วัดจีนประชาสโมสร วัดทิพยวารีวิหาร วัดมังกรกมลาวาส วัดมังกรบุปผาราม วัดเล่งฮกยี่ วัดเล่งเน่ยยี่ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 วัดโพธิ์แมนคุณาราม วัดไตรมิตร วันตรุษจีน ศาลเจ้าปุงเถ่ากง ศาลเจ้าพ่อกวนอู ศาลเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าหน่าจาซาไท่จื้อ ศาลเจ้าเง็กฮกตึ๊ง ศาลเจ้าเซียงกง ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า สถานที่ไหว้พระไหว้เจ้า

16 สถานที่ไหว้พระไหว้เจ้า ตรุษจีน 2563 รับปีหนู

Home / นักเที่ยวเชี่ยวทาง / 16 สถานที่ไหว้พระไหว้เจ้า ตรุษจีน 2563 รับปีหนู

วันตรุษจีน ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน ซึ่งในปีนี้ วันตรุษจีนก็ตรงกับวันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2563 ชาวไทยเชื้อสายจีนหลายคนก็เตรียมตัวไหว้เจ้า ทำความสะอาดบ้าน รับโชค รับแต่สิ่งดีๆ รวมถึงออกไปทำบุญ ไหว้พระ สะเดาะเคราะห์แก้ปีชง ณ วัดหรือศาลเจ้า เพื่อขอพรเทพองค์ต่างๆ วันนี้ Travel.MThai ก็มี 16 สถานที่ไหว้พระไหว้เจ้า วันตรุษจีน ขอพรปีใหม่ รับปีกุนมาแนะนำกัน

16 สถานที่ไหว้พระไหว้เจ้า ตรุษจีน 2563 รับปีหนู

 1. วัดมังกรกมลาวาส

วัดมังกรกมลาวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี ถือเป็นวัดส่วนหัวมังกรตามความเชื่อของชาวจีน บริเวณทางเข้าจะพบวิหารท้าวโลกบาลทั้ง 4 มีเทวรูปเทพเจ้า 4 องค์ ชาวจีนเรียกว่า “ซี้ไต๋เทียงอ้วง” หมายถึงเทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษา คุ้มครอง นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และองค์ทวยเทพอีกหลายองค์ ผู้คนนิยมมากราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงทำบุญปีชงด้วย

ที่ตั้ง: ถนนเจริญกรุง ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21 เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

2. ศาลเจ้าพ่อเสือ

ศาลเจ้าจีนลัทธิเต๋าที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศไทย คนจีนนิยมเรียกกันว่า”ตั่วเล่าเอี้ย” โดยเป็นที่ประดิษฐานของเฮี้ยงเทียนเซียงตี่ , รูปเจ้าพ่อเสือ, เจ้าพ่อกวนอู และ เจ้าแม่ทับทิม ผู้คนนิยมกราบไหว้ ขอพร ให้การงานประสบความสำเร็จ เสริมอำนาจบารมี ร่ำรวยเงินทอง

ที่ตั้ง: ถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า

3. ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า

ภายในมูลนิธิเทียนฟ้าแห่งนี้ จะมีศาลเจ้าแม่กวนอิม ปางประทานพร ประดิษฐานเป็นเทพเจ้าองค์ประธานอยู่ด้านใน องค์ทำด้วยไม้จันทน์แกะสลัก ศิลปะราชวงศ์ถัง ได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานมาจากประเทศจีน เมื่อในปี พ.ศ. 2501 จวบจนปัจจุบัน

ที่ตั้ง: ถนนเยาวราช เลยวงเวียนโอเดียน อยู่ซ้ายมือ

4. ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ

ศาลเจ้าเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2201 สถาปัตยกรรมเป็นแบบจีนแต้จิ๋วโบราณ มีระฆังโบราณสมัยราชวงศ์หมิง เป็นที่ประดิษฐานองค์ไฉ่ซิงเอี๊ยหรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ และเทพเจ้ากวนอูหรือเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์

ที่ตั้ง: กลางซอยเยาวราช 6 หรือตรอกอิสรภาพในย่านเยาวราช

5. ศาลเจ้าพ่อกวนอู (Gong Wu Shrine)

