ท่ามกลางเมืองกรุงที่แสนวุ่นวาย ใครจะรู้ว่ายังมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ที่แห่งนี้นอกจากนี้เป็นบ้าน ที่ทำงานแล้ว ยังมีพื้นที่ที่ทำการทดลอง มีแปลงนาทดลองปลูกข้าว มีโรงโคนม บ่อเลี้ยงปลา โรงเพาะ
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระราชวังที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก!
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน (Chitralada Villa Royal Residence) เป็นพระตำหนักในพระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่แขวงสวนจิตรลดาเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ภายในพื้นที่พระราชวังแห่งนี้ คงไม่มีที่ใดในโลกเปรียบเหมือน เพราะนอกจากจะเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ และที่ทรงงาน ของรัชกาลที่ ๙ แล้ว พระองค์ยังสร้าง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ขึ้นภายในบริเวณโดยรอบด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ดำเนินงาน เพื่อศึกษา ทดลองและวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรต่างๆ ซึ่งผลการศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแบบอย่างในการนำไปปฏิบัติตาม

โดย โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา นี้ยึดหลักแนวพระราชดำริของพระองค์ที่ว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้าสินค้าจากตต่างประเทศ นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น
โครง
๑. โครง การ แบบ ไม่ ใช่ ธุรกิจ
เป็น
ป่าสาธิต
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเก็บเมล็ดไม้ยางนาจากป่าสองข้าง ถนนเพชรเกษม จังหวัดเพชรบุรี โดยเก็บในเดือนเมษายน พ.ศ. 2504 แล้วนำมาเพาะเลี้ยงไว้ใต้ร่มต้นแคบ้าน ในแปลงเพาะชำบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เมื่อเมล็ดงอกแล้วได้ย้ายลงปลูกในกระถางดิน และย้ายไปปลูกในแปลงทดลอง

———————————————————————-
นาข้าวทดลอง
ให้กรมการข้าวทดลองนำข้าวสายพันธุ์ต่างๆ จากทั่วประเทศมาทดลองปลูกในนาข้าวทดลอง ทั้งแบบนาดำและนาหว่าน โดยในปีแรก วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๐๔ พระองค์ทรงขับรถไถแบบสี่ล้อคันแรกของประเทศไทย เพื่อเตรียมแปลงปลูกข้าว ทรงหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว(พันธุ์นางมล) และทรงเกี่ยวข้าวด้วยตัวพระองค์เอง ส่วนหนึ่งนำไปใช้ในพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และส่วนหนึ่งนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกร หรือผู้ที่ต้องทอดลองปลูก

ปัจจุบันมีที่แปลงนาสวนขนาด ๔.๖ ไร่ และแปลงข้าวไร่ ทำหารปลูกพันธุ์ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวกว่า ๕๐ สายพันธุ์ อีกทั้งยังมี พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด ทานตะวัน เพื่อบำรุงดิน เป็นต้น
———————————————————————-
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล
ด้วยความที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นห่วงสุขภาพของประชาชนที่ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และขาดสารอาหารโปรตีน ซึ่งเนื้อสัตว์ราคาถูกที่พอหาทานได้คือ ปลา พระองค์จึงพระราชดำรัสให้กรมประมงนำปลาหมอเทศจากมาเลเซีย มาทดลองเลี้ยง เพื่อพระราชทานแก่ผู้นำชุมชนทั่วประเทศนำไปเลี้ยง ต่อมาเจ้าชายของประเทศญี่ปุ่น ได้ถวายพันธุ์ปลาชนิหนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงเลี้ยงไว้ในบ่อปลา บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหรฐาน ทรงปล่อยปลาด้วยพระองค์เอง และพระราชทานชื่อว่า “ปลานิล”

ปัจจุบันกรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบดูแล รวมถึงปรับปรุงสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับประเทศไทย มีทั้งหมด ๓ สายพันธุ์ คือ ปลานิล สยพันธุ์จิตรลดา ๑, ๒ และ ๓ โดยกรมประมงจะแนกจ่ายปลาพระราชทานแก่ประชาชน เพื่อนำไปขยายพันธุ์ และนำไปบริโภค
———————————————————————-
กังหันลม

———————————————————————-
บ้านพลังงานแสงอาทิตย์
กรมการพลังงานทหาร ได้น้อมเกล้าฯ ถวายบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมับติครบ ๕๐ ปี เพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานแสดงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือก ต่อมากรมการพลังงานทหารได้ร่สมกับบริษัทต่างๆ น้อมเกล้าฯ ถวายบ้านพลังงานแสงอาทิตย์หลังใหม่ เนื่องในโอกาสที่ ทรงครองสิริราชสมับติครบ ๖๐ ปี
โซล่าเซล์ล จะทำหน้าที่รับแสงและผลิตกระแสไฟฟ้าไปใช้ในพื้นที่ส่วนต่างๆ โซล่าเซล์ลติดตั้งอยู่บนหลังคาบ้าน มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงสุด ๑๒๕ วัตต์ต่อแผง มีจำนวน ๑๘ แผง อายุการใช้งานประมาณ ๒๕ ปี
———————————————————————-
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

โครง
———————————————————————-
ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลม
เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา บริษัท GEM Global Energy Management ได้น้อมเกล้าฯ ถวายกังกันลม พร้อมอาคารควบคุมติดตั้งแบตเตอรี่สำหรับเก็บกระแสไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พลังงานลม การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยการทำงานของกังหันลม
———————————————————————-
โรงงานกระดาษสา

