียดพานขวางของคมมีดเพื่อให้คมมีดบางเฉียบ (เรียกว่าการ “ พานคมมีด” )
ขั้นตอนที่ 8 เมื่อพานคมแล้วก็นามาชุบ “การชุบ” เป็นเรื่องสำคัญมาก ช่างต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษ โดยนำเข้าเผาไฟในเตาเพื่อให้คมแดงตามความต้องการว่าเผาขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับความกล้า แล้วชุบกับน้ำ คมของมีดจะกล้าแข็งไม่อ่อนและไม่บิ่น
ขั้นตอนที่ 9 เมื่อชุบแล้วนำมา ฝน หรือลับ โดยใช้หินหยาบ และหินละเอียด ให้คมได้ที่สมัยนี้ใช้หินกากเพ็ชร์ (เรียกว่าการ “ลับคม” )
ขั้นตอนที่ 10 เมื่อฝนหรือลับคมได้ที่แล้ว จึงนำมาเข้าด้ามมีด แล้วใช้น้ำมันทาตัวมีดเพื่อกันสนิม เป็นเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำมีด

รับชมคลิป รายการไทยท้าทาย

ขอบคุณภาพและข้อมูล fieldtrip.ipst.ac.th / wangnoibeverage.co.th / yutthayastudies.aru.ac.th