เทพเจ้ากวนอูหรือเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ คนนิยมมาไหว้ขอพรท่านเพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ได้เป็นเจ้าคนนายคนและให้มีลูกน้องบริวารที่ดี ส่วนคนที่อยากมาขอพรให้ลูกๆ ของตัวเองว่านอนสอนง่ายอยู่ในโอวาสจะเอาผักบุ้งหรือผักกาดมาไหว้เทพเจ้าม้า นอกจากนี้ยังมีองค์ไฉ่ซิงเอี๊ยและเจ้าพ่อเสือประดิษฐานอยู่ที่นี่ด้วย

ที่ตั้ง: ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในชุมชนสมเด็จย่า ใกล้กับสวนสมเด็จย่า หลังวัดอนงคาราม ย่านคลองสาน ฝั่งธนบุรี

6. วัดทิพยวารีวิหาร (วัดกัมโล่วยี่)

วัดจีนเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีปี พ.ศ. 2319  ที่นี่มีองค์เทพสำคัญๆ มากมาย เช่น เทพบุ่งเชียง เทพไท้อิม (จันทราเทพ) เทพไท้เอี๊ยง (สุริยะเทพ) ผู้เทพฮั่วท้อ เทพฮั้วกวงไต่ตี่ (เทพสามตา) เทพไท้เอี๊ยง เทพารักษ์ผู้รักษาบ่อน้ำทิพย์ประจำวัด และเทพมังกรเขียว

ที่ตั้ง: ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร เขตพระนคร (บ้านหม้อ)

7. วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
(วัดมังกรกมลาวาส 2 หรือวัดเล่งเน่ยยี่ 2)

วัดเล่งเน่ยยี่ 2 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยจีนที่สวยงามอลังการ คนที่เกิดปีขาลและปีวอกควรมาไหว้องค์ไท้ส่วย ส่วนคนที่เกิดปีฉลูและปีกุนควรมาไหว้องค์แป๊ะกง สำหรับคนเกิดปีเถาะและปีมะเมียควรมาไหว้เจ้าแม่กวนอิม ส่วนคนที่เกิดปีระกาให้มาไหว้เทพฮั่วท้อ

ที่ตั้ง: ย่านชานเมือง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดบางบัวทอง

8. วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร

เดิมเป็นวัดโบราณมีชื่อว่า วัดสามจีนใต้ เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน 3 คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นวิหารทานการบุญ นั่นเอง 

ขอบคุณรูปภาพจาก: wikipedia

สิ่งสำคัญของวัด คือ พระสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการบันทึกลงกินเนสส์บุค และมีพระพุทธทศพลญาณ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อโต” บ้างก็เรียก “หลวงพ่อวัดสามจีน” หลังจากไหว้เจัากันเสร็จ แวะเที่ยวพิพิธภัณฑ์วัดไตรมิตร หรือ ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราชกันต่อ สัมผัสวิถีชีวิตของชาวจีนโพ้นทะเลที่หอบเสื่อผืนหมอนใบมาตั้งรกรากในไทยเป็นเวลานาน

ที่ตั้ง: ถนนมิตรภาพไทย-จีน แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์

9. วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม (วัดนาจา)

วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม หรือศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ โดยสร้างเป็น วิหาร 4 ชั้น เพื่อ “เฉลิมพระเกียรติครบรอบ 72 พรรษา ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ภายในโออ่าใหญ่โตด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน จุดเด่นด้านศิลปวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ รูปปั้นมังกรซึ่งมีมากถึง 2,840 ตัว กระถางธูปศักดิ์สิทธิ์ เสาฟ้าดิน นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่มีองค์ไท้ส่วยเอี้ย (ดาวเทพคุ้มครองดวงชะตาประจำปีเกิดของมวลมนุษย์) ครบ 60 องค์ ให้ผู้มาเยือนได้ขอพรได้ตรงตามปีเกิด ผู้ที่มากราบไหว้ “องค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ” เชื่อว่าจะทำให้มีชีวิตมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนธุรกิจการค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ที่ตั้ง: ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (เส้นทางเลียบชายทะเลจากอ่างศิลาไปเขาสามมุข )

10. วัดโพธิ์แมนคุณาราม (วัดโพวมิ้งปออึงยี่)

วัดโพธิ์แมนคุณาราม เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ที่มีการผสมผสานของศิลปะจีน-ไทย-ทิเบต ซึ่งถือว่าหาดูยาก  มีสิ่งล้ำค่าอีกอย่างหนึ่งคือ พระคัมภีร์ของวัชรยาน (ทิเบต) นิกายมนตรายาน ซึ่งสมบูรณ์ที่สุดในโลก

ที่ตั้ง: ซอยสาธุประดิษฐ์ 19  แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ