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติโรงกระดาษสาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ
แบ่งออกเป็น ๖ กลุ่มงาน คือ ผลิตกระดาษสา, ออกแบบแปรรูป, ผลิตภัณฑ์กระดาษสา, งานประดิษฐ์ศิลป์, เครื่องหอม และของชำร่วย อีกทั้งการนำกระดาษสาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หัถตศิลป์ เผยแพร่ให้กลุ่มแม่บ้าน, เกษตรกร นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
———————————————————————-
๒. โครงการกึ่งธุรกิจ
เป็น
กลุ่มงานที่เกี่ยวกับนม
โรงโคนม สวนจิตรลดา
หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศเดนมาร์ค ทรงศึกษาเรื่องการทำฟาร์มโคนม เพื่อเป็นอาชีพใหม่แก่เกษตรกรไทย ต่อมาพระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างโคนม เพื่อเลี้ยงโคนมที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย เช่น โคพันธุ์เรดเดน, โคพันธุ์บราวน์สวิส และพันธุ์ลูกผสมเรดซินดี้
ครั้งแรกโรงโคนมจิตรลดาจำหน่ายน้ำนมภายในพระตำหนัก ต่อมาได้จำหน่ายแก่บุคคลภายนอก ทำให้มีกำไรสะสม และนำมาพัฒนาภายในโครงการต่อ และการดำเนินงานของที่นี่ได้รับความช่วยเหลือและได้คำแนะนำจากกรมปศุสัตว์มาโดยตลอด
———————————————————————-
โรงนมผง สวนดุสิต
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงนมผง เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๒ และพระราชทานชื่อว่า “โรงนมผงสวนดุสิต”
เมื่อเกิดภาวะน้ำนมล้นตลาด พระองค์ทรงรับซื้อน้ำนมจากเกษตรกร และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างโรงนมผงเบื้องต้น จนต่อมาพระองค์โปรดเกล้าฯให้หม่อมรางวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างโรงนมผง ในปัจจุบัน
ปัจจุบันโรงนมผงสวนวุสิต ผลิตนมผงได้ประมาณ ๙๐๐ กิโลกรัมจ่อวัน จากน้ำนมโคจำนวน ๘ ต้น
———————————————————————-
ศูนย์รวมนม ศูนย์จิตรลดา
ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมมากขึ้น สร้างเป็นศูนย์กลางรับโคนมจากสหกรณ์ และฟาร์มโคนมต่างๆ นำนมมาผลิตเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน และโรงเรียนต่างๆ มีทั้งกลิ่น วานิลลา, สละ, โกโก้, กาแฟ เป็นต้น อีกทั้งนมพาสเจอร์ไรส์บรรจุถุงของที่นี่ผสมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ได้รับความร่วมมือจากกรมอนามัย คณะแพทย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์
———————————————————————-
โรงนมเม็ด สวนดุสิต
โรงนมเม็ด สวนดุสิต ได้เริ่มทดลองผลิตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยได้รับคำแนะนำจาก ม.ล.อัคนี นวรัตน์ ในการผลิตนมอัดเม็ด ตลอดจนหาอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องผนึกซอง ต่อมาเภสัชกรมงคลศิลป์ และ ดร.ปราโมทย์ จากม.มหิดล ได้ช่วยเหลือให้คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับ พร้อมทั้งมอบเครื่องตอกนมอัดเม็ด จนในปัจจุบันได้มีเครื่องโรตารี่ที่ช่วยในการผลิตและบรรจุซอง ภายในเราจะได้เห็นขั้นตอนการผลิตต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ บรรจุซอง
———————————————————————-
โรงเนยแข็ง สวนจิตรลดา
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พ.ศ. 2530 โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สร้างโรงเนยแข็ง น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เนยแข็งชนิดแรกที่ทำการผลิต คือ เนยแข็งชนิดเกาดา (Gouda cheese) ต่อมาทดลองผลิตเนยแข็งเช็ดด้า (Chedda cheese) และเนยแข็งชนิดปรุงแต่ง (Processed cheese) ซึ่งมีจุดประสงค์หลัก คือนำเอาเนยแข็งที่มีคุณภาพบกพร่องในเรื่อง สี กลิ่น รส มาแปรรูปใหม่ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น โดยใช้เนยแข็งเกาดาเป็นวัตถุดิบในการผลิตในระยะแรก ปัจจุบันจะใช้เนยแข็งเกาดา และเนยแข็งเช็ดด้า เป็นวัตถุดิบในการผลิตเนยแข็งปรุงแต่ง
———————————————————————-
โรงน้ำดื่ม สวนจิตรลดา
โรงน้ำดื่ม เดิมเป็นส่วนหนึ่งของโรงนมผง โดยใช้น้ำที่เหลือจากขบวนการระเหยนม มาผลิตเป็นน้ำดื่ม และเนื่องจากมีความบริสุทธิ์ค่อนข้างสูง มีปริมาณมากพอสมควรที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ในการผลิตน้ำกลั่น เพื่อใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่วกรดได้อีกด้วย จึงได้ขอความร่วมมือให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ช่วยดำเนินการวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพน้ำกลั่นที่ได้ให้มีความบริสุทธิ์ จนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสามารถนำมาใช้บริโภคอย่างปลอดภัย
———————————————————————-
โรงนมยูเอชที สวนจิตรลดา
เนื่องจากปัญหาน้ำนมล้นตลาด โรงงานนี้สร้างขึ้นเพื่อช่วยสาธิตการผลิตนมยูเอชทีจากนมโคสดแท้ แทนการใช้นมผงมาละลายน้ำ ภายในเราจะได้เห็นขั้นตอนตั้งแต่ การรับน้ำนม ถังเก็บน้ำนม เข้าสู่กระบวนการเทอร์ไมส์เซชั่น และขั้นตอนอื่นๆ ไปจนถึง การบรรจุกล่อง และบรรจุลงถุง
———————————————————————-
กลุ่มงานที่เกี่ยวกับการเกษตร
โรงสีข้าวตัวอย่าง สวนจิตรลดา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการดำเนินงาน โดยมีหน่วยงานต่างๆ เป็นผู้ควบคุมดูแล
โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ประกอบไปด้วยการศึกษา วิจัย และพัฒนา ในด้านเทคนิคการเก็บรักษาข้าวเปลือก และการสีข้าว อีกทั้งภายในเราจะได้เห็นการลำเลียงข้าวเปลือกจากฉางสู่กระบวนการสีข้าว ทำความสะอาดข้าวเปลือก แยกแกลบ และผ่านการขัดสี เป็นต้น


———————————————————————-
โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์
สวนจิตรลดาผลิตน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ในระดับอุตสาหกรรม จำหน่ายให้กับผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันมานิยมดื่มน้ำผลไม้ที่มีประโยชน์ และเป็นการส่งเสริมเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ภายในจะได้เห็นวิธีการทำขั้นตอนต่างๆในการแปรรูป ซึ่งเราสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้
———————————————————————-
โรงผลิตภัณฑ์อบแห้ง
โรงผลิตภัณฑ์อบแห้งนี้ ปัจจุบันมีด้วยกันหลายแบบ เช่น เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องอบแห้งแบบใช้ลมร้อนที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมอบใหม่ๆ หลายชนิด อาทิ ขนมปัง, คุกกี้เนยสด, เค้กฝอยทอง, ชิฟฟ่อนโรล มัฟฟิน เค้กหน้ากล้วยตากน้ำผึ้ง และเค้กโรลวนิลาลายเสือ เป็นต้น
———————————————————————-
โรงหล่อเทียนหลวง
ในตอนแรกนั้น โรงหล่อเทียนหลวง นี้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ เพื่อผลิตเทียนหลวงสำหรับใช้ในราชสำนักพระราชวังแทนการฟั่นเทียนด้วยมือ ตลอดจนฝึกหัดบุคลากรของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาให้มีความรู้ความสามารถด้านศิลปกรรมของไทย
โรงหล่อเทียน มีการหล่อเทียนหลายแบบซึ่งเทียนของที่นี่จะทำจากขี้ผึ้งทั้งหมด อีกทั้งมีการสร้างลวดลายใหม่ๆ ล่อเทียนขึ้ผึ้งลวดลายสวยงามเพื่อจำหน่ายเป็นที่ระลึก ล่อเทียนทำชุดสังฆทานจิตรลดา ข้อดีของเทียนหลวง สวนจิตรลดา คือ มีความยือดหยุ่นสูง สามารถดัดโค้งได้ ตกแล้วไม่แตกหัก จุดแล้วน้ำตาเทียนจะน้อย เป็นต้น
———————————————————————-
โรงเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง

สาหร่ายเกลียวทอง มีองค์ประกอบทางโภชนาการที่สำคัญต่อสุขภาพมากมาย ได้แก่ โปรตีนที่มีอยู่สูงถึงร้อยละ 62-68 พร้อมอุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิดและธาตุอหารสำคัญหลายอย่าง
สายพันธุ์สาหร่ายเกลียวทอง ที่เพาะเลี้ยงในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาจากคลังเก็บสายพันธุ์สาหร่าย ของห้องปฏิบัติการสาหร่าย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีทั้ง การเพาะเลี้ยงในห้องควบคุม, การเพาะเลี้ยงในอ่างขยายกลางแจ้ง, การเพาะเลี้ยงในอ่างผลิต
———————————————————————-
โรงเพาะเห็ด
การเพาะเลี้ยงเห็ดในสมัยแรก จะมีการเพาะเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า และเห็ดหลินจือ แต่ในปัจจุบันมีผู้ต้องการบริโภคเห็ดหลินจือ เป็นจำนวนมาก ทำให้โรงเพาะเห็ดต้องเพิ่มกำลังการผลิตเห็ดหลินจือ โดยโครงการส่วนพระองค์ฯ ได้เลือกเลี้ยงสายพันธุ์ G2 ซึ่งจัดว่าเป็นเห็ดที่มีความสำคัญด้านเภสัช เพราะมีสรรพคุณบำบัดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต เป็นต้น
การเพาะเลี้ยงเห็ดจะทำแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การแยกเชื้อบริสุทธิ์ การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดธัญพืช การเตรียมวัสดุเพาะซึ่งประกอบไปด้วย ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ยิปซั่ม ปูนขาว ดีเกลือ และน้ำตาลทรายแดง การเพาะเลี้ยงจนเก็บเกี่ยวเห็ดได้ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ก่อนนำไปอบแห้ง บรรจุใส่ถุงพลาสติก แล้วนำไปจำหน่าย ต่อมาได้พัฒนาเป็นเห็ดหลินจือบรรจุแคปซูล
———————————————————————-
โรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง
โครงการส่วนพระองค์รับซื้อน้ำผึ้งบริสุทธิ์จากกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ทางภาคเหนือ มาบรรจุในหลอดพลาสติก และขวดแก้ว ต่อมาเพิ่มรูปแบบในการบรรจุ ในกระปุก
———————————————————————-
โรงผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง
โรงผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง ได้รับความร่วมมือจาก พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ออกแบบก่อสร้างโรงงาน เริ่มผลิตน้ำผลไม้กระป๋อง อีกทั้งนำปลายข้าวที่เหลือจากการสีข้าว มาแปรรูปมผลิตเป็นโจ๊กหมูและโจ๊กไก่บรรจุกระป๋อง ปัจจุบันมีผลิตหลายชนิด อาทิ น้ำมะม่วง, น้ำขึ้นฉ่าย, น้ำลำไย, น้ำขิง,น้ำกระเจี๊ยบ, น้ำมะขาม เป็นต้น, ผลิตน้ำผลไม้พร้อมดื่มตราภูฟ้า, แปรรูปสาหร่ายเกลียวมองเป็นซุปครีมสาหร่ายเกลียวทองบรรจุกระป๋อง อีกด้วย
———————————————————————-
กลุ่มพลังงานทดแทน
โรงบดแกลบ

แกลบที่ได้จากโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง เป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์และยังช่วยอนุรักษ์ทรัพยากร

———————————————————————-
หน่วยทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง
งานทดลองเชื่อเพลิงนี้เริ่มดำเนินการตามพระราชกระแส ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยให้ทำการศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอลล์จากอ้อย เนื่องจากทรงเล็งเห็นว่า ในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลน หรืออ้อยราคาตกต่ำ การนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้
———————————————————————-
โครงการแก๊สโซฮอล์
จากแนวพระราชดำริ ให้นำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน จนขยายกำลังการผลิตแอลกอฮอลล์เพื่อให้มีปริมาณเพียงงพอที่จะใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอลล์ นำมาใช้สำหรับรถยนต์ของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ต่อมาได้มีการวิจัยเพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตดีโซฮอลล์ สำหรับใช้ในเครื่องยนต์ดีเซล ที่ทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาทำร่วมกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

———————————————————————-
โครงการไบโอดีเซล
ในปี ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำรัสให้นำน้ำมันบริสุทธิ์มาทดลองใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล โดยเริ่มจากศึกษาจากน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ พบงว่าน้ำมันพืชสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ จึงเข้าสู่กระบวนการทำการทดลอง ศึกษาเรื่องไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว จนได้รับความร่วมมือจาก บางจาก ปิโตรเลียม เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้มีคุณภาพดีขึ้นและลดต้นทุนการผลิตลง
สำหรับท่านใดที่สนใจเข้าเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการส่วนพระองค์ฯ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 02-282-8200 , 02-281-7999 ต่อ 2104
ระเบียบปฏิบัติภายในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และพิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา คลิ๊กอ่าน
ขอบคุณข้อมูล รูปภาพ : http://kanchanapisek.or.th/, http://www.thongkasem.com/, http://topicstock.pantip.com, สายหมอกและก้อนเมฆhttp://www.bloggang.com/, web.ku.ac.th, www.rdi.ku.ac.th
เรียบเรียงข้อมูล Travel.mthai.com