11. วัดมังกรบุปผาราม (วัดเล่งฮัวยี่)

วัดแห่งนี้ มีสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างพุทธศิลป์ไทย-จีนภาคใต้ ด้านหน้าวัดเป็นวิหารท้าวจตุโลกบาล ประดิษฐานพระศรีอารยเมตไตรยโพธิสัตว์และท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ในขณะที่ด้านในวัด มีอุโบสถทรงจีนหลังคาซ้อน 3 ชั้น ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานสามพระองค์ ถือเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมงดงามอย่างยิ่ง โดยถือเป็นวัดส่วนหางมังกร

ที่ตั้ง:  ริมถนนสุขุมวิท ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จันทบุรี ตั้งอยู่ก่อนทางเข้าน้ำตกพลิ้ว ห่างกันเพียง 3 กิโลเมตร

12. ศาลเจ้าปุงเถ่ากง

ขอบคุณรูปภาพจาก: ศาลเจ้าปุงเถ่ากงเชียงใหม่ 清邁老本頭古廟

ข้ามมาที่ภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่กันบ้าง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง เป็นสัญลักษณ์สำคัญของชุมชนชาวจีนในเมืองเชียงใหม่ กล่าวได้ว่าเป็นศาลเจ้าตามความเชื่อแบบจีนแห่งแรกของเมือง สร้างมานานกว่า100ปี ภายในบริเวณศาลเจ้าประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นและจิตรกรรมแบบจีนสวยงามและอ่อนช้อย ศาลเจ้าปุงเถ่ากงเป็นศาลเจ้าอันดับต้นๆ ที่ชาวจีนในเชียงใหม่มักมาเคารพกราบไหว้และสักการะ แก้ชง รวมถึงทำกิจกรรมในช่วงตรุษจีนอีกด้วย

ที่ตั้ง:  64-66 ถนนไปรษณีย์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

13. ศาลเจ้าพ่อกวนอู ท่าฉลอม

ศาลเจ้าพ่อกวนอู ท่าฉลอม มีอายุกว่าร้อยปีแล้ว ในอดีตเป็นศาลไม้เล็ก ๆ หลังคามุงจาก ปัจจุบันได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ สร้างแบบก่ออิฐถือปูนเพื่อความแข็งแรงทนทาน เป็นที่เคารพสักการะอย่างมากของชาวท่าฉลอม

ที่ตั้ง:  ถนนศุภกิจ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

14. วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

สักการะองค์ ไฉ่เซ่งเอี้ย เทพแห่งโชคลาภและความร่ำรวย องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ วัดเล่งฮกยี่ วัดแห่งนี้เรียกว่าเป็นส่วนท้องมังกร ตามความเชื่อของชาวจีนที่ว่าผู้ที่มากราบไหว้บูชาจะได้รับพลังส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพรรณธัญญาหาร ตลอดจนความเจริญรุ่งเรือง

ที่ตั้ง:  ถนนศุภกิจ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

15.ศาลเจ้าเง็กฮกตึ๊ง (เจ้าพ่อเฮ่งเจีย และ แป๊ะกง)

ผู้คนนิยมมาสักการะ เจ้าพ่อเฮ่งเจีย หรือซุนหงอคง โดยตามความเชื่อถือเป็นเทพผู้ประทานความสุขและกำจัดเหล่าปีศาจร้าย ใครที่ไปขอพร หรือมีเรื่องทุกข์ร้อนใดๆ ขอไปมักจะได้ผลสำเร็จตามความประสงค์

ที่ตั้ง: ถนนสวนผัก ตลิ่งชัน ซอย 19 กรุงเทพฯ

16. ศาลเจ้าเซียงกง

ขอบคุณรุปภาพจาก: chinatownyaowarach

ศาลเจ้าเซียงกง (เซียนกง) สร้างขึ้นเมื่อปี 2514 สมัยเสียนฟงปีที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง (เทียบกับไทยคือรัชกาลที่ 5) มีชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพมาอยู่และได้นำรูปปั้นของท่านมาประดิษฐานไว้ที่นี่ เป็นที่เคารพศรัทธาแก่ผู้ที่มากราบไหว้อย่างมาก

นอกจากด้านในจะเป็นที่ประดิษฐกานองค์ทวยเทพแล้ว ยังมีลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ณ ศาลเจ้าเซียงกง วันที่ 3 ก.พ. 2554 ด้วย

ที่ตั้ง: ถนนทรงวาดส่วน (ติดกับถนนเจริญกรุง) แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์